LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

สพฐ.ยืมแผนญี่ปุ่นสอนเด็กรับภัยพิบัติ

  • 11 พ.ค. 2557 เวลา 23:06 น.
  • 1,507
สพฐ.ยืมแผนญี่ปุ่นสอนเด็กรับภัยพิบัติ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ.ยืมแผนญี่ปุ่นสอนเด็กรับภัยพิบัติ
 
   สพฐ.ประยุกต์แผนกู้ภัยญี่ปุ่นสอนเด็กนักเรียนไทย รับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ เตรียมมอบ สพท.สอนวิชาเรียนรู้ชุมชน ที่ตั้งของ รพ. สน. และประวัติของชุมชน ให้เด็กในพื้นที่ตนเอง เอาตัวรอดเมื่อประสบภัย พร้อมกับส่ง ผอ.โรงเรียนจังหวัดภาคใต้อบรมเพิ่ม 
 
    หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ระดับ 6.3 ริกเตอร์ ที่ อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เกิดการตื่นตัวที่จะสอนให้เด็กนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ รู้จักเตรียมตัวและรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งผู้บริหารและครูจากกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ 6 โรง จำนวน 30 คน ไปอบรมการช่วยเหลือเด็กในพื้นที่ประสบภัยพิบัติของเมืองมิยางิ จ.เซนได ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1-7 ตุลาคม 2556 เนื่องจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิเมื่อปี 2554 นอกจากนี้ยังไปศึกษางานของโรงเรียนประถมและมัธยมของเมืองมิยางิ เพื่อจะได้ดูว่ากรณีที่โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วมหรือแผ่นดินไหวจะดูแลนักเรียนอย่างไร ซึ่ง สพฐ.เห็นว่าสามารถนำแนวทางนี้มาประยุกต์ใช้ในเมืองไทยได้
 
    รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 26 เม.ย.-2 พ.ค.ที่ผ่านมา สพฐ.ส่งผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปอบรมและดูงานที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว ซึ่งพบว่ารูปแบบการจัดการในพื้นที่ภัยพิบัติมี 3 เรื่องสำคัญคือ 1.การบริหารจัดการโรงเรียนเมื่อประสบภัยพิบัติ เช่น การซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย การควบชั้นเรียนชั่วคราวนำเด็กมาเรียนรวมกัน การเรียนร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ และวิธีการจัดสรรทรัพยากรเฉพาะหน้า 2.การดูแลเด็กกำพร้า ซึ่งไทยโชคดีที่ไม่มีสถานการณ์เช่นนี้ แต่ที่จังหวัดเซนได เมื่อมีเด็กกำพร้าเกิดขึ้น ชุมชนจะเข้ามาดูแลจัดระบบทุนการศึกษา และจัดบัดดี้หรือเพื่อนในโรงเรียนเดียวกันเป็นพี่เลี้ยง เด็กจะมีคนดูแลใกล้ชิด ซึ่งวิธีการนี้ญี่ปุ่นทำได้ดี เพราะพบว่าใน 1 ปีหลังประสบภัย ความเครียดของเด็กลดลง และ 3.เพิ่มหลักสูตรการเรียนรู้ภัยธรรมชาติและเรียนรู้เรื่องชุมชน อาทิ เด็กภาคเหนือต้องเรียนรู้เรื่องแผ่นดินไหว เด็กภาคใต้ต้องเรียนรู้เรื่องสึนามิ ที่สำคัญต้องเรียนรู้ชุมชน รู้ที่ตั้งของโรงพยาบาล สถานีตำรวจ และประวัติของชุมชน เพราะเมื่อประสบภัยจะได้รู้ว่าควรจะขอความช่วยเหลือที่ไหน 
 
    อย่างไรก็ตาม สพฐ.เตรียมจะให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่ละแห่งผลักดันให้เกิดการสอนวิชาเหล่านี้ในชุมชนของตัวเองด้วย 
 
    นายเกษม หมื่นตาบุตร ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม ที่เสียหายอย่างหนักเพราะเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5พ.ค.ที่ผ่านมาว่า กล่าวว่า นับจากนี้ก็จะมีการอบรมให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว เพราะที่ผ่านมาเราไม่เคยคำนึงถึงปัญหานี้มาก่อน ส่วนใหญ่จะซักซ้อมอุบัติภัยอื่นๆ มากกว่า
 
    ด้านนายสนอง สุจริต ผู้อำนวยการโรงเรียนพานพิทยาคม กล่าวว่า ทางโรงเรียนนั้นมีการสอน ให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ และวิธีการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุการณ์ ซึ่งอยู่ในหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นประสบการณ์ให้ทุกคนได้เตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีกในอนาคต.
 
 
  • 11 พ.ค. 2557 เวลา 23:06 น.
  • 1,507

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สพฐ.ยืมแผนญี่ปุ่นสอนเด็กรับภัยพิบัติ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^