LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

เลขา กพฐ.ถามหาร่างหลักสูตรใหม่ วิเคราะห์ข้อดี-เสียก่อนใช้จริง

  • 13 ก.พ. 2557 เวลา 00:25 น.
  • 2,095
เลขา กพฐ.ถามหาร่างหลักสูตรใหม่ วิเคราะห์ข้อดี-เสียก่อนใช้จริง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เลขา กพฐ.ถามหาร่างหลักสูตรใหม่ วิเคราะห์ข้อดี-เสียก่อนใช้จริง
 
ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร และตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีนายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รายงานความคืบหน้าการปฏิรูปหลักสูตรฯ ต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งมีสาระหลักคือการลดชั่วโมงเรียนในห้องเรียนให้เหลือ 600 ชั่วโมง และนอกห้องเรียน 400 ชั่วโมง และการปรับปรุงหลักสูตรใหม่จากเดิม 8 กลุ่มสาระวิชา เหลือ 6 สาระวิชานั้น 
 
     นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯ ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรฯต่อ นายจาตุรนต์ ให้รับทราบว่าการดำเนินงานแล้วเสร็จไปกว่า 90% แล้วนั้น ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯดำเนินการเสร็จแล้ว ต้องให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มาดูก่อน เพื่อวิเคราะห์ว่าหลักสูตรฯ ใหม่เป็นอย่างไร เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนของครูและเด็กในปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ทำเสร็จแล้ว สพฐ.จะนำไปใช้ได้เลย ซึ่งต้องผ่านกระบวนการตามขั้นตอน เพื่อให้หลักสูตรฯ ใหม่มีความสมบูรณ์มากที่สุด เช่น ต้องทำประชาพิจารณ์หรือไม่ หรือนำให้ครูผู้สอนศึกษาก่อนว่าเป็นอย่างไร จากนั้นถึงจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) อนุมัติหลักสูตรและนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อลงนามประกาศใช้ต่อไป
 
      "ผมในฐานะผู้ดูแลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังไม่เคยเห็นร่างหลักสูตรฯ ดังกล่าวเลย ซึ่งการประกาศใช้หลักสูตรฯ ที่ปรับปรุงหรือยกร่างใหม่ที่ผ่านมาโดยปกติแล้ว ไม่ใช่ประกาศใช้วันนี้แล้ว จะมีผลวันนี้ในทันที ต้องให้เวลาเตรียมการเรื่องสื่อแบบเรียนพอสมควร ซึ่งอดีตที่ผ่านมากว่าจะได้นำมาใช้ก็ใช้เวลา 2-3 ปี และต้องมีการนำหลักสูตรเก่า กับหลักสูตรใหม่ส่งให้ครูในพื้นที่ดู เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียก่อน ซึ่งครั้งนี้ก็ควรต้องทำเช่นนั้น" เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
 
ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
  • 13 ก.พ. 2557 เวลา 00:25 น.
  • 2,095

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เลขา กพฐ.ถามหาร่างหลักสูตรใหม่ วิเคราะห์ข้อดี-เสียก่อนใช้จริง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^