LASTEST NEWS

30 พ.ย. 2567สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 รับสมัครพนักงานราชการครู และพนักงานราชการพี่เลี้ยง ทั้งหมด 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-13 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2567 29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568

ผลประเมินระดับนานาชาติเด็กไทยยังน่าห่วง

  • 05 ธ.ค. 2556 เวลา 07:33 น.
  • 1,730
ผลประเมินระดับนานาชาติเด็กไทยยังน่าห่วง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ผลประเมินระดับนานาชาติเด็กไทยยังน่าห่วง
 
ค่าคะแนนเฉลี่ยที่เข้ารับการประเมิน 3 ด้าน คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ ยังไม่น่าพอใจถึงแม้จะกระเตื้องจากการประเมินครั้งที่ผ่านมา ยกเว้นกลุ่มรร.จุฬาภรณ์ฯและกลุ่มรร.สาธิตที่ทำคะแนนได้สูงเกาะกลุ่มประเทศที่มีคะแนนสูงสุด
 
เมื่อวันที่ 4 พ.ย. ที่โรงแรมเอส 31กรุงเทพฯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) และ กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้จัดการแถลงผลโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ประจำปี 2012โดยนางสุนีย์ คล้ายนิล ผู้จัดการโครงการประเมินผล PISAระดับชาติปี 2012 เปิดเผยว่า การเข้ารับการประเมิน PISA ครั้งนี้ มีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปีของไทยเข้ารับการประเมินด้านคณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ จำนวน 6,606 คนจาก 239 โรงเรียนในทุกสังกัด ผลการประเมินพบว่า 1.ด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนไทยมี คะแนนเฉลี่ย 427 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ที่มีคะแนนเฉลี่ย 419 คะแนน แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)ที่ได้ 494 คะแนน โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จากประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน 65 ประเทศ สำหรับประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ เซี่ยงไฮ้-จีน 613 คะแนน รองลงมาสิงคโปร์ 573 คะแนน ฮ่องกง 561 คะแนน จีนไทเป 560 คะแนน เกาหลีใต้ 554 คะแนน มาเก๊า 538 คะแนน ญี่ปุ่น 536 คะแนน ลิกเตนสไตล์ 535 คะแนน สวิตเซอร์แลนด์ 531 คะแนน และเนเธอแลนด์ 523 คะแนนตามลำดับ ส่วนเวียดนามที่เข้ารับการประเมินเป็นปีแรกมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD และเมื่อวิเคราะห์คะแนนของนักเรียนไทยพบว่า ประมาณร้อยละ 50มีความรู้คณิตศาสตร์ไม่ถึงระดับพื้นฐาน โดยเฉพาะนักเรียนสายอาชีวศึกษา
 
2.ด้านวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 444 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ที่มีคะแนนเฉลี่ย 425 คะแนน แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 501 คะแนน โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 47 ส่วนเซี่ยงไฮ้-จีน ได้คะแนนสูงสุด 580 คะแนน รองลงมาสิงคโปร์ 551 คะแนน ญี่ปุ่น 547 คะแนน ฟินแลนด์ 545 คะแนน เอสโตเนีย 541 คะแนน เวียดนาม 528 คะแนน โปแลนด์ 526 คะแนนและแคนาดา ลิกเตนสไตน์ 525 คะแนน เมื่อวิเคราะห์ความรู้ของนักเรียนไทยจากคะแนนที่ได้พบว่าเด็กมีความรู้วิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐานประมาณร้อยละ 34ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีเพราะนักเรียนกลุ่มนี้มีสัดส่วนลดลงจากการประเมินครั้งที่ผ่านมาถึงร้อยละ 9
 
3.ด้านการอ่านคะแนนเฉลี่ย 441 คะแนนเพิ่มขึ้นจากปี 2009 ที่มีคะแนนเฉลี่ย 420 คะแนนแต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD ที่ 496 คะแนน โดยไทยอยู่อันดับที่ 48 เซี่ยงไฮ้-จีน ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด 570 คะแนน รองลงมาฮ่องกง 545 คะแนน สิงคโปร์ 542 คะแนน ญี่ปุ่น 538 คะแนน เกาหลี 536 คะแนน ฟินแลนด์ 524 คะแนน ไอร์แลนด์ 523 คะแนน จีนไทเป 523 คะแนน แคนนาดา 523 คะแนน และโปแลนด์ 518 คะแนน และเมื่อวิเคราะห์จากคะแนนจะเห็นว่า นักเรียนไทยกลุ่มที่มีการอ่านต่ำกว่าระดับพื้นฐานมีมากถึงร้อยละ 33มากกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ แต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีเช่นกันเพราะมีสัดส่วนลดลงร้อยละ6 จากการประเมินครั้งที่ผ่านมา
 
"เมื่อดูผลการประเมินทั้งสามด้านของนักเรียนไทยแยกตามกลุ่มโรงเรียนจะพบว่า นักเรียนจากกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย และกลุ่มโรงเรียนสาธิตจะมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD และมีคะแนนเท่ากับกลุ่ม 10 ประเทศที่มีคะแนนสูงสุด เช่น ด้านวิทยาศาสตร์กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณฯ มีคะแนน 565 คะแนน กลุ่มโรงเรียนสาธิต 533 คะแนน ส่วนกลุ่มโรงเรียนอื่น ๆ ทั้งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) โรงเรียนเอกชน โรงเรียนเทศบาล โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน จะมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD ทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนจะมีคะแนนเฉลี่ยต่ำมาก"ผู้จัดการโครงการฯกล่าว
 
ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ผลการประเมินที่ออกมายังไม่ใช่จุดด้อยหรือจุดอ่อนแต่ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับผลคะแนนของประเทศไทยในการประเมินครั้งต่อไปปี 2558 และผลที่ออกมาก็สอดคล้องกับนโยบายของตนที่ต้องการให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์เป็นอีกด้วย โดยตนหวังว่าผลการประเมินนี้จะทำให้เกิดข้อค้นพบในการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยทั้งระบบ โดยศธ.ต้องไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำผลการประเมินครั้งนี้ไปคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศทั้งระบบ
 
 
  • 05 ธ.ค. 2556 เวลา 07:33 น.
  • 1,730

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ผลประเมินระดับนานาชาติเด็กไทยยังน่าห่วง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^