LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

ร่วงกราว O-NET ประเมินเด็กดอย

  • 13 มี.ค. 2557 เวลา 11:05 น.
  • 1,768
ร่วงกราว O-NET ประเมินเด็กดอย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ร่วงกราว O-NET ประเมินเด็กดอย
 
โรงเรียนร้าง"ผอ.-ครู"/วอน สมศ.วัดผลสัมฤทธิ์ใช้ความรู้เกิดประโยชน์ "จาตุรนต์" ย้ำใช้ข้อสอบกลางวัดความแตกต่าง-เหลื่อมล้ำ และแก้ไขได้ตรงจุดทั้งประเทศ
 
      จากการสำรวจปัญหาด้านการศึกษาบนพื้นที่สูงและชายแดนที่พบว่านักเรียน อ่านไม่ออก คิดเป็นร้อยละ 21.94 เขียนไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 22.67 ของนักเรียนที่อ่านไม่ออกของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. และไม่ผ่านการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)นั้น
 
     นายสมสวัสดิ์ ทองประวิทย์ รักษาการ ผอ.โรงเรียนบ้านแม่เต๋อ จ.เชียงราย กล่าวว่า โรงเรียนในพื้นที่ไม่ค่อยมีผู้บริหารตัวจริงมาบริหารงาน ซึ่งส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก เช่นที่โรงเรียนบ้านแม่เต๋อ แม้จะสามารถเก็บตกเด็กในพื้นที่เข้าเรียนได้ 100% แต่ผลสัมฤทธิ์การเรียนก็ยังไม่ผ่านเกณฑ์ของ สมศ. เพราะมีปัญหาเรื่องการอ่านออกเขียนได้ การวิเคราะห์ข้อสอบที่มีความซับซ้อน ซึ่งเด็กจะตีความหมายผิดเพี้ยนไป ซึ่งเรื่องนี้เคยมีการเสนอแนะต่อ สมศ.แล้วว่า ในการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ จะใช้ประเมินผลการเรียนของโรงเรียนในสัดส่วนร้อยละ 50 ได้หรือไม่ ซึ่งคำตอบคือไม่ได้ เพราะเกณฑ์การประเมินจะต้องเหมือนกันทั้งประเทศ 
 
      "โรงเรียนเข้ารับการประเมินของ สมศ.ครบทั้ง 3 รอบ ในรอบแรกไม่ผ่านเกณฑ์ รอบ2 มีพัฒนาการดีขึ้น ส่วนรอบ 3 ผลการประเมินอยู่ในระดับดีทุกด้าน แต่มาตกเรื่องผลสัมฤทธิ์ที่ดูจากคะแนน O-NETที่เพิ่มขึ้นมาในการประเมินรอบ 3 จึงอยากเสนอว่า การดูผลสัมฤทธิ์นั้น ควรดูที่การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเด็ก ซึ่งเรามุ่งเน้นเรื่องวิชาชีพเพื่อให้เด็กมีงานทำ เช่น มัคคุเทศก์ เพราะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว รวมถึงเรื่องระเบียบวินัยคุณธรรม จริยธรรม"นายสมสวัสดิ์ กล่าว
 
      นายอาโซ วุยซือ อบต.แม่สลองนอก กล่าวว่า ทาง อบต.แม่สลองนอก ให้การสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเชิญชวนให้ชาวบ้านนำลูกหลานมาเรียนหนังสือ ขณะเดียวกันก็สนับสนุนเรื่องอาหารกลางวันและค่ารถเดินทางมาเรียน แต่ทาง อบต.ก็อยากได้ผู้บริหารโรงเรียนตัวจริง และครูมาอยู่สอนที่นี่ เพราะถ้ามีปัญหาอะไรจะได้แก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ชาวบ้านในพื้นที่ยังสนใจเรียนภาษากันมาก โดยเฉพาะจีน-อังกฤษ แต่ก็มีอุปสรรคเรื่องการเดินทางและต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก 
 
      ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการลงพื้นที่ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรค ศักยภาพในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และเขตพื้นที่การศึกษาบนพื้นที่สูงและบริเวณชายแดน เพื่อเป็นข้อมูลในการเสวนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่สูงและชายแดน ประจำปีงบประมาณ 2558-2561 พบว่ามีหลายประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ โดยเรื่องการสอนภาษาไทย สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน อย่างไรก็ตามเท่าที่ดูศักยภาพของเด็กในพื้นที่แล้ว คิดว่าสามารถพัฒนาและส่งเสริมได้อย่างหลากหลาย 
 
     ขณะเดียวกัน นายจาตุรนต์ ยังให้สัมภาษณ์ถึงการนำข้อสอบกลางมาใช้ ก็เพื่อจะดูการจัดการศึกษาทั้งระบบของทั้งประเทศเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังจะรู้ถึงความแตกต่าง ซึ่งรวมถึงความเหลื่อมล้ำด้วยว่าผลการเรียนการสอนในพื้นที่ต่างๆ ต่างกันอย่างไร ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาไดัถูกจุด ถ้าปล่อยให้วัดผลกันเอง อย่างที่ทำมา 20 กว่าปีก่อนจะมีการทดสอบ O-NET เราจะไมีรู้เลยว่าได้เกิดความแตกต่าง และเหลื่อมล้ำอย่างมาก มารู้อีกทีก็ตอนที่เด็กเก่งๆ ไปแข่งขันกับต่างประเทศ แต่ถ้าใช้ข้อสอบกลางวัด เหมือนการสแกนภาษาไทย ป.3 กับ ป.6 ทั่วประเทศ ทำให้ทราบว่า มีเด็กอยู่ในขั้นที่ต้องปรับปรุงถึง 2 แสนกว่าคน
 
     เพราะฉะนั้นการใช้ข้อสอบกลางก็เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้นำไปใช้ ถ้าเข้าใจก็จะสามารถทำให้เกิดประโยชน์กับการเรียนการสอนได้ แต่ถ้าปล่อยไว้ก็เท่ากับเป็นการปล่อยปัญหาทิ้งไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนท้วงติงก็ยินดีรับฟัง แต่ไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องทบทวน
 
      นายจาตุรนต์ กล่าวต่อไปว่า การออกข้อสอบโดยเขตพื้นที่ฯ ร่วมกับโรงเรียน 15% และโดยส่วนกลางอีก 15% นั้น ถ้าพูดเฉพาะ 15% โดยส่วนกลางจะมีผลต่อการผ่านหรือไม่ผ่านไม่มากนัก แต่จะมีประโยชน์ในการดูการจัดการศึกษาโดยรวม ว่าการจัดการศึกษาทั้งประเทศเป็นอย่างไร โรงเรียนไหนเป็นอย่างไร เขตพื้นที่ฯ ไหนเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อนำ 2 ส่วนนี้มารวมกัน จะเป็นตัวผลักหรือค่อยๆ บังคับให้มีการแก้ปัญหาเกรดเฟ้อ และโรงเรียนต้องปรับตัว และทำให้เกรดของโรงเรียนมีมาตรฐานมากขึ้น
 
 
  • 13 มี.ค. 2557 เวลา 11:05 น.
  • 1,768

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ร่วงกราว O-NET ประเมินเด็กดอย

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^