LASTEST NEWS

08 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2567 08 พ.ย. 2567“สพฐ. ประชุม ผอ.เขตพื้นที่ พร้อมเปิดตัว “OBEC Zero Dropout” เพื่อเด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างถ้วนหน้า” 08 พ.ย. 2567รวมข่าว..เปิดสอบพนักงานราชการครู 91 อัตรา สังกัด สพฐ. วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท 07 พ.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 375 อัตรา - วุฒิ ปวช. - ปริญญาตรี เงินเดือน 10,340-18,350 บาท สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ 8 - 14 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567สพฐ.แจ้งจัดสรรงบประมาณ ปีพ.ศ.2568 เป็นค่าจ้างบุคลากรสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง กรณีทดแทนลูกจ้างประจำเกษียณอายุและว่างโดยเหตุอื่นในระหว่างปี 07 พ.ย. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 57 อัตรา - รายงานตัว 15 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567ประกาศ สำนักงาน ก.พ. เรื่อง รายชื่อผู้สอบผ่านเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2567 07 พ.ย. 2567สพม.อุดรธานี เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (บัญชี ปี 2566, 2567) จำนวน 33 อัตรา - รายงานตัว 12 พ.ย.2567 07 พ.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 35 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 8-14 พฤศจิกายน 2567 06 พ.ย. 2567โรงเรียนอุบลปัญญานุกูล รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 2 อัตรา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 12 - 18 พฤศจิกายน 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ

คุณภาพเด็กและเยาวชนชี้วิกฤติการศึกษาไทย

  • 07 ม.ค. 2557 เวลา 12:33 น.
  • 2,663
คุณภาพเด็กและเยาวชนชี้วิกฤติการศึกษาไทย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คุณภาพเด็กและเยาวชนชี้วิกฤติการศึกษาไทย
โดย ฟาฏินา วงศ์เลขา
 
 เมื่อผ่านพ้นการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ “วันเด็กแห่งชาติ” เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมโดยสมัครใจกันอย่างพร้อมหน้า เป็นการแสดงให้เห็นถึงน้ำจิตน้ำใจไมตรีที่หยิบยื่นความเอื้ออาทรแบ่งปันความรักความอบอุ่นให้กับเด็กทุกคนได้รับความสุขและเบิกบานใจกันถ้วนหน้า ถือเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยที่ต้องชื่นชม
 
เมื่อกล่าวถึงเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติก็อดไม่ได้ที่จะต้องมองไปถึงคุณภาพของเด็กและเยาวชนไทยที่นับวันจะยิ่งถดถอยสวนทางกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสังคมมากมายเช่น ติดเกม หนีเรียน ทะเลาะวิวาทการมั่วสุ่ม หมกมุ่นกับสื่อที่ไม่สร้างสรรค์มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น  ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจาก “ครอบครัว” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นเบ้าหลอมที่สำคัญในการสร้างสรรค์สมาชิกที่มีคุณภาพให้กับสังคม ยิ่งครอบครัวอ่อนแอเท่าไรปัญหาก็จะยิ่งทบทวีมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องตกเป็นจำเลยของสังคมอยู่ร่ำไปก็คือ “สถานศึกษา”
 
“สถานศึกษา” หรือ “โรงเรียน” ถือว่าเป็นบ้านหลังที่สองของเด็ก เป็นบ่อเกิดของการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมคุณงามความดี พัฒนาศักยภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นเพื่อให้เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของสังคม ปัจจุบันหลายฝ่ายมองเห็นตรงกันว่า “คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ” จะจริงหรือไม่นั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ให้รู้อย่างถ่องแท้เพื่อนำไปสู่หนทางในการแก้ปัญหาให้ตรงจุดอย่างต่อเนื่องและจริงจังปัญหาการศึกษาของไทยมักถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด

แต่ที่กลับมาเป็นกระแสฮือฮากันอีกครั้งคือจากข่าวการเปิดเผยข้อมูลการประชุม World Economic Forum (WEF)-The Global Cometitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม “เวทีเศรษฐกิจโลก” ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีที่ผ่านมาพบว่าผลการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของไทยรั้งท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งอยู่ในอันดับที่  8 ตามหลังกัมพูชาและเวียดนาม

?คุณภาพเด็กและเยาวชนชี้วิกฤติการศึกษาไทย?
 
จากกระแสข่าวดังกล่าวทำให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องออกมายอมรับว่า “ระบบการศึกษาของไทยมีปัญหามากมายทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำอย่างเต็มที่ การยกระดับคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับหลักสูตรและคุณภาพผู้สอน หาก 2 ส่วนนี้ดีเชื่อว่าจะไล่ตามและแซงประเทศต่าง ๆ ได้ กระนั้นคงมิอาจปฏิเสธว่าปัจจัยที่ทำให้คุณภาพการศึกษาถูกยกระดับขึ้นมาได้มิใช่มีเพียง 2 ส่วนนี้ ยังมีปัจจัยอื่นด้วยไม่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กนักเรียน เจ้าของสถานศึกษา สภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงนักการเมืองและพรรคการเมืองที่เป็นผู้กำหนดทิศทาง และนโยบายให้ข้าราชการปฏิบัติตาม”
 
ในขณะที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแม้ให้ความสนใจและได้สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องไปศึกษาวิเคราะห์ว่าข้อมูลดังกล่าวน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดแต่อย่างไรก็ตามพ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนคนทั่วไปเมื่อได้รับฟังข่าวนี้ล้วนแล้วแต่ปักใจเชื่อโดยสุจริตใจว่า “เป็นเช่นนั้นจริง” ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นได้จากทุกวงเสวนาของบรรดาผู้คนในแวดวงการศึกษามักแสดงความเป็นห่วงกังวลใจในประเด็นของคุณภาพการศึกษาของไทยที่อยู่รั้งท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนเสมอ ที่เป็นเช่นนั้นอาจจะเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีบางประเทศในกลุ่มอาเซียนเหล่านี้เคยล้าหลังกว่าประเทศไทยมาก

?คุณภาพเด็กและเยาวชนชี้วิกฤติการศึกษาไทย?
 
หลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ณ เวลานี้การศึกษาไทยเหมือนกำลังดิ่งลงเหวแม้ว่าจะผ่านการปฏิรูปการศึกษามาเป็นทศวรรษที่ 2 ก็ ตามแต่ก็ไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายสักครั้งไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปโครงการหลักสูตร ครูผู้สอนการจัดการเรียนการสอนแต่ก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าคุณภาพการศึกษาไทยได้กระเตื้องขึ้นมาบ้างเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการครั้งใหญ่ที่มีการยุบกรมต่าง ๆ ปรับโครงสร้างใหม่เป็น 5 องค์กรหลัก และกำหนดให้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระจายอยู่ในทุกจังหวัดนั้น ตามข้อเท็จจริงทราบว่าได้ก่อให้เกิดปัญหาทับถมทวีคูณตามมามากมายจนปัจจุบันได้เกิดการเรียกร้องให้แยกหน่วยงานออกมาเหมือนก่อนการปฏิรูปอีกครั้ง
 
แต่ปัญหาสำคัญและที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือคุณภาพการศึกษาของไทยที่ตกต่ำ ซึ่งมีหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนมากมายไม่ว่าจะเป็นผลการทดสอบ O-NET ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ (NT) พบว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ได้คะแนนวิชาต่าง ๆ ต่ำกว่าเกณฑ์  และที่สำคัญคือผลสอบ PISAพบว่าเด็กไทยส่วนใหญ่อ่านภาษาไทยไม่รู้เรื่องคือ มีตั้งแต่อ่านไม่ออกอ่านแล้วตีความไม่ได้วิเคราะห์ความหมายไม่ถูก หากมีปัญหาในการใช้ภาษาก็จะนำไปสู่ปัญหาอื่นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้หากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาได้ดีก็จะส่งผลต่อการเรียนวิชาอื่น ๆ ตามมาด้วย
 
ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องยกเครื่องการศึกษาไทยหยิบยกประเด็น “ปฏิรูปการศึกษา”มาเป็นนโยบายสำคัญและทำอย่างจริงจังต่อเนื่องไม่ใช่เป็นเพียงการกระทำตามกระแสนิยมของรัฐมนตรีคนแล้วคนเล่าอย่างที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพให้เป็นคนดี มีคุณธรรม คิดเป็นทำเป็น แก้ปัญหาได้ที่สามารถจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตต่อไป.
 
 
  • 07 ม.ค. 2557 เวลา 12:33 น.
  • 2,663

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : คุณภาพเด็กและเยาวชนชี้วิกฤติการศึกษาไทย

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^