LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

'ครูชายขอบ'ในชายคาศธ.ที่ถูกลืม

  • 11 พ.ย. 2556 เวลา 01:12 น.
  • 2,923
'ครูชายขอบ'ในชายคาศธ.ที่ถูกลืม

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

'ครูชายขอบ'ในชายคาศธ.ที่ถูกลืม
'ครูชายขอบ' ในชายคาศธ.ที่ถูกลืม : ชยานนท์ ปราณีต ... รายงาน
 
                         การเคลื่อนไหวของกลุ่มข้าราชการ "บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2)" ซึ่งเรียกตนเองว่า กลุ่มข้าราชการที่โลกลืม หรือกลุ่มข้าราชการชายขอบในชายคาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อเรียกร้องวิทยฐานะ และการขอเป็นวิชาชีพทางการศึกษาที่ได้รับการควบคุมจากองค์กรวิชาชีพ เฉกเช่นเดียวกับ บุคลากร 38 ค (1) คือ "ศึกษานิเทศก์"  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขตทั่วประเทศเช่นเดียวกัน ทำให้ข้าราชการทางการศึกษากว่า 1,600 คน มารวมตัวกันที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 เพื่อเรียกร้องให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แห่งพรรคเพื่อไทย ช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบข้าราชการครู แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
                         นายชาญ คำภิระแปง ประธานสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา กล่าวว่า เหตุผลของการเรียกร้องคือ การแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.มาตรา 38 ค (2) ที่ปรากฏอยู่ใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ซึ่งมิได้มีปรากฏชื่อเฉพาะเหมือน “ครู” “ผู้อำนวยการ” “ศึกษานิเทศก์” ซึ่งหากอธิบายลักษณะงานเป็นเครื่องเคียงคู่ขนานทำนองว่า "ครู ทำหน้าที่สอน" “ศึกษานิเทศก์ ทำหน้าที่พี่เลี้ยงครู” ก็ต้องตอบและสื่อให้ชัดๆ ว่า กลุ่มข้าราชการที่บัญญัติไว้อย่างกว้างๆ ในกลุ่มก้อน "บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2)” ซึ่งมีทั้งหมดทั่วประเทศ จำนวน 15,000 คน ทำหน้าที่อะไร? มีกรอบภารกิจที่สำคัญกับนักเรียนและพลวัตการจัดการศึกษาของประเทศไทยมากน้อยเพียงใด ?
                         “ภารกิจ” จึงเป็นคำตอบและคำอธิบายต่อสาธารณชนและผู้คนในแวดวงการศึกษาว่า กลุ่มก้อนข้าราชการอีกกลุ่มหนึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษานอกเหนือจาก "ศึกษานิเทศก์" แล้ว ยังมีกลุ่มก้อนข้าราชการประเภทอื่นๆ ที่ต้องทำหน้าที่พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ-ประสิทธิภาพ-ศักยภาพอยู่ด้วย ที่ต้องบอกว่าเป็นกลุ่มก้อนข้าราชการอื่นๆ ก็เพราะว่า วิถีชีวิตและลมหายใจในบริบทของความเป็นข้าราชการที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของข้าราชการกลุ่มนี้ มีภารกิจ "วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลผล บริหารจัดการ ประเมินผล ประสานแผน พัฒนา บริหารจัดการทั้งในเชิงวิชาการและบริหารจัดการผ่านองค์คณะบุคคล" โดยมีกระบวนการประเมินกลยุทธ์ จุดเน้นมาตรฐานคำรับรอง Public Sector Management Quality Award (PMQA) หรือ คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นเสมือนหน่วย "ผ่องถ่ายนโยบาย" จากส่วนกลางสู่โรงเรียน ครู นักเรียนและภาคีเครือข่ายจัดการศึกษา 
                         นายบุญช่วย พันธุ์งาม เลขาธิการสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา กล่าวว่า พลังของบุคลากรทางการศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงมิใช่เพียงการพิจารณารูปธรรมลักษณะแห่งภารกิจประจำวันเทียบเคียงกับลักษณะรูปธรรมของหน่วยผลิตและพัฒนาอื่นใด หากแต่การวางสารบบระนาบแห่งการพัฒนาการศึกษาชาติ ในบริบทและศักยภาพของหน่วยปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ล้วนแล้วแต่เป็นภารกิจเกี่ยวเนื่อง ในฐานะหน่วยบริหารจัดการและรองรับโยบายกับการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาไทยที่มีปรัชญาและกระบวนทัศน์ในเนื้อหาสาระและเป้าประสงค์ เดียวกันอย่างแยกกันไม่ออก
                         การพัฒนาและยกระดับวิชาชีพของกลุ่มข้าราชการ "บุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 38 ค (2)" ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต พื้นที่ทั่วประเทศ นอกเหนือจากการนำกรอบแห่ง "กฎหมาย-ภารกิจและวิสัยทัศน์พัฒนาการศึกษาไทยสู่เวทีโลก" มาเป็นต้นทุนพื้นฐานประกอบการพิจารณาแล้ว ดัชนีชี้วัดแห่งผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการที่ดูเหมือนจะถูกสังคมไทยวิพากษ์ และตั้งคำถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงภาวะ "ได้ไม่คุ้มทุน" มาแล้วหลายยุคหลายสมัยต่อ "ภาพลักษณ์และภาพรวม" ของผลการจัดการศึกษาชาติ ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งเควชั่นมาร์ค? ที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการต้องนำมา พิจารณาทบทวนในมิติและแง่มุม "ปริมาณ" กับ "คุณภาพ" ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งกระบวนทัศน์พัฒนาการศึกษาในเชิงบวกต่อองค์กรและหน่วยงาน การบริหารจัดการศึกษาที่ถูกละเลยและขาดการศึกษาลงลึกในรายละเอียดของ "พลังและคุณภาพ" กับผลพวงจากการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการกับชะตากรรมของข้าราชการกลุ่ม "บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (2)"
                         มีความเป็นไปได้สูง ที่สาเหตุหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาไทยไม่สำเร็จ เพราะกระทรวงศึกษาธิการละเลย ไม่ให้ความสนใจเอาใจใส่กลุ่มนักพัฒนาการทางการศึกษา 38 ค (2) ในเรื่องความก้าวหน้าทางวิชาชีพที่ได้รับการควบคุม และวิทยฐานะ
 
 
  • 11 พ.ย. 2556 เวลา 01:12 น.
  • 2,923

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : 'ครูชายขอบ'ในชายคาศธ.ที่ถูกลืม

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^