LASTEST NEWS

27 ธ.ค. 2567คำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 “ทุกโอกาสคือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 27 ธ.ค. 2567สพป.ระยอง เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 18 อัตรา - รายงานตัว 6 มกราคม 2568 27 ธ.ค. 2567สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงาน 7 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 - 22,840 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ม.ค.2568 26 ธ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัคร สอบ ก.พ. ภาค ก e-Exam ประจำปี 2568 จำนวน 181,170 ที่นั่งสอบ เปิดระบบรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป - 28 มกราคม 2568 26 ธ.ค. 2567ก.ค.ศ.อนุมัติเลื่อนวิทยฐานะ "เชี่ยวชาญ" ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 8 ราย 26 ธ.ค. 2567สพม.ฉะเชิงเทรา ให้เขตอื่นขอใช้บัญชีฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 24 อัตรา เช็กรายละเอียดที่นี่ 25 ธ.ค. 2567ประกาศ สพฐ. เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 และมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ (ครั้งที่ 2) เพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (ส่วนกลาง) 25 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 25 ธ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.เชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 10 อัตรา รายงานตัว 6 มกราคม 2568 25 ธ.ค. 2567โรงเรียนพรตพิทยพยัต เปิดสอบครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 27 ธันวาคม 2567

ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • 01 ก.พ. 2557 เวลา 07:09 น.
  • 6,326
ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 28/2557
 ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
 ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ สพฐ. เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
 
คณะผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำเสนอความก้าวหน้าในการจัดการศึกษา ตาม 5 นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสรุปดังนี้
 
นโยบายที่ 1 เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
 
 การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย โดยใช้องค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA
 
 สพฐ.ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และยกร่างประกาศ ศธ.เรื่องแนวปฏิบัติการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA และวางแผนที่จะดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่
 
 1) ภายในเดือนมีนาคม เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหารการศึกษาทั้งในส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษา และเผยแพร่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
 2) ภายในเดือนพฤษภาคม โดยจัดหลักสูตรอบรมและจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์และครูสายผู้สอนภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เขตละ 4 คน
 3) ภายในเดือนกันยายน โดยจัดหาและสร้างข้อสอบตามแนว PISA และบทอ่านพัฒนาศักยภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และจัดเวทีแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน
 พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน
 
 สพฐ.ได้ออกประกาศ ศธ. เรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีนแล้ว โดยมีแผนงานที่จะจัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติการจัดเรียนการสอน ชี้แจงทำความเข้าใจ ปรับปรุงสื่อการสอน รวมทั้งจัดหาสื่อสนับสนุนการสอน นอกจากนี้จะพัฒนาหลักสูตรภาษาจีน ครูผู้สอน และข้อสอบวัด/ประเมินผลการเรียนรู้ภาษาจีน
 
 พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
 
 สพฐ.ได้ออกประกาศ ศธ. เรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแล้ว พร้อมทั้งสรุปผลการวิจัยระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่จบชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ตามกรอบ CEFR ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งขยายโครงการ EP/MEP/EBE/EIS ยกระดับความสามารถของครู และส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี  ทั้งนี้ สพฐ.มีแผนที่จะใช้กรอบแนวคิด CEFR ในการดำเนินงาน เช่น กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การอบรมครู การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียนและครู รวมทั้งจัดให้มี Conversation Class ในทุกโรงเรียน จัดระบบวิชาเลือก วิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ เพิ่มชั่วโมงเรียนอย่างเพียงพอ จัดค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้ม และผลิต/สรรหา/ให้บริการ e-Content/Learning Application/สื่อดิจิทัล
 
 เร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้
 
 สพฐ.ได้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
 
 - กลุ่มที่ 1 อ่านไม่ออก  โดยมีการสาธิตรูปแบบการจัดการเรียนการสอน จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเร็วใหม่เพื่อซ่อมเสริมและฝึกทักษะ จัดทำคลังความรู้ผ่านเว็บไซต์ http://academic.obec.go.th/web/node/318 และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
 - กลุ่มที่ 2 อ่านรู้เรื่องบ้าง  โดยการพัฒนาวิทยากรแกนนำการอ่านในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และจัดทำคลังความรู้
 - กลุ่มที่ 3 อ่านรู้เรื่องดี  โดยการพัฒนาวิทยากรแกนนำการอ่านในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และจัดทำแผนยุทธศาสตร์และกำหนดมาตรการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA)
 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
 
 สพฐ.ได้ทบทวนแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร : การตกซ้ำชั้น และนำเสนอต่อ ศธ.ให้ใช้ข้อสอบกลางเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนปลายปีของผู้เรียน รวมทั้งมีแผนที่จะปรับแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผล และสร้างความตระหนัก ความรู้และเข้าใจให้แก่สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

 
นโยบายที่ 2 ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู
 
 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
 
 สพฐ.ได้ดำเนินการหลักสูตรพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในหลายด้าน อาทิ การจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การใช้วิจัยเป็นฐานสร้างสรรค์กระบวนการคิดและโครงงาน พัฒนาสมรรถนะครูสำหรับศตวรรษที่ 21 พัฒนาครูบรรจุใหม่กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของครูและผู้บริหาร รวมทั้งพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนมีและเลื่อนวิทยฐานะ และให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิชาการ เป็นต้น
 
 การคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งครูอัตราจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
 สพฐ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ครูผู้ช่วย สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาทั่วไป และแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการคัดเลือกฯ สำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้ เพื่อช่วยเหลือพนักงานราชการ ครูอัตราจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ และวิทยากรอิสลามให้มีขวัญกำลังใจ
 
นโยบายที่ 3 เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้
 
 สพฐ.กำลังจัดหาระบบการเรียนการสอนแบบ Interactive Learning ติดตั้งระบบ Virtual Classroom และระบบ OBEC Channel IPTV จัดหา Wireless Access Point สำหรับโรงเรียน พัฒนาและส่งเสริมครูให้ใช้ Social Media และสร้างสื่อบนเว็บไซต์ โดย สพฐ.มีแผนที่จะจัดหาระบบการเรียนการสอน Smart Classroom ปรับปรุงเครือข่าย Intranet และปรับปรุงการเชื่อมต่อให้สอดคล้องกับโครงข่ายการศึกษาแห่งชาติ NEdNet จัดซื้อและพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและทันสมัย เช่น Application e-Publishing Game 3D
 
นโยบายที่ 4 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
 
 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
 ในปีการศึกษา 2557 สพฐ.จะจัดสรรค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาภาคเรียนละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดสรรให้ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนเดิมของภาคเรียนที่ 2/2556 (ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556) ที่เลื่อนชั้นไปอีกระดับชั้นหนึ่ง (อ.2 ป.2-6 ม.2-3 และ ม.5-6) สำหรับนักเรียนเข้าใหม่คิดเป็นร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ป.1 ม.1 และ ม.4 เดิม ปีการศึกษา 2556  และครั้งที่ 2 เมื่อสถานศึกษารายงานและยืนยันข้อมูลนักเรียนรายบุคคลของภาคเรียนที่ 1/2557 (ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2557) จึงจัดสรรเพิ่มเติมให้ครบร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนปัจจุบัน ทั้งนี้ หากการจัดสรรงบประมาณไม่ครบตามจำนวนนักเรียน ให้โรงเรียนยืมเงินจากรายการค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและค่าจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนกรณีเงินเหลือให้โรงเรียนเก็บไว้สมทบกับการจัดสรรครั้งต่อไป

 
 
 การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส
 
 สพฐ.ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการที่เป็นปัจจุบัน และให้ทุกหน่วยงานใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เช่น มีระบบคัดกรอง หลักสูตรที่สอดคล้องกับความพิการ แผนการพัฒนา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เป็นต้น จัดให้มีการเรียนรวม โดยมีระบบสนับสนุน มีแผนการพัฒนา มีครู และมีนักสหวิชาชีพ รวมทั้งจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เพื่อส่งเสริมให้เด็กพิการได้มีโอกาสเข้าทำงานในสถานประกอบการ จัดให้มีศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างมีแผนงานและมีระบบสร้างแรงจูงใจ และมีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
 
นโยบายที่ 4 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
 
 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
 ในปีการศึกษา 2557 สพฐ.จะจัดสรรค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาภาคเรียนละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดสรรให้ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนเดิมของภาคเรียนที่ 2/2556 (ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556) ที่เลื่อนชั้นไปอีกระดับชั้นหนึ่ง (อ.2 ป.2-6 ม.2-3 และ ม.5-6) สำหรับนักเรียนเข้าใหม่คิดเป็นร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ป.1 ม.1 และ ม.4 เดิม ปีการศึกษา 2556  และครั้งที่ 2 เมื่อสถานศึกษารายงานและยืนยันข้อมูลนักเรียนรายบุคคลของภาคเรียนที่ 1/2557 (ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2557) จึงจัดสรรเพิ่มเติมให้ครบร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนปัจจุบัน ทั้งนี้ หากการจัดสรรงบประมาณไม่ครบตามจำนวนนักเรียน ให้โรงเรียนยืมเงินจากรายการค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและค่าจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนกรณีเงินเหลือให้โรงเรียนเก็บไว้สมทบกับการจัดสรรครั้งต่อไป
 
 การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส
 
 สพฐ.ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการที่เป็นปัจจุบัน และให้ทุกหน่วยงานใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เช่น มีระบบคัดกรอง หลักสูตรที่สอดคล้องกับความพิการ แผนการพัฒนา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เป็นต้น จัดให้มีการเรียนรวม โดยมีระบบสนับสนุน มีแผนการพัฒนา มีครู และมีนักสหวิชาชีพ รวมทั้งจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เพื่อส่งเสริมให้เด็กพิการได้มีโอกาสเข้าทำงานในสถานประกอบการ จัดให้มีศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างมีแผนงานและมีระบบสร้างแรงจูงใจ และมีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
 
นโยบายที่ 5 พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
 การยกระดับคุณภาพการศึกษา
 
 สพฐ.ได้ดำเนินการเร่งรัดพัฒนาทักษะภาษาไทยให้สามารถอ่านออกและเขียนได้คล่อง ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่น ส่งเสริมและจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และบริบทของพื้นที่ และส่งเสริมการจัดการศึกษาอาเซียน
 
 การสร้างขวัญและกำลังใจ
 
 สพฐ.ได้สร้างรายการคุ้มครอง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา เช่น ระบบ CCTV ระบบวิทยุสื่อสาร ข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ดำเนินการให้มีและจ่ายเงินค่าพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเพิ่มเป็นค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการและลูกจ้างของรัฐ เดือนละ 2,500 บาท และ 3,000 บาท รวมทั้งเพิ่มค่าจ้างให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็น 9,000 บาท เพิ่มให้กับวิทยากรอิสลามเป็น 15,000 บาท และจัดเงินเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบรายละ 4 ล้านบาท
 
รมว.ศธ. ได้ขอให้ สพฐ.ช่วยคิดประเด็นที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในระยะ 1-3 เดือนต่อจากนี้  เช่น
 
  - การพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ  โดยขอให้คณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทำงานเชื่อมโยงกับ กศน. สช. ด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่ได้ประกาศดำเนินการตามแนว CEFR ซึ่ง สพฐ. เสมือนเป็นหน่วยกล้าตายที่เปลี่ยนแนวคิดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ก็เท่ากับเปลี่ยนวิธีสอนด้วย นอกจากนี้ ขอให้ประสานกับ สทศ. สกอ. เพื่อดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน เช่น การออกข้อสอบ ทั้งนี้หากจะเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนขอให้ดำเนินการอย่างจริงจัง และคิดแนวทางการดำเนินงานต่อไปด้วย เช่น จัดกิจกรรมแนะนำ การสื่อสารกับสาธารณชนในวงกว้าง รวมทั้งแสดงอันดับของไทยที่จัดอันดับโดยสถาบันต่างประเทศ เพื่อให้เห็นปัญหา และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
 
 - การส่งเสริมการสอนภาษาจีน  จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างมาก โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการสื่อสาร (Communicative) เป็นการเรียนที่เน้นคุณภาพ เน้นผลลัพธ์ มีระบบวิชาเลือกและระบบห้องเรียนรองรับ มีการสอนวิชาสนทนาอย่างเข้มข้นเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ ควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะเปลี่ยนรัฐมนตรีก็ตาม นอกจากนี้ จะต้องเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตตำรา/แบบเรียนร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (HANBAN) การขอความร่วมมือจากครูอาสาสมัครจีนให้สอนเด็กไทย โดยยึดตามแนวการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนแบบเข้มข้นของ ศธ. กล่าวคือ เน้นการสอนสนทนาในห้องเรียนที่มีขนาดเหมาะสม และมีจำนวนชั่วโมงเพียงพอกับการเรียนเพื่อให้เกิดการสื่อสารในชั้นเรียน นักเรียนทุกคนได้พูด ได้สนทนา  และเมื่อได้แนวปฏิบัติและระบบแล้ว ควรจะต้องสื่อสารกับทั้งระบบการศึกษาด้วย
 
  - การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน  โดยใช้องค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA ควรเร่งจัดหาข้อสอบตามแนว PISA โดยด่วน เพื่อให้ทั้งระบบได้วิเคราะห์และเรียนรู้ข้อสอบ พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องต่อไป รวมทั้งเชิญชวนให้หน่วยงานอื่นได้มีส่วนร่วมในการยกระดับ PISA ด้วย เช่น ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ขอให้หารือเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า ขณะนี้ ศธ.กำลังพัฒนาระบบทดสอบกลาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่จะทำให้รู้ถึงสภาพการจัดการศึกษาของประเทศ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการแข่งขันหรือทำให้โรงเรียนหรือครูต้องอับอาย และจะพัฒนาการทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
 
 - เงินอุดหนุนรายหัว  ควรเร่งหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือโครงร่างการจัดการเงินอุดหนุนกับทั้งระบบ เพื่อเตรียมนำเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ ทั้งยังขอฝากให้คิดเรื่องการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ซึ่งจะต้องศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยน การปรับหลักเกณฑ์ กฎกติกาต่างๆ เช่น เส้นทางความก้าวหน้าของครู ผู้บริหาร พร้อมทั้งนำเสนอให้สาธารณชนได้รับรู้ต่อไป
 
 - การประชาสัมพันธ์งานของ สพฐ.  ขอให้ดำเนินการได้ทันที เพื่อสื่อสารไปยังสังคมให้ได้รับรู้ว่า สพฐ.กำลังดำเนินการในเรื่องใด มีความก้าวหน้าอย่างไร และจะส่งผลหรือเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องเน้นไปที่ภาพของรัฐมนตรี แต่ให้เน้นงานของ สพฐ.อย่างแท้จริง
 
  • 01 ก.พ. 2557 เวลา 07:09 น.
  • 6,326

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^