LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ

  • 08 พ.ค. 2557 เวลา 10:23 น.
  • 1,998
การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"หมอเกษม"ชี้การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ ขาดธรรมาภิบาลในการจัดการศึกษา จี้โรงเรียนต้องมีความรับผิดชอบ เปิดโอกาสให้คนดีและคนเก่งเข้ามาบริหารด้วยความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ขณะที่ทีดีอาร์ไอชี้ชัดว่าไทยลงทุนการศึกษาสูงมาก แต่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของเด็กต่ำลง
 
วันนี้(7 พ.ค.) ที่ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และเครือข่ายเพื่อนปฏิรูปการเรียนรู้ จัดประชุมวิชาการ“อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "สังคมเรียนรู้จะเกิดขึ้นและเปลี่ยนประเทศไทยได้อย่างไร"ว่า การเรียนรู้ตามนิยามของยูเนสโกคือการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนให้ดีขึ้นใน 3 ด้านได้แก่ มีความรู้ มีทักษะ และเป็นคนดีมีคุณธรรม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาที่ดีคือ การมีครูดีมีคุณภาพ มีแรงบันดาลใจอยากเป็นครู มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน และ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้
 
“ผมกำลังเชิญชวนนักการศึกษาไทยให้มาช่วยกันปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนทั้งมวล โดยรื้อระบบการศึกษา ให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง รวมถึงต้องกระจายอำนาจให้พื้นที่เพื่อให้เกิดการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ แต่สิ่งสำคัญเวลานี้คือ การขาดหลักธรรมาภิบาลในการจัดการศึกษา ดังนั้นจึงต้องเปิดโอกาสให้คนดีและคนเก่งเข้ามาบริหารด้วยความโปร่งใส และตรวจสอบได้”ศ.นพ.เกษมกล่าว
 
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผอ.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประเทศไทยใช้เงินมากกับการศึกษา ซึ่ง10 ปีที่ผ่านมามีการลงทุนแบบก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ผลที่ออกมากลับไม่ดี ประสิทธิภาพเด็กแย่ลง ผู้ที่จบการศึกษายังทำงานไม่ได้ต้องเอามาฝึกหัดนาน และเมื่อดูจากการวัดผลทั้งจากการประเมินนานาชาติ หรือ พิซาและการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ก็พบว่าตกกันครึ่งประเทศ แสดงให้เห็นว่าระบบโรงเรียนไม่มีประสิทธิภาพทำให้เด็กต้องเรียนกวดวิชามากขึ้น ส่วนครูก็ได้รับค่าตอบแทนสูงแต่ไม่ผูกโยงกับผลการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นการจะทำให้ระบบการศึกษาไทยดีขึ้นต้องมีระบบประเมินผล ระบบการพัฒนาครู ระบบการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา ตำราหลักสูตร รวมถึงการปรับวิธีการสอนที่ต้องไม่เหมือนเดิมด้วย
 
ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า การลงทุนงบประมาณการศึกษาของไทยจะรู้เพียงภาพกว้าง ไม่เคยรู้เชิงลึกว่า งบประมาณที่จ่ายออกไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กมากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการวิจัยบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาตั้งแต่ปี 2551-2553 พบว่า งบประมาณการศึกษาไทย 80% ภาครัฐเป็นผู้จ่าย แม้ว่าเรามีการเรียนฟรี 15 ปี แต่ครัวเรือนก็ยังเป็นผู้ออกเองอีก 20% หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ซึ่งเป็นค่าเดินทางหรือค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมที่โรงเรียนเรียกเก็บ โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จ่ายงบประมาณการศึกษามากที่สุด 80% ส่วนท้องถิ่นจ่ายอยู่ที่ 15% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่านมและอาหารกลางวัน ทั้งนี้รายจ่ายทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.)ระดับชั้นป.1-ม.6 เฉลี่ยอยู่ที่ 34,451 บาทต่อคนต่อปี และพบว่า 75 บาท เป็นเงินเดือนครูโดยตรง ตามด้วยอาคาร สถานที่ สิ่งก่อสร้าง ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำค่าไฟ ประมาณ 10 บาท เหลือมีเพียง 4.5 บาทเท่านั้น ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาผู้เรียน และอีก 0.5 บาท เป็นงบสำหรับพัฒนาการเรียนการสอนของครู

ดังนั้นหากมีการนำงบประมาณในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้น 7% ต่อปี หรือ 200,000 ล้านบาทต่อปี ไปใช้พัฒนาผู้เรียนโดยตรงก็จะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย และ รัฐควรเปลี่ยนรูปแบบการจัดสรรงบประมาณที่คิดแบบรายหัวเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดเล็กบางส่วนที่ขาดแคลนและมีความจำเป็น โดยการจัดทำระบบฐานข้อมูลโรงเรียนเพื่อจัดลำดับโรงเรียนที่มีความจำเป็นในการสนับสนุนเพื่อเปลี่ยนสูตรการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 
  • 08 พ.ค. 2557 เวลา 10:23 น.
  • 1,998

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^