LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

มาเรียกร้องปฏิรูปคุณภาพเด็ก ให้เก่งดี...นำเก่งวิชาการ บ้างดีไหม?

  • 25 ก.พ. 2557 เวลา 10:19 น.
  • 1,865
มาเรียกร้องปฏิรูปคุณภาพเด็ก ให้เก่งดี...นำเก่งวิชาการ บ้างดีไหม?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

มาเรียกร้องปฏิรูปคุณภาพเด็ก ให้เก่งดี...นำเก่งวิชาการ บ้างดีไหม?
โดย กลิ่น สระทองเนียม  
 
หากพูดถึงเป้าหมายการเรียนรู้ของคนไทยเมื่อย้อนหลังไปสัก 50 ปี ก็น่าจะหวังแค่ให้อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นเท่านั้น จะมีส่วนน้อยมากที่จะมีโอกาสเรียนสูงกว่าภาคบังคับหรือ ป. 4 แต่ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะมีโอกาสเรียนต่อจากภาคบังคับได้น้อยแต่เขาเหล่านั้นกับมีโอกาสได้เรียนต่อในมหาวิทยาลัยชีวิตอยู่ตลอดเวลาทั้งความรู้การปฏิบัติจริงในทักษะอาชีพและทักษะชีวิต โดยเฉพาะการปลูกฝังให้เป็นคนดีทำให้คนไทยในอดีตส่วนใหญ่นอกจากจะมีทักษะการประกอบอาชีพที่ทำให้วิถีชีวิตเป็นสุขในท้องถิ่นแล้ว ยังมีอัตลักษณ์ความดีงามอยู่ในตัวมากมายไม่ว่าจะเป็นความขยัน อดทน  ซื่อสัตย์  จิตใจที่เป็นบุญกุศล   มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หวงแหนในจารีต ประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ  โดยเฉพาะความรักในชาติ ศาสน์ กษัตริย์  ทำให้อยู่กันอย่างมีความสุข มีความสมานฉันท์ ทั้งระบบตั้งแต่ครอบครัว สังคม จนถึงประเทศชาติ
 
แต่พอคนในชาติได้รับการศึกษามากขึ้นตามแนวคิดของนักวิชาการที่มีโอกาสได้ไปศึกษาจากเมืองนอกเมืองนามา ไปเห็นรูปแบบ วิธีการของต่างชาติที่เขาทำได้ดี ก็คิดว่าหากนำมาใช้กับประเทศไทยก็น่าจะสำเร็จไปด้วย จึงลอกรูปแบบเขามาโดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านศักยภาพบุคลากร วิถีการดำเนินชีวิตตาม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงการทำมาหากินจากความพร้อมที่ทรัพยากรของชาติไทยมีอยู่  การไปใช้วิธีการตามแบบชาวตะวันตกมาตลอดจนถึงขั้นปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เมื่อปี 2542 จึงกลายเป็นความฝันที่เต็มไปด้วยหลักการสวยหรูตามความพร้อมของต่างชาติ อาทิ หน่วยเหนือต้องเล็กลงและทำหน้าที่เพียง กำหนดนโยบาย กำกับ ติดตามประเมินผล ด้านงบประมาณจะดูแลในภาพรวมเท่านั้น ส่วนงาน เงินและคน ต้องกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาค คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน ในรูปแบบนิติบุคคล พร้อมยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง จะได้มีคุณภาพและมีรายได้สูง ผู้เรียนต้องเป็น “คนดี คนเก่ง มีความสุข”  “เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา” ครูก็ต้องปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน จากการบอกเล่าเนื้อหามาเป็นผู้ออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ พร้อมส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ตลอดชีวิต และอีกมากมายในหลักการคงนำมากล่าวในที่นี้ไม่หมด

?มาเรียกร้องปฏิรูปคุณภาพเด็ก ให้เก่งดี...นำเก่งวิชาการ บ้างดีไหม??
 
จากความฝันเมื่อวันนั้นเมื่อมาถึงวันนี้ผลเป็นอย่างไรก็คงไม่ต้องพูดเพราะเห็นๆกันอยู่ ด้วยอำนาจส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ที่หน่วยเหนือ ไม่ได้กระจายไปให้ภาคปฏิบัติเป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง จะมีเพียงองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นตามกฏหมายการศึกษานี้เท่านั้นที่ได้รับการกระจายอำนาจเต็มบทบาท จึงสามารถสั่งการและมอบงานให้ครู สถานศึกษา ดำเนินงานในภารกิจและวิธีการที่หน่วยงานเหล่านั้นกำหนดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดการสร้างทั้งภาระงานทั้งความหนักใจให้กับครูตามมามากมาย  ด้านครูที่หวังจะเป็นวิชาชีพชั้นสูง สุดท้ายก็ได้แค่ใบประกอบวิชาชีพ เรื่องคุณภาพและรายได้ก็ยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย  ส่วนวิธีการสอนของครูจำนวนไม่น้อยก็ยังใช้วิธีแบบเดิมๆกับการบอกเล่าเนื้อหา ซึ่งส่วนนี้จะไปโทษครูก็ไม่ได้เมื่อภาคส่วนอื่นที่มีหน้าที่รองรับเด็กต่อไปไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นก็ยังเน้นอยู่กับการสอบเนื้อหาวิชาการ ภาคนโยบายแม้จะกำหนดเป้าหมายไว้กับการพัฒนาทุกภาคส่วนแต่วิธีการปฏิบัติกลับไปเน้นอยู่ที่วิชาการโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับคะแนนการสอบ O-NET โดยให้นำไปเป็นส่วนหนึ่งกับการตัดสินผลการเรียน  การขอเลื่อนวิทยฐานะของครู ผู้บริหาร ทำให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ต่างมุ่งไปที่เนื้อวิชาการเพื่อสนองกับการสอบระบบนี้ ทำให้การเรียนพิเศษ นอกเวลากลายเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญที่สุดของเด็กตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัยไปแล้ว การพัฒนาบุคลากรของชาติด้วยการศึกษาแทนที่จะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนเก่งดี เก่งทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต ก็เหลือแค่การสร้างคนเก่งหลักการ ทฤษฎี เท่านั้น
 
ที่พูดเช่นนี้ใช่ว่าจะไม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพด้านวิชาการเพราะโลกยุคไร้พรมแดน การรู้เท่า รู้ทันในวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก็มีความจำเป็นอยู่ แต่การไปมุ่งเป้าไปที่วิชาการชนิดไม่ลืมหูลืมตา คนเรียนก็เรียนแค่ให้จำเนื้อหาเพื่อให้สอบผ่านได้คะแนนมากหรือสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับสูงได้ โดยไม่สนใจทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต หรือ สมรรถนะคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยเฉพาะคุณสมบัติของ “คนดี”  มีความรับผิดชอบ   มีระเบียบ วินัย ความซื่อสัตย์ สุจริต กตัญญูรู้คุณคน รู้จักช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นความสำคัญและคุณค่าในจารีต ประเพณี อันดีงามของไทย ฯลฯ หากการศึกษาจัดแล้วเด็กเยาวชนของชาติเห็นความสำคัญแต่เนื้อหา หลักการ ทฤษฎี อยู่เช่นนี้ การที่จะทำให้บุคลากรของชาติมีวิถีชีวิตที่มีความสุข เกิดความสมานฉันท์ เกิดขึ้นในสังคมและประเทศชาติคงเป็นไปได้ยาก ยิ่งไปเจอคนเก่งความรู้แต่ไม่สนใจความดีงามด้วยแล้ว ก็จะยิ่งไปกันใหญ่ เพราะหากเก่งแล้วเห็นว่าตนเองสำคัญที่สุด คิดหรือทำอะไรก็ว่าถูกต้องที่สุด ดีที่สุด  เห็นแก่ตัว  ความดีจะเอาใส่ตัว แต่ความชั่วจะโยนให้คนอื่น  เก่งแล้วขาดน้ำใจ หวังแต่ลาภ ยศ เงินทองฯลฯ หากสังคม ประเทศชาติ มีคนเก่งลักษณะที่ว่ามานี้มาก ความสงบสุข ความสมานฉันท์ในประเทศชาติก็คงหาได้ยากเช่นกัน ขณะนี้ก็มีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่แล้ว หากไม่เร่งปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหาต่างๆก็จะเกิดตั้งแต่วัยเด็กโดยไม่ต้องรอให้ถึงอนาคตทั้งเรื่องอบายมุข การมีเพศสัมพันธุ์และการตั้งท้องก่อนวัยอันควร การทะเลาะวิวาท  ใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อเกินตัว หลงใหลอยู่กับวัตถุ เห็นเงินมีค่ากว่าความดี  ฯลฯ หากบุคลากรของชาติมีคุณลักษณะเช่นนี้ ความสุข ความเจริญของคนในชาติและประเทศชาติ ก็คงหาได้ยาก
 
น่าจะต้องถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องลุกขึ้นมาช่วยกัน “ ปฏิรูปคุณภาพเด็ก” โดยมีเป้าหมายสร้างให้เป็น “คนดี นำคนเก่ง” กันอย่างจริงจังเสียที เพราะหากเด็กเป็นคนดีแล้วจะพัฒนาส่งเสริมเติมเต็มอะไรต่อก็คงทำได้ไม่ยาก ซึ่งจะต่างกับคนเก่งวิชาการอย่างเดียวจะไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นคนดีในภายหลังนั้นคงทำได้ยากยิ่งขึ้นหรืออาจทำไม่ได้เลยเพาะน้ำเต็มแก้วเสียแล้ว ซึ่งการปฏิรูปเด็กตามแนวทางนี้คิดว่าสำคัญยิ่ง เพราะสังคมไทยเริ่มหาคนดีได้ยากเข้าไปทุกขณะ  สำหรับการปฏิรูปที่ว่านี้จะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่จะต้องกำหนดนโยบายกับเป้าหมายนี้ไว้อย่างชัดเจน หลักสูตรก็ต้องเน้นการปลูกฝังความดีเป็นแกนหลัก หน่วยงานที่จะต่อยอดการเรียนรู้ของเด็กโดยเฉพาะอุดมศึกษา ก็ต้องปรับวิธีการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ เช่น ให้โอกาสกับเด็กดีมีที่เรียนต่อ ด้วยการจัดสรรเป็นโควตาให้แต่ละโรงเรียนอย่างน้อยร้อยละ 25 ในทุกสาขาหรือหากให้มีจำนวนมากขึ้นยิ่งเป็นเรื่องดีเพราะหากสามารถช่วยสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำความดีได้เป็นรูปธรรมอย่างนี้เมื่อได้ทำดีบ่อยๆขึ้นก็จะเกิดเป็นนิสัยถาวรตามมา ส่วนที่เกรงกันว่ามัวแต่เน้นความดี วิชาการอาจจะอ่อนด้อยจนเรียนไม่ไหวนั้นคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะเมื่อเป็นคนดีแล้ว เชื่อว่าทุกอย่างน่าจะดีตามมาหรือสามารถพัฒนาได้ง่าย ยิ่งเมื่อจบการศึกษาภาครัฐและเอกชนคัดเลือกเข้าทำงานโดยใช้ความดีเป็นเกณฑ์สอดรับด้วยแล้วก็จะยิ่งสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นทั้งระบบ และได้ผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ส่วนผู้ปกครอง สังคม ก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิต อย่าเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัวโดย  ส่วน ครู อาจารย์ ก็คิดว่าน่าจะมีความพร้อมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้นโยบายเน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมกับลดภาระงานอื่นๆไม่ว่าจะเป็นงานประเมิน ประกวด แข่งขัน ทดสอบ และการรายงานกิจกรรมโครงการที่หน่วยเหนือกำหนดให้ลดน้องลงหรือตัดออกไปเลยยิ่งเป็นเรื่องดีที่จะทำให้ครูมีเวลาพัฒนาเด็กมากขึ้น การปฏิรูปคุณภาพเด็กให้เป็นคนดีนำคนเก่งนี้ว่าไปแล้วน่าจะมีความสำคัญเร่งด่วนมากกว่าการปฏิรูปการเมืองเสียอีก เพราะการเมืองแม้จะสามารถหารูปแบบ วิธีการดีเลิศเพียงใดในการสรรหาคนมาเป็นผู้แทนหรือเป็นผู้นำประเทศ แต่หากคนในชาติยังมีคนเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้มากกว่าคนดี สุดท้ายทุกอย่างก็จะมาจบที่เดิมอย่างที่เห็นกันอยู่ในวันนี้   
 
 
  • 25 ก.พ. 2557 เวลา 10:19 น.
  • 1,865

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : มาเรียกร้องปฏิรูปคุณภาพเด็ก ให้เก่งดี...นำเก่งวิชาการ บ้างดีไหม?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^