LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ'การเมือง'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ!

  • 27 ต.ค. 2556 เวลา 21:47 น.
  • 2,033
เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ'การเมือง'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ'การเมือง'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ!
 
เอแบคโพลล์ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจ ‘วิชานาฏศิลป์ฉุดคุณภาพการศึกษาไทยจริงหรือ?’ พบประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 93.5 ไม่เห็นด้วยว่าวิชานาฏศิลป์ไทยทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ ย้ำเป็นวิชาที่อนุรักษ์วัฒนธรรมของไทย ชี้ ‘การเมือง’ ปัจจัยสำคัญฉุดคุณภาพการศึกษาไทย
 
วันที่ 27 ต.ค. 56 ดร.นพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม และผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยโครงการวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “วิชานาฏศิลป์ฉุดคุณภาพการศึกษาไทยจริงหรือ?” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 1,109 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 - 26 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกเขต อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7
 
คณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์นั้น พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 83.1 ระบุว่าวิชานาฏศิลป์เป็นวิชาที่อนุรักษ์และธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงามที่น่าภาคภูมิใจของไทย  ทั้งนี้ ตัวอย่างส่วนมากถึงร้อยละ 93.5 ระบุไม่เห็นด้วยว่าวิชานาฏศิลป์เป็นวิชาที่ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
 
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อไปว่าหากมีการถอดวิชานาฏศิลป์ออกไปเพื่อเพิ่มเวลาการเรียนการสอนของนักเรียนแล้วจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทยได้นั้น พบว่าร้อยละ 80.6 ระบุไม่เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ระบุเฉย ๆ และร้อยละ 11.7 ระบุเห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่ง
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีการจัดหลักสูตรใหม่ที่จะนำเอาวิชานาฏศิลป์ไปบรรจุไว้ในกลุ่มวิชาสังคมและความเป็นมนุษย์นั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 58.7 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุเห็นด้วย
 
อนึ่งประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากการสำรวจในครั้งนี้คือ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้การศึกษาไทยมีคุณภาพต่ำลงนั้น กลับพบว่า ร้อยละ 75.3 ระบุ การเมือง รองลงมาคือร้อยละ 69.7 ระบุสังคม ร้อยละ 59.4 ระบุเทคโนโลยี ร้อยละ 58.1 ระบุวัฒนธรรม และร้อยละ 51.6 ระบุเศรษฐกิจ ตามลำดับ
 
ทั้งนี้ ผลสำรวจยังพบว่าหากจะต้องพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยแล้ว 5 ทักษะแรกที่ควรจะพัฒนาจากการระบุของตัวอย่างที่ถูกศึกษาได้แก่ ร้อยละ 74.0 ระบุทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ร้อยละ 68.8 ระบุทักษะด้านจิตสาธารณะ ร้อยละ 67.5 ระบุทักษะด้านการมีส่วนร่วม ร้อยละ 60.9 ระบุทักษะด้านการสื่อสาร และร้อยละ 56.8 ระบุทักษะด้านการแก้ไขปัญหาตามลำดับ
 
สอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีบุคคลที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนที่พบว่า ร้อยละ 93.5 ระบุเป็นครอบครัว รองลงมาคือร้อยละ 86.8 ระบุ ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ร้อยละ 80.1 ระบุนักการเมือง ร้อยละ 79.4 ระบุนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 74.5 ระบุผู้ใหญ่ในสังคมไทย และร้อยละ 60.3 ระบุผู้นำชุมชน ตามลำดับ.
 
 
  • 27 ต.ค. 2556 เวลา 21:47 น.
  • 2,033

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ'การเมือง'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ!

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^