LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

การศึกษา สื่อ ไอที เกม "ศัตรูร้ายทำลายลูก"

  • 10 พ.ค. 2557 เวลา 00:36 น.
  • 2,475
การศึกษา สื่อ ไอที เกม "ศัตรูร้ายทำลายลูก"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

  ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก เพราะเด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า เป็นดังอนาคตของชาติ แต่ด้วยรูปแบบพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในยุคสมัยใหม่ กลับเป็นการสร้างช่องทางให้สมองลูกถูกทำลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะจากสื่อ เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม หรือแม้แต่ระบบการศึกษาก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อเด็กไม่มากก็น้อย     
 
    ศูนย์สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการเรื่อง ปัญหาใหญ่สุขภาพเด็กไทยที่ถูกละเลย เมื่อเร็วๆ นี้ ในหัวข้อ “ผลเสียของระบบการศึกษาและเทคโนโลยีทำลายสมองเด็ก” ขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงปัญหาและดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก
 
    รศ.พญ.นิตยา คชภักดี กุมารแพทย์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กล่าวว่า ระบบการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายเด็กและเยาวชนของชาติ โดยต้นตอที่แท้จริงมีสาเหตุมาจากการบริหารจัดการของการศึกษาไทยมีความไม่เหมาะสม แต่ไม่ได้หมายความว่าระบบการศึกษามีผลลบไปเสียทั้งหมด สิ่งที่เป็นผลเสียก็คือระบบไม่ได้ตอบสนองความต้องการหรือความสามารถของเด็กในวัยนั้นๆ เมื่อเด็กเข้าเรียน โรงเรียน ครู อาจารย์ ต้องช่วยสนับสนุนให้เด็กได้เตรียมความพร้อม ให้ความเสมอภาค ไม่ใช่มีการแบ่งแยกเด็กสูง ต่ำ โง่ เก่ง จน รวย จน เกิดความเหลื่อมล้ำ หากเด็กคนใดมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าคนอื่น ครูก็ต้องคอยช่วยเหลือเด็กให้ความใส่ใจ เพื่อเด็กจะได้ตามเพื่อนในชั้นทัน ไม่ใช้ละเลยขาดความสนใจ ซึ่งผลเสียก็จะเกิดกับตัวเด็ก
 
อีกทั้งการเรียนการสอนทุกวันนี้ ทั้งครูและเด็กก็ยังเน้นแค่เนื้อหาเพื่อสอบเรียนต่อ เมื่อหลักสูตรกำหนดกลุ่มสาระและวิชาเรียนไว้มาก เวลาแต่ละวันของเด็กจึงอยู่กับการเรียน ทั้งส่วนที่จำเป็นและไม่จำเป็น ผสมปนเปกันไปหมด และจากตารางเรียนที่แบ่งเป็นหลากหลายคาบตามวิชาของครูแต่ละคน ทำให้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งหรือปฏิบัติจริงเกิดได้ยาก 
 
เมื่อมีวิชามาก การบ้านเด็กก็มากเป็นเงาตามตัวไปด้วย เด็กไทยจึงเป็นกลุ่มที่เรียนมากแทบจะที่สุดของโลก แต่คุณภาพกลับตกต่ำอย่างที่เห็น และระเบียบวิธีการวัดประเมินผลที่ให้เลื่อนชั้นได้โดยอัตโนมัติหรือตกซ่อมได้ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เด็กขาดความกระตือรือร้นใส่ใจกับการเรียน เพราะรู้ว่าอย่างไรก็ต้องผ่าน เมื่อความรู้พื้นฐานไม่แน่นก็ส่งผลต่อการเรียนระดับที่สูงขึ้น เมื่อเรียนไม่เข้าใจ เรียนไม่ทันเพื่อน จึงเกิดการเบื่อ ซึ่งการเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัตินี้ยังส่งผลต่อการสร้างนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย
 
ส่วนเรื่องการจัดการเรียนการสอนที่เน้นแต่เรื่องวิชาการ คุณครูแต่ละวิชาต่างคนต่างสอนนั้นมันเกิดความเสียหายกับเด็ก เพราะที่จริงกิจกรรมบางอย่างก็สามารถทำไปพร้อมกับการเรียนได้ อาทิ หากเรียนเลขก็ควรแทรกภาษาไปด้วย เรียนสังคมก็สอนควบคู่จริยธรรม ยกตัวอย่าง ให้เด็กเรียนทำขนมด้วยกัน เมื่อทำเสร็จแล้วก็ตั้งโจทย์ว่าจะแบ่งขนมให้ใครทาน อันนี้เด็กจะได้เรื่องสังคมเพิ่มขึ้นในหลักสูตร
 
“ไม่จำเป็นว่าทุกวิชาต้องมีกิจกรรมควบคู่ทั้งหมด แต่ขอให้มีแบบนี้บ้าง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ อย่างเด็กที่เรียนไม่เก่งก็อาจจะทำขนมเก่ง เด็กที่วิ่งเร็วก็อาจจะได้แสดงความรักออกมาทางการวิ่ง อันนี้คือการจัดการการสอนที่ให้โอกาสเด็ก ว่าหนูทำได้ และหนูกำลังก้าวไปข้างหน้า แต่ทางโรงเรียนกลับคิดและมุ่งเน้นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิชาการ ผลที่ได้คือเด็กไทยเร่งเรียน เช่น เมื่อก่อนเด็กที่จะเข้าชั้น ป.1 ต้องอายุ 6 ขวบ แต่ปัจจุบัน 5 ขวบก็เข้าแล้ว ซึ่งเด็กหลายคนก็รู้สึกไม่มีความสุข เครียดกับการเรียน ทั้งที่ยังไม่ถึงวัย โดยผลกระทบที่เกิดก็เป็นผลระยะยาวกับเด็ก ยังไม่รวมถึงสื่อไอที เทคโนโลยี ที่พ่อแม่สมัยใหม่และระบบการศึกษาที่หยิบยื่นแท็บเล็ตให้กับเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กเดี๋ยวนี้ลูกอายุ 1 ขวบก็นั่งเขี่ยแท็บเล็ตแล้ว หรือการที่เด็กเสพสื่อ ดูหนัง ติดเกม เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียต่อสมอง จนทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น และปัญหาอื่นๆ ตามมา” รศ.พญ.นิตยากล่าว
 
    ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เผยว่า สิ่งที่ทำลายสมองเด็กไทยมีหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องสติปัญญา เด็กไทยต่ำกว่าประเทศอื่น เด็กของเรามีปัญหาคิดเองไม่เป็น ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก ผู้ปกครองไม่มีความรู้ด้านพัฒนาการของเด็ก จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น เรื่องสารพิษต่างๆ อาหารขยะจากแป้งทอดหรือย่างด้วยความร้อนสูง เต็มไปด้วยน้ำตาล ไขมัน ซึ่งการซื้ออาหารเหล่านี้ให้เด็กกินมีส่วนทำให้กระบวนการพัฒนาของเซลล์สมองด้อยประสิทธิภาพลง และอาจทำให้เด็กมีไอคิวต่ำกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน
 
    โดยยุคปัจจุบัน อีกหนึ่งตัวการสำคัญก็คือเทคโนโลยีใหม่ๆ สื่อออนไลน์ทำให้เด็กมีอาการเสพติดเทคโนโลยี ติดเกม ติดมือถือ ทำให้โอกาสที่เด็กจะพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ย่อมมีได้น้อย อีกทั้งความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นย่อมเกิดได้สูงตามไปด้วย เนื่องจากภาพต่างๆ ในจอเปลี่ยนเร็วมาก เด็กจะคุ้นเคยกับความเร็ว ทำให้รอคอยไม่เป็น ทางที่ดีควรให้ลูกเล่นเมื่อถึงวัยที่เหมาะสม และมีกฎกติกาการใช้ที่ชัดเจน และต้องระวังเกี่ยวกับสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อลามก ที่จะกระตุ้นเรื่องเพศ ทำให้เด็กมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมา 
 
สื่อใกล้ตัวอย่างโทรทัศน์เองก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า ทำให้ลูกกลายเด็กสมาธิสั้น ซึ่งเวลาดูโทรทัศน์ เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสเพียง 2 ส่วนคือ ตารับภาพ กับหูรับเสียงเท่านั้น จึงขัดแย้งกับกระบวนการเรียนรู้ในเด็กเล็ก ซึ่งจะต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส ซ้ำยังเป็นการทำลายสมองส่วนรับประสาทสัมผัสอื่นๆ ทางอ้อมอีกด้วย เพราะจะทำให้ค่อยๆ ฝ่อลง เนื่องจากไม่ได้ถูกใช้งานเท่าที่ควร
 
เด็กผู้เป็นอนาคตของชาติจะเติบโต ได้รับการพัฒนาศักยภาพไปในทิศทางใด ไม่ได้จำกัดขึ้นอยู่กับครอบครัวเท่านั้น สังคมเองก็ต้องเป็นผู้กำหนด.
 
 
  • 10 พ.ค. 2557 เวลา 00:36 น.
  • 2,475

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : การศึกษา สื่อ ไอที เกม "ศัตรูร้ายทำลายลูก"

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^