LASTEST NEWS

30 พ.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู 7 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท และพนักงานธุรการ 1 อัตรา เงินเดือน 13,800.-บาท ระหว่างวันที่ 6 - 12 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาแก้วประชารัฐ รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก (ยกเว้น ปฐมวัย) เงินเดือน 8,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567สพฐ. พร้อมเปิดพื้นที่โรงเรียน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ 30 พ.ย. 2567เปิดรายละเอียด! ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ และปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลผกระทบของพนักงานราชการ (มติ ครม. 29 พ.ย.2567) 30 พ.ย. 2567สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 รับสมัครพนักงานราชการครู และพนักงานราชการพี่เลี้ยง ทั้งหมด 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-13 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2567 29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567

ฃ.ฃวด ฅ.ฅน หายไปไหน?

  • 29 ธ.ค. 2556 เวลา 09:50 น.
  • 10,315
ฃ.ฃวด ฅ.ฅน หายไปไหน?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ฃ.ฃวด ฅ.ฅน
 
ในหนังสือ ภาษา–ประเพณี–บันเทิง (สำนักพิมพ์แสงดาว 2551) เอนก นาวิกมูล เขียนเรื่อง ฃ.ขวด และ ฅ.คน ไว้ว่า เมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีคนรื้อฟื้นเอาตัว ฅ หัวหยักที่สูญหายไปนาน มาเขียนคำว่า คน ที่หมายถึงมนุษย์
 
คำว่า “คน” นั้น เอนกบอกว่า เรากำลังจะหลงทาง ไปหาหนังสือโบราณมาดู ไม่มีเรื่องไหน เขียน “ฅน” เลย เขียนว่า “คน” มาโดยตลอด แล้วตัว ฅ หัวหยักเล่า ท่านใช้เขียนคำไหน
 
ตอบว่า ได้แก่คำว่า “ลำฅอ” ซึ่งเดี๋ยวนี้เราเขียนเป็น “ลำคอ” ถ้าอยากรื้อฟื้น ฅ หัวหยักจริงๆ ก็ต้องหันไปเน้นที่ “ลำฅอ” ไม่ใช่มาเน้นที่ “ฅน”
 
เหตุผลการตัด ฃ กับ ฅ ทิ้งไป นั่นไม่ใช่เพราะไม่มีศัพท์สำหรับ ฃ ฅ แต่เพราะคำมันน้อยไป
 
เมื่อหมอแมคฟาร์แลนด์ ปรับปรุงพิมพ์ดีดภาษาไทย เห็นว่าไม่จำเป็น จึงได้ตัด ฃ กับ ฅ ออกเสีย
 
ตั้งแต่นั้น ฃ กับ ฅ ก็หมดทางทำกิน
 
เด็กๆ รวมทั้งตัวคุณเอนก ก็เกิดความงุนงงมานาน เวลาท่อง ก ถึง ฮ แต่พอถึง ฃ ก็พิมพ์ตัวอย่างการใช้ว่าได้แก่ ขวด ซึ่งหัวไม่เห็นหยัก พอถึง ฅ ทำไมจึงได้แก่ คน ซึ่งหัวก็ไม่เห็นหยักอีก
 
เล่าโดยย่อแล้วคุณเอนก ก็อธิบายขยายความ
 
สมัยหนึ่งคุณเอนก เขียนเรื่องคำกำกับ ก.ไก่ถึง ฮ. นกฮูก ลง “ไทยรัฐ” แล้วก็เอามารวมพิมพ์เป็นหนังสือ ชื่อ แกะรอย ก.ไก่ สำนักพิมพ์สารคดี การเขียนเรื่องนี้ ทำให้ได้ทราบว่า ฃ กับ ฅ นั้นเคยใช้เขียนอะไรบ้าง
 
ที่แน่ๆ ฃ ใช้เขียนคำ ฃอ อย่างฃอสับฃอของควาญช้าง ด้วยเหตุนี้โบราณท่านจึงกำกับ ฃ ไว้ด้วยคำว่า...อังกุษ ซึ่งแปลว่า ฃอสับ
 
ฅ ใช้เขียน ลำฅอ ด้วยเหตุนี้โบราณท่านจึงกำกับ ฅ ด้วยคำว่า กัณฐา ซึ่งแปลว่า ลำฅอ
 
การรื้อฟื้น ฃ นั้นไม่ค่อยมีใครใส่ใจ เพราะไม่เกี่ยวกับคน จะเขียน ฃ ขอ หรือ ฃวดดูลักลั่นก็ช่างมัน แกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เสีย ก็หมดเรื่อง
 
แต่ ฅ มีปัญหามาก แต่ก่อนคำว่า คนที่หมายถึงมนุษย์ เราไม่เขียนว่าฅน เลย
 
ถามว่า เราเริ่มสับสน เขียน คนมนุษย์โดยใช้ ฅ หัวหยักมาตั้งแต่เมื่อใด ตอบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2473 เริ่มจากครูย้วน ทันนิเทศ ท่านแต่งกลอน ก.ไก่ พิมพ์ขายในชื่อ แบบเรียนไว
 
ครูย้วน เผลอหรืออย่างไรไม่ทราบ เขียนว่า
 
ก.เอ๋ย ก ไก่ ขอ ไข่มาหา ฃ ฃวด น้องชาย ค ควาย เข้านา ฅ ฅนโสภา เดินหน้า ฆระฆัง
 
นี่เป็นกลอนกำกับ ก ไก่ ชุดแรกของไทย หนังสือแบบเรียนไว ของครูย้วนพิมพ์หลายครั้ง เด็กรุ่น พ.ศ.2470-2480 ท่องกันเกร่อ จำ ฅ ฅนโสภา มาตั้งแต่บัดนั้น
 
ครูย้วน ลืมไปว่า ฅ เคยใช้กับ ลำฅอ ถ้าท่านเขียนว่า ฅ โสภา หรือ ฅ กัณฐา ก็ไม่มีปัญหา
 
พอเผลอใช้ ฅ ฅนเข้าเป็นคนแรก ก็ได้เรื่อง ทั้งเด็กทั้งครูรวมทั้งนักแต่งกลอน ก.ไก่ ฉบับหลังๆ พากันท่องตามไปหมด ทีแรก ก็ ฅ ฅน ต่อมาก็กลายเป็น ฅ คน ข้างหน้าหัวหยัก ข้างหลังหัวไม่หยัก แบบหัวมังกุท้ายมังกร
 
ไม่มีใครสงสัยเลย ไฉนเล่นกำกับลักลั่นอย่างนั้น
 
พลิกดูแบบเรียน ก.ไก่ หลัง พ.ศ.2472 ทั้งครูทั้งเด็กคงพากันงง ไม่รู้จะหาคำเฉลยได้อย่างไร เพราะสังคมไทยสอนให้เชื่อตามๆ กัน คัดลอก ตามๆ กัน ถึงสงสัยอย่างไร ก็ไม่มีเวลาพิสูจน์กัน
 
กระทรวงศึกษา ก็ดูกระไร ปล่อยให้สงสัยอยู่อย่างนั้น
 
ราชบัณฑิตยสถาน ก็ดูกระไร แม้ในพจนานุกรมฉบับใหม่ ที่ว่าชำระแล้ว ท่านก็ไม่ตั้งข้อสังเกตไว้ให้เลยว่า ฃ เคยใช้เขียนอะไร ฅ เคยใช้เขียนอะไร
 
ท่านบอกแต่เพียงว่า ฃ พยัญชนะตัวที่ 3 เป็นพวกอักษรสูง ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
 
ฅ พยัญชนะตัวที่ 4 นับเป็นพวกอักษรต่ำ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
 
“เวรกรรมจริงๆ”  เอนกบ่น ถ้าอย่างนั้นคนโบราณเขาประดิษฐ์ ฃ กับ ฅ ขึ้นมาให้รกสายตา ทำไม
 
นักวิชาการชื่อ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ เคยสอนธรรมศาสตร์ เขียนเรื่อง ฃ คิดเรื่อง ฅ ลงวารสารเมืองโบราณ ฉบับเดือน ก.ค.ควบ ก.ย. พ.ศ.2541 โดยตั้งคำถาม ฃ กับ ฅ หายไปไหน
 
คุณสุดแดน อ่านงานเขียนของ ศ.ดร.สุริยา รัตนกุล พิมพ์เมื่อปี 2537 ศ.ดร.สุริยา ค้นพบ
 
ว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 เคยใช้ ฃ-ฅ โดยไม่ปนกับ ข-ค เลย
 
คำที่เคยใช้ ได้แก่ ฃุน พบถึง 21 แห่งไม่เผลอเขียนเป็น ฃุนแม้แต่ตัวเดียว
 
ศิลาจารึกวัดศรีชุม จารึกหลังหลักที่ 1 มีคำว่า ฅอ ฅ้อน ฅาบ (ที่หมายถึงครั้ง) แฅว ฃีน (หมายถึงกลางคืน)
 
ได้พื้นฐานความรู้จาก ศ.ดร.สุริยา แล้ว คราวนี้คุณสุดแดนก็ค้นเองจนพบว่า
 
ในกฎหมายตราสามดวง ที่ชำระในสมัย ร. 1 มีคำว่า ฃอกล่าว ฃอเชิญ ฃอเดชะ ฃอถวาย ฃอทาน ฃอโทษ ฃ้อมือ ฃ้อใหญ่ใจความ ฃันหมาก ฃาดแคลน...ทั้งยังมีคำว่า ฅรบฅอ (ลำฅอ) และคำว่า ฅา (ขื่อฅา)
 
ส่วนคำว่า คน นั้น ท่านใช้ ค.หัวธรรมดาทั้งสิ้น เช่น คนกระยาจก คนกลาง คนไข้คนดี คนเดินทาง คนเดียว
 
หรือแม้แต่คำว่า ฃายคน.
  • 29 ธ.ค. 2556 เวลา 09:50 น.
  • 10,315

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ฃ.ฃวด ฅ.ฅน หายไปไหน?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^