LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

อย่ามุ่งแต่สู่สากลจนลืมเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้

  • 26 พ.ย. 2556 เวลา 10:47 น.
  • 2,558
อย่ามุ่งแต่สู่สากลจนลืมเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อย่ามุ่งแต่สู่สากลจนลืมเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้
 
ในช่วงนี้การดำเนินการสำคัญหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการก็คือ “นโยบายเร่งรัดคุณภาพผู้เรียนสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย” โดยมีการวางยุทธศาสตร์ ทั้งเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย และเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการพิซ่า (PISA) การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ การพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ ซึ่งเป้าหมายหลักก็คงจะเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่ตกต่ำทั้งที่เห็นจากผลการประเมินของเราเองและถูกต่างชาติจัดลำดับ
 
จากเป้าหมายที่ว่านี้แม้จะมีความสำคัญที่ต้องแก้ไขก็จริง แต่ก็ไม่อยากให้วิ่งเร็วจนลืมเด็กระดับรากหญ้าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่อาจวิ่งตามไม่ทัน เดี๋ยวปัญหาใหม่จะเพิ่มพูนเข้ามาอีก เพราะแค่ปัญหาเดิมก็สาหัสอยู่แล้ว การพัฒนาเด็กจึงต้องดูว่านโยบายที่กำหนดขึ้นทั้งหมดนี้จะสามารถส่งผลให้เด็กกลุ่มที่ว่านี้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างแท้จริงหรือไม่ หรือแก้จุดอ่อนที่เด็กไทยประสบอยู่ไม่ว่าจะเป็นการขาดทักษะชีวิต ขาดทักษะวิชาชีพรวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรกำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวินัย ความสามัคคี จิตสำนึกความเป็นคนไทยอันดีงาม ที่ปัจจุบันได้เริ่มหดหายไปแถมทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามจนทำให้ชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของประเทศเริ่มตกต่ำในสายตาของชาวต่างชาติ เพราะขณะนี้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีวัยรุ่นบางประเทศได้ล้อเลียนกันโดยใช้คำว่า
 
“Don’t Thai To Me” (อย่ามาทำเป็นไทยกับผม) ฟังแล้ววิญญาณปู่ ย่า ตา ยาย ที่เคยทำให้คนต่างชาติเขาเห็นคุณค่าความเป็นไทยว่าเป็น “สยามเมืองยิ้ม” (Thailand, Land of Smile) คงไม่รู้จะหาคำใดมาด่าดีถึงจะสาสมกับชื่อเสียงที่เสียไปนี้ เมื่อภาพลบจากปัจจัยภายนอกสารพัดรูปแบบที่จะนำพาเยาวชนของชาติให้ถลำลึกไปสู่สิ่งเลวร้ายก็คงมีแต่การศึกษาเท่านั้นที่จะช่วยฉุดดึงให้เขาเหล่านั้นกลับมาสู่เส้นทางของคุณภาพชีวิตที่ดีมีคุณภาพได้
 
แต่เมื่อกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่านโยบายในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวมีความจำเป็นจะต้องทำเร่งด่วนดำเนินการก่อนก็คงมีเหตุผลอยู่ในตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ไปแล้วก็อยากจะขอร่วมเสนอความเห็นในบางเรื่องที่คิดว่าน่าจะเกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพในภาพรวม คือ เรื่องการอ่านรู้เรื่อง อ่านสื่อสารได้ โดยเฉพาะปัญหาการอ่านไม่ได้ อ่านไม่คล่อง ที่จะขอยกประเด็นนี้มาชูว่ามีความสำคัญยิ่งก็เพราะไม่อยากเห็นเด็กไทยอ่านภาษาประจำชาติของตนเองไม่ได้หรืออ่านไม่คล่อง เพราะนอกจากจะไม่ช่วยสืบทอดเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทยแล้วยังจะส่งผลต่อการเรียนรู้สาระอื่นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองไปด้วย
 
ปัญหาเด็กไทยที่ยังอ่านไม่ได้นั้นแม้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำรวจแล้วพบว่าเด็ก ป.3 อ่านไม่ได้ 28,117 คน หรือ ป.6 อ่านไม่ได้แค่ 9,012 คน ก็ตาม แต่หากได้รวมกับเด็ก ป.1–ป.2 ป.4-ป.5 และเด็กที่ตกสำรวจด้วยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เด็กที่พูดภาษาถิ่นมาแต่กำเนิด เด็กออกกลางคัน เด็กเร่รอนเข้าไปด้วยจำนวนคงเกินหลักแสนเป็นแน่ ยิ่งหากรวมเด็กอ่านไม่คล่องด้วยแล้วจำนวนก็คงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ปัญหานี้จึงต้องแก้ไขเร่งด่วน มิฉะนั้นแล้ววงจรนี้จะคงอยู่แบบซ้ำซากตลอดไป ด้วยเด็กต้องเข้าสู่ระบบอยู่ทุกปีนั่นเอง ซึ่งเรื่องที่ว่านี้ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ เพียงแต่ขอให้ทุกฝ่ายรู้ถึงต้นตอของปัญหาและมีวิธีการพัฒนาอย่างถูกวิธี ในที่นี้จึงไม่ขอนำปัญหากลับมาพูดกันอีกเพราะทุกฝ่ายก็น่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว จึงจะขอเสนอแต่แนวคิดวิธีการแก้ปัญหาที่ทุกภาคส่วนน่าจะลองนำไปพิจารณาดำเนินการดู
 
ระดับหน่วยเหนือคงต้องช่วยเหลือฝ่ายรับนโยบายไปดำเนินการทั้งปัญหาครูขาดแคลนไม่พอสอนครบชั้น มิฉะนั้นแล้วการรวมชั้นสอนเด็กต่างระดับของโรงเรียนขนาดเล็กอีกจำนวนมากก็จะยังมีอยู่ ควรลดหรือเลิกภาระงานอื่นลงเพื่อให้ครูมีเวลาสอนและอยู่กับเด็กมากขึ้น ด้านหลักสูตรก็ควรลดกลุ่มสาระที่จะให้เด็กชั้น ป.1-ป.3 เรียนลงเพราะไม่มีประเทศไหนในโลกที่เด็กที่เริ่มต้นเข้าเรียนต้องเรียนมากมายเช่นนี้ ควรปรับวิธีการวัดผลให้ใช้ข้อสอบอัตนัยมากขึ้น ควรมีระบบตกซ้ำชั้น ในระดับ ป.3 หากยังอ่านไม่ได้ ควรมีคู่มือเทคนิควิธีการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ได้ตามบริบทของปัญหาเพื่อให้ครูมีแนวทางไปปรับประยุกต์ใช้ รวมถึงมีมาตรการให้คุณลงโทษกับผู้บริหารกับผลการแก้ปัญหาและพัฒนาที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องขั้นเงินเดือน โบนัส หรือการโยกย้าย เป็นต้น
 
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ที่สามารถเชื่อมโยงกับภาคปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรมีคณะกรรมการรับผิดชอบกับการแก้ปัญหาโดยตรงเพื่อนิเทศ ติดตาม กำกับ ช่วยเหลือ การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อร่วมพัฒนา เป็นต้น
 
ระดับโรงเรียน จะต้องมีแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาและพัฒนาที่เป็นระบบและต่อเนื่อง ครูทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับการอ่านไม่ได้ของเด็กโดยบูรณาการสอนการอ่านในทุกชั่วโมง จะต้องมีสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันสามารถนำไปใช้กับการหาแนวทางแก้ปัญหาได้ มีเครือข่ายทั้งในและต่างเขตพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนา หากโรงเรียนมีครูจำนวนเพียงพอก็ควรให้ครูสอนประจำชั้น ป.1 เพราะจะทำให้รู้ปัญหาเด็กและแก้ไขได้ตลอดเวลา ด้านผู้บริหารโรงเรียนจะต้องนิเทศ ติดตาม กำกับ การแก้ปัญหาของครูอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้กับครูทั้งทางตรงและทางอ้อม
 
ส่วนครูผู้สอน ต้องคิดหาเทคนิค วิธีการ ที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กเป็นรายบุคคล ซึ่งการที่จะทำเช่นนี้ได้ ครูจะต้องวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล พร้อมจัดทำแฟ้มประจำตัวเด็กอ่านไม่ได้ อ่านไม่คล่องเป็นรายบุคคล ที่ระบุรายละเอียด ที่มาของปัญหา วิธีการพัฒนา ผลการพัฒนาและสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไป ซึ่งแฟ้มที่ว่านี้ครูทุกคนต้องทราบและมีระบบส่งต่อเมื่อเด็กขึ้นชั้นใหม่เพื่อจะได้รู้และแก้ปัญหาต่อได้ถูกต้อง ครูควรหาวิธีการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทที่เกิดขึ้น อาทิ ร่วมมือกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นล่ามกรณีเด็กพูดภาษาไทยไม่ได้ จัดกิจกรรมที่เด็กสนใจ อาทิ พี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน การใช้เพลง กลอน อาขยาน เข้ามาช่วยเสริม มีการจัดสอนซ่อมเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่วนผู้ปกครอง ก็ต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบ ด้วยการเอาใจใส่ช่วยสอนอ่านเพิ่มเติม ให้กับบุตรหลานหรือร่วมอ่านหนังสือที่เด็กสนใจ ประสานกับครูเพื่อให้การแก้ไข ถูกต้องและต่อเนื่อง เป็นต้น
 
วิธีการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ได้ อ่านไม่คล่องทั้งหลายที่นำมายกตัวอย่างครั้งนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เพราะอาจมัวคิดว่าเด็กที่อ่านไม่ได้ อ่านไม่คล่องเป็นปัญหาเล็กน้อย เกิดกับเด็กไม่กี่เปอร์เซ็นต์ หากคิดเช่นนี้แล้วอันตรายทั้งตัวเด็กเอง สังคม ประเทศชาติ ที่จะมาให้แก้ไขจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้อีกบานตะเกียงเป็นแน่.
 
กลิ่น สระทองเนียม
 
  • 26 พ.ย. 2556 เวลา 10:47 น.
  • 2,558

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : อย่ามุ่งแต่สู่สากลจนลืมเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^