LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

"ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"

  • 05 พ.ค. 2557 เวลา 12:04 น.
  • 1,878
"ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"
 
    หลังจากที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศลั่นออกมาชัดเจนว่า จะมีการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา (University National Education Test) หรือยูเน็ต ปลายปี 2557 ตามความสมัครใจของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยบอร์ด สทศ.แจงว่า การประเมินผลระดับอุดมศึกษายังไม่เคยจัดสอบ และยูเน็ตจะเป็นการประเมินมาตรฐานบัณฑิตตามที่กฎหมายกำหนด โดยยึดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ทีคิวเอฟ) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะเริ่มนำร่องทดสอบนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายของทุกสาขาวิชานั้น ก่อให้เกิดกระแสในสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์กทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีการตั้งแฟนเพจ “ต่อต้านการสอบ U-Net จาก สทศ.” ขึ้นมา ซึ่งขณะนี้มียอดเข้าไปกดไลค์กว่าแสนคน ซึ่งเพจดังกล่าวนำข่าวยูเน็ตมาโพสต์ลงเรื่อยๆ และมีคำแถลงการณ์จากสภานิสิตมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่คัดค้านการสอบยูเน็ตอีกด้วย เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหิดล เป็นต้น
 
    รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า การที่ สทศ.นำยูเน็ตมาทำการทดสอบกับเด็กที่กำลังจะไปเป็นบัณฑิตนั้น ต้องยอมรับว่าเกิดจากผลพวงของการศึกษาประเทศไทยกลวงและด้อยคุณภาพ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ จนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา ซึ่งจริงๆ แล้วระบบอุดมศึกษาของไทยขณะนี้เรียกได้ว่าอยู่ในสถานะสะเปะสะปะ มีมหาวิทยาลัยเปิดใหม่หลายแห่ง อีกทั้งเปิดหลักสูตรใหม่เพิ่มเรื่อยๆ เกิดเป็นระบบธุรกิจการศึกษา เป็นระบบที่ผู้ใหญ่สร้างปัญหาขึ้นมา โดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตออกมา โดยหน้าที่แล้ว สกอ.เป็นผู้ที่ต้องดูแลมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือแทนที่ สกอ. และหน่วยงานจะจัดการกับมหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณภาพ กลับมาจัดการทางอ้อมโดยผ่านเด็ก ให้เด็กมารับภาระด้วยวิธีการสอบ
 
    “จะเห็นได้ว่าการกระทำของผู้ใหญ่ไม่ได้แก้ปัญหาคุณภาพอุดมศึกษาอย่างแท้จริง ซึ่งเรื่องการวัดคุณภาพสถาบันเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ ไม่ใช่เด็ก ทำให้ขณะนี้เด็กกลายเป็นเหยื่อและเครื่องมือของความไม่เอาไหนของผู้ใหญ่ ถือเป็นเคราะห์กรรมของเยาวชนทั้งประเทศ เป็นผลพวงที่เราปล่อยปละละเลยของอุดมศึกษา” รศ.ดร.สมพงษ์กล่าว
 
    แม้ว่ายูเน็ตจะมีกระแสเชิงลบออกมามาก แต่อาจารย์สมพงษ์ก็ยังพูดถึงข้อดีของยูเน็ตว่า ทำให้เกิดข้อมูลชุดหนึ่งซึ่งนักการเมืองสามารถนำไปใช้ในการปฏิรูประบบอุดมศึกษา สามารถบอกได้ว่าสภาพการผลิตบัณฑิตของอุดมศึกษาเป็นอย่างไร รวมถึง สกอ.ก็จะทราบข้อมูลว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีความแตกต่าง เหลื่อมล้ำอย่างไร ทำให้สถานศึกษาบางแห่งต้องคำนึงถึงคุณภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สทศ.และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการหารือและต้องทบทวนการประเมินคุณภาพในระดับอุดมศึกษาครั้งใหญ่อีกครั้ง
 
    จากการที่สภานิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ออกมาคัดค้านและให้ความเห็นเรื่องยูเน็ต เช่น ล่าสุด สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนา “U-NET กับอนาคตเด็กไทย” นั้น นายศิวัช สุดาเดช ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยถึงการจัดทำแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นของนิสิตต่อประเด็นการทดสอบยูเน็ต พบว่า นิสิต 71% ไม่เห็นด้วยกับการสอบยูเน็ต โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าการทดสอบดังกล่าวจะเอื้อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจของสถาบันกวดวิชา อีกทั้งที่ผ่านมาการจัดสอบของ สทศ.นั้นมีมาตรฐานที่ต่ำอยู่จนทำให้ผู้ที่เคยผ่านการทดสอบของ สทศ.ไม่ไว้วางใจและมีอคติ อย่างไรก็ตาม หากมีการจัดสอบจริงๆ สทศ.ควรสร้างมาตรฐานให้ดีกว่านี้ แต่หากไม่สามารถสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ที่ถูกทดสอบแล้ว สทศ.ก็ควรพิจารณาในส่วนตรงนี้ด้วย
 
    จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ว่าที่บัณฑิตนี้กังวลก็คือการที่ต้องมาเตรียมตัวสอบ อีกทั้งอาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับสถาบันกวดวิชาทั้งหลาย โดยอาจารย์สมพงษ์มองว่า คงเป็นเรื่องที่น่าตกใจมากว่าคนที่กำลังจะจบระดับอุดมศึกษาต้องมานั่งติวเพื่อสอบยูเน็ต ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องฟังเสียงเด็ก ว่าแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ละคณะ มีหลักการ ปรัชญา ความเชื่อ ทฤษฎี ที่แตกต่างกัน แต่ขณะนี้ผู้ใหญ่กลับนำทุกศาสตร์ ทุกแขนง มารวมกันอยู่ภายใต้การวัดและประเมินผลอันเดียวกัน เพราะการผลิตบัณฑิตของแต่ละสถาบันมีความหลากหลายและแตกต่างกันอย่างมาก
 
    สุดท้ายสิ่งอาจารย์สมพงษ์ได้แนะนำไว้ก็คือ อย่านำปัญหาของผู้ใหญ่ไปทำให้ชีวิตเด็กกดดัน เพราะเด็กถูกกดดันมาตลอดตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ หากผู้ใหญ่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ยังมีวิธีการอีกมากที่ไม่ต้องใช้วิธีการทดสอบ เช่น การทำวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการเก็บข้อมูลในเชิงผู้ประกอบการที่ใช้บัณฑิต เป็นต้น
 
    สรุปโดยรวมคงปฏิเสธไม่ได้ว่า "ยูเน็ต" เป็นผลพวงของความล้มเหลว ความด้อยคุณภาพ และไร้ประสิทธิภาพของระบบการศึกษาไทย ที่มีมาตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ยันถึงระดับอุดมศึกษา ที่ก่อนหน้านี้ถือว่ามีจุดแข็งมากกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
 
    ด้วยเหตุนี้ ประเด็น “ยูเน็ต” คงจะยังไม่จบง่ายๆ เพราะจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยังคงยืนยันที่จะให้มีการสอบยูเน็ตภาษาอังกฤษ แม้จะไม่เป็นการบังคับ แต่ก็ถือว่าเป็นการนำร่องที่จะนำการสอบยูเน็ตมาใช้  
 
    และตราบใดที่สถาบันอุดมศึกษาไทยยังไม่ปรับตัวมุ่งสู่ความเป็นคุณภาพอย่างแท้จริง โดยเลิกผลิตบัณฑิตเชิงปริมาณ หันมาผลิตบุคลากรที่ตอบสนองความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกปีกว่าๆ เมื่อนั้น ยูเน็ตก็ยังคงวนเวียนอยู่ในสังคมแม้ว่าจะมีกระแสต่อต้านมันก็ตาม.
 
 
  • 05 พ.ค. 2557 เวลา 12:04 น.
  • 1,878

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^