LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

สั่ง สทศ.-สพฐ.วิเคราะห์เชิงลึกคะแนน O-NET แยกขนาด ร.ร.-ภูมิภาค-รวมทั้งประเทศ

  • 20 มี.ค. 2557 เวลา 03:56 น.
  • 2,846
สั่ง สทศ.-สพฐ.วิเคราะห์เชิงลึกคะแนน O-NET แยกขนาด ร.ร.-ภูมิภาค-รวมทั้งประเทศ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สั่ง สทศ.-สพฐ.วิเคราะห์เชิงลึกคะแนน O-NET แยกขนาด ร.ร.-ภูมิภาค-รวมทั้งประเทศ
 
       “จาตุรนต์” สั่ง สทศ.และ สพฐ.ร่วมวิเคราะห์เชิงลึกผลคะแนน O-NET ป.6 ม.3 แยกตามขนาดโรงเรียน ภูมิภาค และทำเป็นภาพรวม ระบุเมื่อได้ผลจะแถลงต่อสังคมและนำมาปรับใช้พัฒนา ขณะเดียวกันสั่ง สพฐ.เร่งทำหนังสือเวียนแจ้งทุก ร.ร.ให้เข้าใจการจัดสอบกลางระดับ ป.2, 4 และ 5 และ ม.1, 2 ไม่ซ้ำซ้อนกับการสอบ O-NET และไม่สร้างภาระการสอบ ยอมรับปัญหาเหลื่อมล้ำยังมีแต่การสอบกลางจะช่วยให้รู้ปัญหาและแก้ได้ตรงจุด
       
       นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศธ.เปิดเผยภายหลัง หารือเรื่องการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น ฐาน ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัด ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงการใช้คะแนน O-NET และข้อสอบกลางมามีผลต่อการเลื่อนชั้นของนักเรียน โดยในส่วนของคะแนน O-NET ที่ผ่านมา ศธ.ได้ออกประกาศแนวปฏิบัติการนำคะแนน O-NET ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับผู้เรียนระดับชั้น ป.6 และ ม.3 โดยกำหนดสัดส่วนคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรของโรงเรียนต่อ คะแนน O-NET อยู่ที่ 80: 20 เริ่มมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 และจะเพิ่มเป็น 70:30 ในปีการศึกษา 2557 และขยับเป็น 50:50 ในปีการศึกษา 2558 ซึ่งตนก็ยืนยันตามประกาศเดิม โดยทาง สพฐ.จะส่งหนังสือเวียนเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวไปยังโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศอีกครั้ง
 
       อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าการใช้ O-NET เลื่อนชั้น ไม่ขัดแย้งกับการจัดสอบกลางที่จะใช้กับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2, ป.4 ป.5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 อย่างที่หลายฝ่ายแสดงความห่วงใยว่าการจัดสอบอาจจะมีความซ้ำซ้อน และทำเด็กสอบที่มากเกิน แต่จากการหารือมีข้อสรุปตรงกันว่า การจัดสอบกลาง ไม่ทำให้เด็กสอบมากขึ้นเพียงแต่เปลี่ยนจากใช้ข้อสอบที่ออกโดยตรงเรียน มาเป็นข้อสอบที่ออกโดยส่วนกลาง ส่วนปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของโรงเรียนแต่ละระดับนั้น ตนเห็นว่าความเหลื่อมล้ำมีอยู่แล้ว แต่ข้อสอบกลางจะทำให้สามารถรู้ปัญหาและพัฒนาได้ตรงจุดมากขึ้น ทั้งนี้ตนได้มอบหมายให้ สพฐ.และ สทศ.ไปส่งหนังสือเวียน ทำความเข้าใจกับโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอก จากนั้นจะจัดเสวนา โดยเชิญตัวแทน สทศ.คณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของระบบการทดสอบวัดผลของระบบการศึกษาของประเทศไทย
       
       “ส่วนกรณีที่ผลการสอบ O-NET ชั้น ป.6 ที่พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยยังต่ำกว่า 50% และทำคะแนนได้ 0 ทุกวิชา และม.3 สอบได้ 0 คะแนน 6 กลุ่มสาระมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 เพียงวิชาเดียวคือ กลุ่มสาระพลานามัย สุขศึกษานั้นได้สั่งการให้ สทศ.และ สพฐ.ไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกแยกตามกลุ่มโรงเรียน ทั้งขนาดใหญ่ ขนากลาง และขนาดเล็ก รวมทั้งแยกตามภูมิภาคและภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งหากได้รับรายงานผลการวิเคราะห์ดังกล่าวก็จะรายงานให้สังคมได้รับทราบจะได้นำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมาปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนต่อไป” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ได้รับรายงานข้อมูลเบื้องต้นพบว่าผลการสอบไม่ได้ตกต่ำลงทุกกลุ่มสาระ โดยในชั้น ม.3 พบว่า วิชาภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์ดีขึ้น ในขณะที่ภาษาไทย สังคมศึกษา และคณิตศาสตร์ลดลง
       
       ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า สำหรับการดึงคะแนน O-NET ของนักเรียนที่ชั้น ป.6 และ ม.3 เพื่อไปประกอบการคัดเลือกเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 นั้นไม่มีปัญหาเว็บล่ม เนื่องจากสทศ.ได้มีการจัดวางระบบไว้รองรับไว้อย่างดี โดยที่ผ่านมาพบว่าแม้จะมีการเข้าไปดูคะแนนพร้อมกัน 7 แสนคน ระบบก็ไม่ล่ม และยังใช้การได้ตามปกติ ส่วนการประกาศผลO-NETชั้น ม.6 นั้น สทศ. ยืนยันประกาศผลตามกำหนดเดิมวันที่ 30 มีนาคม 2557
 
 
  • 20 มี.ค. 2557 เวลา 03:56 น.
  • 2,846

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สั่ง สทศ.-สพฐ.วิเคราะห์เชิงลึกคะแนน O-NET แยกขนาด ร.ร.-ภูมิภาค-รวมทั้งประเทศ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^