LASTEST NEWS

08 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2567 08 พ.ย. 2567“สพฐ. ประชุม ผอ.เขตพื้นที่ พร้อมเปิดตัว “OBEC Zero Dropout” เพื่อเด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างถ้วนหน้า” 08 พ.ย. 2567รวมข่าว..เปิดสอบพนักงานราชการครู 91 อัตรา สังกัด สพฐ. วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท 07 พ.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 375 อัตรา - วุฒิ ปวช. - ปริญญาตรี เงินเดือน 10,340-18,350 บาท สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ 8 - 14 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567สพฐ.แจ้งจัดสรรงบประมาณ ปีพ.ศ.2568 เป็นค่าจ้างบุคลากรสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง กรณีทดแทนลูกจ้างประจำเกษียณอายุและว่างโดยเหตุอื่นในระหว่างปี 07 พ.ย. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 57 อัตรา - รายงานตัว 15 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567ประกาศ สำนักงาน ก.พ. เรื่อง รายชื่อผู้สอบผ่านเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2567 07 พ.ย. 2567สพม.อุดรธานี เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (บัญชี ปี 2566, 2567) จำนวน 33 อัตรา - รายงานตัว 12 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 35 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 8-14 พฤศจิกายน 2567 06 พ.ย. 2567โรงเรียนอุบลปัญญานุกูล รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 2 อัตรา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 12 - 18 พฤศจิกายน 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ

นักวิชาการแนะ ศธ.เปลี่ยนแนวคิด เน้น O-Net ครู นร.กดดัน

  • 23 มี.ค. 2557 เวลา 08:52 น.
  • 1,742
นักวิชาการแนะ ศธ.เปลี่ยนแนวคิด เน้น O-Net ครู นร.กดดัน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

นักวิชาการแนะ ศธ.เปลี่ยนแนวคิด เน้น O-Net ครู นร.กดดัน
 
กรุงเทพฯ 22 มี.ค.- รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวเปิดตัวโครงการต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาในทุกสังกัด ที่เคยทำผลงานดีเด่นในโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ครั้งที่ 1/2554 ได้ทำงานต่อยอด และเพิ่มประเด็นสุขภาวะที่ดีให้โรงเรียนเข้มแข็งยิ่งขึ้นว่า นโยบายในการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันเป็นการลงทุนที่สวนทางกับความเป็นจริง ทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายประการ ซึ่งการลงทุนดังกล่าวเรามุ่งกับระดับอุดมศึกษามากเกินไปจนทำให้ละเลยการศึกษาขั้นปฐมวัย ส่งผลให้เกิดความเสียหาย คือ สังคมไทยเสื่อมหนัก การเมืองรุนแรง โรงเรียนหลวม ครอบครัวตาย วัตถุนิยมล้น ศีลธรรมจาง ทั้งนี้ ข้อมูลวิจัยพบว่า หากนำเงินมาลงทุนในระดับปฐมวัยนั้นจะได้กำไรคืนกลับสูงถึง 7 เท่า คือ ลงทุน 1 บาทได้คืนมา 7 บาท ฉะนั้นการลงทุนดังกล่าว จะส่งผลที่ดีและต่อเนื่อง และการที่รัฐบาลนั้นปัดทิ้งเรื่องการลงทุนกับเด็กปฐมวัยทำให้ประเทศเสียโอกาส ดังนั้น ภาครัฐต้องเปลี่ยนวิธีการคิดใหม่ เพราะสมองเด็กจะเติบโตสมบูรณ์ทั้ง IQ และ EQ ในระดับปฐมวัยสูงถึง 80% หากขาดเงินอุดหนุนการเตรียมพร้อมเด็กในเรื่องการอ่านการเขียน เรื่องคุณธรรมและคุณลักษณะที่ดีนั้นก็จะไม่สมบูรณ์
 
ทั้งนี้ รศ.ดร.สมพงษ์ มองว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขโดยเร็วคือการลงทุนทางการศึกษากับเด็กปฐมวัยใน 3 ระบบ 1.การศึกษาในระบบ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ด้อยโอกาส 2.โรงเรียนพ่อ แม่ โดยต้องสอนพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยวัตถุ หรือพ่อแม่ที่ปล่อยลูกไว้เป็นภาระปู่ย่า ตายาย และ 3. โรงเรียนชุมชน ที่มีพื้นที่เสี่ยง มีอบายมุข ดังนั้น การลงทุนในช่วงปฐมวัยสามารถประกันอนาคตทางปัญญา และสุขภาวะแจ่มใสให้เด็กได้ เราจึงต้องปรับแนวคิดที่จะแก้ไขวิกฤตให้คนในชาติเสียใหม่ คือ ต้องไม่มองขึ้นข้างบน แต่มองจากคนข้างล่าง โดยเฉพาะการศึกษาปฐมวัยที่อยู่ที่ท้องถิ่น ซึ่งมีการกระจายอำนาจที่ดีแล้ว เราจึงต้องเน้นเชิงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเหมือนให้เด็กมาอยู่รวมกัน กิน นอน เล่น แต่ไม่ได้เตรียมความพร้อมให้เติบโตได้จริง
 
“ล่าสุดก็มีงานวิจัยในโครงการนำร่องเพื่อขยายโอกาสการศึกษาในช่วงปฐมวัยในทุกมลรัฐด้วยเงินภาษีบุหรี่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้นโยบายหลักของนายบารัค โอบามา โดยมีการอุดหนุนเงินทุนลงไปยังการศึกษาระดับปฐมวัยในระยะเวลาติดต่อกันกว่า 10 ปี (ก.ย.2556) โดยผลสรุปจากกรณีศึกษามากกว่า 100 กรณีพบข้อสรุปที่ตรงกันว่า การลงทุนในช่วงปฐมวัยสามารถประกันอนาคตทางปัญญาและสุขภาวะแจ่มใสให้เด็กได้ในทุกมลรัฐ และพบว่า โปรแกรมนี้ไม่เพียงช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านทักษะในการตัดสินใจที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ทักษะในการตัดสินใจเพื่อเลือกให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคตได้อย่างไรด้วย ซึ่งเชื่อมโยงกับการมีสุขภาพที่แข็งแรง” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้เราจะรอรัฐบาลกลางมาปฏิรูปการศึกษาไม่ได้แล้ว อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการยัง จะเอาเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาคะแนน O-NET มาวัดเด็กเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถวัดได้เลย เพราะเด็กที่อยู่โรงเรียนพื้นที่ห่างไกล หรือเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา แม้ว่าจะไม่เก่งด้านวิชาการ แต่มีทักษะชีวิตที่ดี มีงานทำ ยกตัวอย่างคะแนนโอเน็ตที่ออกมานั้นสะท้อนสภาพปัญหาที่แท้จริงอย่างหนึ่ง คือ ศธ.ให้ความสำคัญกับเรื่องคะแนนมาก ส่งผลให้ครูและนักเรียน รวมถึงครอบครัวมีความกดดัน ต่อไปเด็กก็จะไปกวดวิชามากขึ้น ครูจะมุ่งแต่ติววิชาการเพียงอย่างเดียว ไม่สอนทักษะชีวิต ระบบคุณธรรม จริยธรรม ก็หายไป
 
งานวิจัยยังพบว่า รายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทย พบว่า จากการศึกษาในระดับประถมศึกษา รวมทั้งโรงเรียนขยายโอกาสในปี 2553 พบว่า งบประมาณการศึกษาต่อหัวที่รัฐบาลลงทุนต่อเด็กระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษานั้นสูงกว่าการลงทุนในระดับปฐมวัย โดยลงทุนระดับปฐมวัยเพียง 23,282 บาท ขณะที่ลงทุนในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาจำนวน 26,332 บาทและ 24,933 บาทตามลำดับ
 
 
  • 23 มี.ค. 2557 เวลา 08:52 น.
  • 1,742

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : นักวิชาการแนะ ศธ.เปลี่ยนแนวคิด เน้น O-Net ครู นร.กดดัน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^