LASTEST NEWS

27 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 27 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 ก.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 183 อัตรา รายงานตัวผ่านระบบออนไลน์ 17 ต.ค.2567 26 ก.ย. 2567ก.ค.ศ.เห็นชอบ ปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่งสายงานบริหารสถานศึกษา ต้องเป็นรองผู้อำนวยการฯ มาก่อน และควรมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ 26 ก.ย. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2567 25 ก.ย. 2567สพม.นนทบุรี เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 13 (บัญชีปี 2566) จำนวน 9 วิชาเอก จำนวน 24 อัตรา - รายงานตัว 2 ต.ค.2567 25 ก.ย. 2567ลิงก์ประกาศผลสอบ ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านเข้าค่าย 1 โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ สอวน. ประจำปีการศึกษา 2567 วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 16.00 น.  25 ก.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6005 ลงวันที่ 24 กันยายน 2567 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 24 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดสุทธิวราราม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาแนะแนว เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 28 ตุลาคม 2567 24 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดเขาดิน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 กันยายน พ.ศ.2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

เสนอครูยุคใหม่ต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู-มีความรู้ยุค4.0

  • 19 ม.ค. 2562 เวลา 06:17 น.
  • 2,760
เสนอครูยุคใหม่ต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู-มีความรู้ยุค4.0

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เสนอครูยุคใหม่ต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู-มีความรู้ยุค4.0

นายบูรพาทิศ  พลอยสุวรรณ์  รองเลขาธิการคุรุสภา  กล่าวว่า  บนเส้นทางเป็นครูยุคใหม่ มีกระบวนการตั้งเเต่การผลิตครูจากสถาบันการศึกษาต่างๆ  คัดกรอง เพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพ ผ่านการสอบประกอบวิชาชีพครู การใช้ หรือการจัดการเรียนการสอนของครู เเละเข้าสู่การบริหารงานบุคคลเเละการพัฒนาครู 

ปัจจุบันไทยมีสถาบันที่ผลิตครู 176 แห่งทั่วประเทศ ขณะนี้มีครูที่ถือใบประกอบวิชาชีพครูกว่า 948,074 คน ซึ่งเเบ่งเป็นครูร้อยละ 90 และผู้บริหารสถานศึกษาร้อยละ 8 ขณะที่เเต่ละปีมีนิสิตนักศึกษาที่จบใหม่เข้าขอใบประกอบวิชาชีพครู 36,000 คน

ขณะเดียวกันมีผู้มีใบประกอบอาชีพเเต่ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกันการเรียนการสอน 350,543 คน เเม้ครูจะมีความหลากหลายในสถาบันเเละสังกัด เเต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของใบอนุญาตวิชาชีพครูที่คุรุสภาออกให้ ซึ่งถือเป็นสภาวิชาชีพหนึ่ง เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคคือนักเรียน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพเเละเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เเละครูต้องได้ได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมเเละต่อเนื่อง เพราะครูที่มีคุณภาพจะส่งผลให้

คุณภาพการศึกษาดีขึ้นด้วย โดยปัจจุบันการศึกษาไทยยังถูกมองว่า ไม่มีคุณภาพ สู้กับต่างชาติไม่ได้ สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือครูไม่มีคุณภาพ 

รัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2560 จึงกำหนดให้มีการปฏิรูปครู โดยให้ปฏิรูปทั้งกลไกเเละระบบ ซึ่งครูต้องมี 2 คุณสมบัติสำคัญคือต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ซึ่งครูยุคใหม่ต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้ / เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษาเเละคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กไทย นั่นคือ การศึกษาทั้งปวงต้องทำให้เด็กมีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน/ รัฐจึงต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเเละได้มาตรฐานสากล ครูยุคใหม่จึงต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้



ด้านนางสุปราณี นฤนาทนโรดม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูเเละบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ก.ค.ศ.เป็นองค์กรกลางในการบริงานบุคคล กำหนดว่าเเต่ละโรงเรียน ต้องมีครูจำนวนเท่าใด , ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับครู สรรหาครูผู้ช่วย ,ออกเกณฑ์การพัฒนาครู , ความก้าวหน้า ระบบประเมินวิทยฐานะ , เสริมสร้างความเข้มเเข็งให้กับระบบครูรวมถึงค่าตอบเเทนที่เหมาะสมกับความสามารถเเละประสิทธิสภาพครู  โดยเส้นทางความก้าวหน้าของครู เริ่มต้นที่การเข้ามาเป็นครูผู้ช่วย  ต้องผ่านการประเมิน 2 ปีเพื่อเเต่งตั้งเป็นครู หากเป็นครูได้ 5 ปีจะสามารถขอเป็นครูชำนาญการได้ เเละไต่สู่การเป็นครูเชี่ยวชาญพิเศษต่อไป  เเต่หากอยากทำงานสายบริหาร สามารถเป็นศึกษานิเทศก์ได้ รวมถึงการเป็นผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งหากรักเส้นทางสายครู ก็สามารถเลือกประกอบอาชีพได้ในหลายสายงาน เเต่อย่างไรก็ตามที่สุดของความก้าวหน้า คือการเป็นครูที่มีใจในการพัฒนาเด็ก ซึ่งถือเป็นพลังที่จะเติบโตเเละประสบความสำเร็จสูงสุงในอาชีพครู



ขณะที่น.ส.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูเเละบุคลากรทางการศึกษา กล่าวว่า จิตวิญญานของความเป็นครูไม่ได้ดูความก้าวหน้า เเต่ดูว่าครูจะพัฒนาเด็กที่จะช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างไร เราสร้างเด็กเเล้วเด็กเป็นอย่างไร ได้ดึงศักยภาพเด็กได้ดีแค่ไหน นั่นคือความมีจิตวิญญาณ เเม้เกษียณเเล้วก็ต้องมี จึงจะเรียกได้ว่าครูเป็นวิชาชีพขั้นสูง ความท้าทายในการเป็นครูยุค 4.0 คือต้องทำให้เด็กคิดเป็น สร้างสรรค์ได้เเละสร้างกระบวนการหรือองค์ความรู้ได้เอง 



โดยที่ผ่านมาสพฐ.ได้ช่วยพัฒนาครูผ่านโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจรหรือคูปองอบรมครู ตามความเชี่ยวชาญเเละถนัดของครูเเต่ละคน ผ่าน 1,207 หลักสูตรออนไลน์ เพื่อส่งต่อในการพัฒนาหรือสอนเด็ก ซึ่งมีครูเข้าอบรม 270,000 คน โดยครู 1 คนไม่ได้เรียนเเค่หลักสูตรเดียว ,โครงการพัฒนาครูผ่านระบบ TEPE ออนไลน์ ซึ่งเปรียบเป็นห้องสมุดเเละการอบรมระบบปิด 160,000 คน  ระบบ PLC ชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเเบ่งปันประสบการณ์ความรู้กับเพื่อนครู 



ทั้งนี้ สรุปคือการที่ครูยังมองว่าเด็กโง่ เด็กไม่ได้โง่ เเต่ครูยังหาความถนัดเเละความเชี่ยวชาญไม่เจอ นั่นคือครูยังทำงานไม่บรรลุผล การเป็นครูในยุคใหม่ ครูต้องเปลี่ยนความคิด ไม่ใช่เเค่สอนเเค่เนื้อหา เพราะปัจจุบันมีเนื้อหาเยอะ เเต่ควรสอนในการหยิบเนื้อหาเหล่านี้มาเรียนรู้ เเนะวิธีการหาบทเรียน ว่าควรบริโภคเนื้อหาเเบบใด สร้างความคุ้มกันที่ดี และสร้างนักเรียนที่เห็นคุณค่าทำงานไม่ใช่เเค่ทำงานเป็น

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: สำนักข่าวไทย วันที่ 18 ม.ค. 2562 เวลา 11:47 น.
  • 19 ม.ค. 2562 เวลา 06:17 น.
  • 2,760

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^