LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

"จาตุรนต์"ยังยื้อไทยแค่รองบ๊วย ยังมีพม่า-ลาวคุณภาพศึกษาต่ำกว่า/ชี้ผลWEFไม่รู้เอาอะไรวัด

  • 05 ก.ย. 2556 เวลา 21:26 น.
  • 2,759
"จาตุรนต์"ยังยื้อไทยแค่รองบ๊วย ยังมีพม่า-ลาวคุณภาพศึกษาต่ำกว่า/ชี้ผลWEFไม่รู้เอาอะไรวัด

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

 "จาตุรนต์" ยอมรับความจริงคุณภาพการศึกษาไทยแย่ แต่ยังติงผลจัดอันดับของ WEF ไม่รู้ใช้เหตุผลอะไรมาวัด ทำให้เข้าใจผิดไทยแค่อันดับ 8 ยังมีพม่า ลาว คุณภาพต่ำกว่ากินบ๊วยแทน อ้าอก ศธ.จะแก้ปัญหาการศึกษาชาติเองไม่โยนให้ใครรับผิดชอบ เปิดโครงการแก้เด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ แผนฟ้าแลบเบ็ดเสร็จหมดจดภายในเทอม 2 ปีนี้ ด้าน สทศ.แกว่งไปมา เสนอยกเลิกสอบโอเน็ตเด็ก ป.6 อ้างทำเด็กเครียด ทำให้ผลคะแนนโอเน็ตใช้ต่อ ม.1 อาจเป็นหมัน
 
    นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาไทยของ World Economic Forum (WEF) อยู่อันดับ 8 ซึ่งรั้งท้ายในอาเซียน ว่า ผลการจัดอันดับดังกล่าวเป็นของปี 2555 แต่การจัดอันดับของ WEF ปีล่าสุดประกาศเมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา พบไทยยังรักษาอันดับ 8 จากประเทศที่เพิ่มขึ้น 2 ประเทศ ได้แก่ ลาว พม่า รวมเป็น 10 ประเทศ สำหรับผลการจัดอันดับ WEF ล่าสุดแบ่งตัวชี้วัดเป็น 10 เรื่อง ดังนี้ 1.คุณภาพระบบการศึกษา ไทยถูกจัดอันดับที่ 78 จาก 148 ประเทศทั่วโลก และอยู่ที่ 8 จาก 10 ประเทศอาเซียน 2.คุณภาพการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไทยอยู่ที่ 80 ของโลกและที่ 5 ของอาเซียน 3.คุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียน ไทยอยู่ที่ 53 ของโลกและ 5 ของอาเซียน 4.อัตราเข้าเรียนมัธยมศึกษา ไทยอยู่ที่ 94 ของโลกและอยู่ที่ 5 ของอาเซียน 5.อัตราการเข้าเรียนอุดมศึกษา ไทยอยู่ที่ 55 ของโลกและอยู่ที่ 2 ของอาเซียน
 
    6.การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน ไทยอยู่ที่ 65 ของโลกและอยู่ที่ 6 ของอาเซียน 7.การพัฒนาและฝึกอบรมแรงงาน ไทยอยู่ที่ 50 ของโลกและอยู่ที่ 6 ของอาเซียน 8.การใช้ประโยชน์ของระบบวิจัยเฉพาะทางและการฝึกอบรมไทยอยู่ที่ 64 ของโลกและอยู่ที่ 5 ของอาเซียน 9.คุณภาพประถมศึกษา ไทยอยู่ที่ 86 ของโลกและอยู่ที่ 7 ของอาเซียน และ 10.อัตราเข้าเรียนประถมศึกษา ไทยอยู่ที่ 101 ของโลกและอยู่ที่ 9 ของอาเซียน 
 
    "อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับความจริงในการจัดอันดับดังกล่าว และจะไม่ถามว่าองค์กรที่จัดอันดับใช้เหตุผลอะไร หรือมีความเข้าใจผิดอะไรการประเมินอะไรหรือไม่ แต่ต่อไปจะมีการศึกษาว่าองค์กรเหล่านี้ใช้เหตุผลอะไร เพื่อจะยกอันดับการศึกษาไทยต่อไป"
 
    นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า ผลการจัดอันดับข้างต้นพบหลายเรื่องการศึกษาไทยน่าเป็นห่วง ซึ่ง ศธ.จะขอเป็นเจ้าภาพแก้ปัญหาเอง ไม่โยนองค์กรอื่นใด แต่การจะปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ เราต้องทำการศึกษาให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกฝ่ายต้องยอมรับและเข้าใจในการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ นโยบายปฏิรูปการศึกษาของตนได้คำนึงถึงการยกอันดับการศึกษาไทยอยู่แล้ว ฉะนั้นนโยบายเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราคาดคิดมาก่อน อย่างไรก็ตาม ในเดือน ธ.ค.นี้จะมีการประกาศผลการประเมินนานาชาติ (PISA) ปีล่าสุด ซึ่งถึงเวลานั้นตนจะกำหนดอันดับคะแนน PISA ไทยที่ต้องขับเคลื่อนให้ได้ต่อไป
 
    ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายฝ่ายการศึกษามองว่าการเปลี่ยน รมว.ศธ.บ่อยเป็นส่วนหนึ่งที่การศึกษาไม่เดินหน้านั้น นายจาตุรนต์กล่าวว่า ตนเป็น รมว.ศธ.คนที่ 4 ของรัฐบาลนี้ ฉะนั้นคงจะไม่ไปเสนอรัฐบาลไม่ให้เปลี่ยน รมว.ศธ.บ่อย แต่ก็จะพยายามรวบรวมปัญหา ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจและร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไปพร้อมๆ กัน และส่วนกรณีการให้เสนอกฎหมายบังคับให้ขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาเพื่อให้ รมว.ศธ.แต่ละคนสานต่อเรื่องการศึกษาที่ดีนั้น ที่ผ่านมาเราก็ได้อิทธิพลจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่จัดการด้านโครงสร้าง แต่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องการเรียนการสอน ฉะนั้นการมาเสนอกฎหมายเพื่อมาบังคับ ดูจะยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
 
    วันเดียวกัน นายจาตุรนต์ พร้อมด้วยนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมกันแถลงข่าวการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ โดยนายจาตุรนต์กล่าวว่า ตนได้ลงนามประกาศของ ศธ. เรื่องมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสาร กำหนดมาตรการสถานศึกษาปลอดการอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ ผ่านการสแกนเด็กอ่อนนำไปปรับปรุงพัฒนา ซึ่งการสแกนนั้นจะใช้เครื่องมือเพื่อคัดกรองเด็กทุกคนที่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ ป.6 ทั้งการวัดความสามารถการอ่านออกเสียง ความเข้าใจการอ่านของนักเรียน และพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกและการอ่านอย่างรู้เรื่อง การทดสอบโดยเครื่องมือดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 ก.ย.นี้ พร้อมทั้งให้วิเคราะห์ข้อมูลสรุปและรายงานผลต่อ สพฐ.ทางระบบออนไลน์ จากนั้นให้มีการเร่งรัดพัฒนาครูตามผลการประเมินนักเรียนให้แล้วเสร็จในเดือน ต.ค.2556 หรือช่วงปิดภาคเรียนที่ 1/2556 และเริ่มปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนอ่อนในภาคเรียนที่ 2 ต่อไป 
 
    "โดยตั้งเป้าภายในภาคเรียนดังกล่าวจะต้องไม่มีเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวเป็นแผนระยะสั้น ขณะที่ระยะยาวจะให้มีแบบทดสอบสมรรถนะด้านภาษาไทยของผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว รวมไปถึงการตั้งเป้าให้เด็กไทยอ่านรู้เรื่อง และสามารถคิดวิเคราะห์ได้ต่อไป"
 
    นายชินภัทรกล่าวว่า การสแกนครั้งนี้จะทำให้ สพฐ.ได้รับข้อมูลของเด็กที่อ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ที่เป็นที่น่าเชื่อถือ เพราะได้ผ่านกระบวนการคัดกรองอย่างเป็นระบบ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะทำให้ทราบทั้งในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ฯ และระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม สพฐ.ตั้งเป้าว่าเมื่อเปิดภาคเรียนที่ 2 แล้ว ทุกโรงเรียนที่มีเด็กกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มอ่านไม่ได้ และอ่านออกเสียงอยู่ในระดับปรับปรุง จะต้องมีแผนซ่อมเสริมให้เด็กสามารถอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ เพื่อให้จำนวนเด็กกลุ่มเสี่ยงลดลงให้เหลือศูนย์ภายในสิ้นภาคเรียนที่ 2
 
    ด้าน ศ.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษา ตามนโยบาย รมว.ศธ. ระหว่างวันที่ 6-7 ก.ย. ในส่วน สทศ.จะเสนอให้ยกเลิกการใช้คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 และเสนอให้ยกเลิกการสอบโอเน็ต ป.6 ทุกคน แต่ให้สอบแบบเป็นการสุ่มตัวอย่าง คล้ายๆ กับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) เนื่องจากปัจจุบัน ศธ.กำหนดให้ใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนแต่ละช่วงชั้น เพื่อให้นักเรียนตั้งใจสอบโอเน็ต จะได้ผลการสอบที่แท้จริงเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนของสถานศึกษา โดยตั้งใจที่จะให้กำหนดให้ตัดสินผลการเรียนช่วงชั้นที่ 3 และ 4 หรือ ม.3 และ ม.6 แต่ในประกาศ ศธ.ได้รวมช่วงชั้นที่ 2 หรือ ป.6 ไปด้วย ซึ่งการรวมชั้น ป.6 นั้นส่งผลให้เด็กประถมเกิดความเครียด ครูก็เน้นติววิชาการกับเด็ก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพเด็ก
 
    "ถึงแม้ที่ผ่านมา สทศ.ประสบปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจสอบโอเน็ต โดยเฉพาะระดับ ม.3 และ ม.6 จึงได้เสนอให้ ศธ.ให้ความสำคัญกับการสอบโอเน็ต แต่ในส่วนชั้น ป.6 ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าเด็กระดับประถมเป็นวัยที่มีระเบียบวินัย เป็นเด็กดี เชื่อฟังครู ตั้งใจเรียนและทำข้อสอบต่างๆ ดังนั้นไม่น่ามีปัญหาการไม่ตั้งใจสอบ อย่างไรก็ดี ในส่วนการนำคะแนนโอเน็ตเพื่อใช้คัดเลือกเพื่อศึกษาต่อชั้น ม.1 ที่เป็นนโยบายของ สพฐ.นั้น ก็ต้องดูทาง สพฐ.ว่าจะยังจะใช้คะแนนเน็ตเพื่อคัดเลือกดังกล่าวอีกหรือไม่" ประธาน สทศ.กล่าว.
 
 
  • 05 ก.ย. 2556 เวลา 21:26 น.
  • 2,759

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "จาตุรนต์"ยังยื้อไทยแค่รองบ๊วย ยังมีพม่า-ลาวคุณภาพศึกษาต่ำกว่า/ชี้ผลWEFไม่รู้เอาอะไรวัด

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^