LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

จ่อฟันธง! "รับตรง-แอดมิชชัน" ระบบไหน นศ.คุณภาพกว่า

  • 07 พ.ย. 2557 เวลา 10:00 น.
  • 2,056
จ่อฟันธง! "รับตรง-แอดมิชชัน" ระบบไหน นศ.คุณภาพกว่า

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จ่อฟันธง! "รับตรง-แอดมิชชัน" ระบบไหน นศ.คุณภาพกว่า
 
มหา’ลัยเห็นด้วยกับ รมว.ศึกษาฯ กำหนดสัดส่วนแอดมิชชัน-รับตรง ให้ชัด เผยที่ผ่านมา ทปอ.พยายามขอความร่วมมือให้อยู่ที่ 50:50 แต่ที่ผ่านมารับตรงมักจะเกินกว่า พร้อมให้ มศว ทำวิจัยเปรียบเทียบเด็กเข้าศึกษาในทั้ง 2 ระบบว่าระบบใดมีคุณภาพมากกว่ากัน รวมทั้งชี้แจง ทปอ.ไม่ได้บังคับให้ทั้ง 27 มหา’ลัยสอบรับตรงกลางทุกแห่ง แค่ขอความร่วมมือ และสมัครใจ
 
        ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยถึงกรณีที่ กมธ.ศึกษาฯ ได้หารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ถึงเรื่องการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาและมีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรกำหนดสัดส่วนการรับให้ชัดเจน เช่น ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือ แอดมิชชัน มีสัดส่วน 30% และที่เหลือเป็นระบบรับตรงและโควตาพิเศษ นั้น ว่า ในการหารือเห็นสอดคล้องกันว่า ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ควรเป็นระบบที่มีความหลากหลาย เหมาะสม และสามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนได้ตรงตามที่คณะ/สาขาต้องการ เป็นระบบที่มีความเป็นธรรม และไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ดังนั้น ระบบแอดมิชชัน และระบบรับตรง จึงจะตอบโจทย์ในข้างต้นได้ โดยระบบแอดมิชชัน จะตอบโจทย์ในเรื่องความเป็นธรรมและไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ส่วนระบบรับตรง ก็อาจจะคัดเลือกเด็กได้ตรงตามความต้องการมากกว่า แต่สร้างภาระ ซึ่งในส่วนนี้ ที่ผ่านมาที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติขอความร่วมมือ มหาวิทยาลัยในสังกัด 27 แห่งขอให้ลดการสอบตรงลง มาใช้ข้อสอบกลางมากขึ้น
       
       “ขณะเดียวกันยังมอบให้ มศว ทำวิจัยระบบการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยศึกษาเปรียบเทียบเด็กที่เข้าเรียนระบบรับตรง กับระบบแอดมิชชันว่าเด็กที่มา ผ่านระบบใดมีคุณภาพมากกว่ากัน ซึ่งหากผลวิจัยออกมาว่า เด็กที่เข้าศึกษาในระบบใด มีคุณภาพ ต่อไปมหาวิทยาลัยก็ควรเพิ่มสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบดังกล่าวให้มากขึ้น ทั้งนี้ สาเหตุที่ ทปอ. สนับสนุนให้ทำวิจัยเรื่องดังกล่าว เพราะอยากให้มีงานวิชาการมาสนับสนุนแนวทางการทำงานในอนาคต จะได้ไม้เกิดข้อถกเถียงอย่างที่ผ่านมา”ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวและว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าควรจะจัดสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบใดมากกว่ากัน และหากผลวิจัยมีความชัดเจนจะเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
       
       ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับ รมว.ศึกษาธิการ ที่จะต้องมีการกำหนดสัดส่วนระหว่างการแอดมิชชันและการรับตรงให้ชัดเจน โดยที่ผ่านมา ทปอ. ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้กำหนดสัดส่วนรับตรงและแอดมิชชันอยู่ที่ 50:50 แต่บางแห่งก็ยังมีการรับตรงเกินกว่า 50% ไปบ้าง ซึ่งตรงนี้ตนไม่ทราบตัวเลขที่ชัดเจนว่าจะถึง 70% หรือไม่ ทั้งนี้คงไม่สามารถบอกได้ว่า สัดส่วนการรับตรงทุกมหาวิทยาลัยจะเพิ่มขึ้นเหมือนกันหมด เพราะธรรมชาติของแต่ละแห่ง หรือแต่ละคณะ/สาขา แตกต่างกัน แต่ก็ยอมรับว่าปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ ยังเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งทปอ.พยายามหาทางแก้ไข โดยเมื่อเร็ว ๆ ทปอ. มีมติขอความร่วมมือ ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาใช้ข้อสอบกลาง ซึ่งจะมีทั้ง วิชาสามัญ 9 วิชา การทดสอบความถนัดทั่วไปหรือGAT และวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือPAT โดยจะเริ่มในปีการศึกษา 2559 เพื่อไม่ให้นักเรียนต้องวิ่งสอบหลายที่
       
       “มติดังกล่าว ไม่ใช่การบังคับให้มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ไปใช้ข้อสอบกลางทั้งหมด เพราะบางคณะ/สาขาก็ไม่สามารถใช้ข้อสอบกลางร่วมกันคณะ/สาขาอื่น ๆ ได้ อาทิ คณะนิติศาสตร์ ของมธ. ที่จะต้องดูการเขียนย่อความ เพราะในการเรียนการสอนต้องใช้ทักษะในเรื่องการเรียงความเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเน้นวิชาสามัญเหมือนคณะ/สาขาอื่น ๆ ดังนั้น มติดังกล่าวจึงเป็นการขอความร่วมมือ ไม่ใช่ว่าต่อไปทุกคณะ/สาขา จะไปเปิดรับตรงเองไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย แต่ก็ให้เป็นความสมัครใจของแต่ละแห่ง”ศ.ดร.สมคิด กล่าว
 
 
  • 07 พ.ย. 2557 เวลา 10:00 น.
  • 2,056

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : จ่อฟันธง! "รับตรง-แอดมิชชัน" ระบบไหน นศ.คุณภาพกว่า

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^