ถึงเวลาที่รัฐต้อง...ลงทุนผลิตครู...อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
3. สภาพการบริหารงานของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยภาพรวม อธิการบดี คณบดี จะต้องรับผิดชอบหางบประมาณมาให้เพียงพอต่อการบริหารงาน นับตั้งแต่เงินเดือนอาจารย์ที่ต้องจ้างเพิ่มเอง งบฯเพื่อขึ้นเงินเดือน งบฯ เพื่อการพัฒนาคณาจารย์และนิสิต งบฯเพื่อการดูแลอาคารสถานที่ ยานพาหนะ และอื่น ๆ อีกจิปาถะ ทั้งที่ทุกวันนี้รัฐสนับสนุนงบฯ ก้อนโตที่สุดก็เฉพาะงบฯ เงินเดือน การลงทุนสร้างอาคาร (นาน ๆ จะได้รับ) ส่วนงบฯ ดำเนินการผู้บริหารต้องหามาเอง เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้ ก็ต้องเห็นใจมหาวิทยาลัยขนาดเล็กที่ชื่อเสียงยังสู้มหาวิทยาลัยเก่า ๆ ไม่ได้ เมื่อมีนักเรียนมาสมัครมาก ๆ ก็ต้องรับไว้ก่อน ก็เพื่อความอยู่รอดของมหาวิทยาลัย จึงเป็นที่มาของ “ธุรกิจการศึกษา” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากใครจะบอกว่า ถ้านักเรียนไม่มีคุณภาพก็ไม่ต้องรับ หรือรับน้อย ๆ ถามว่า “ค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเงินเดือนคณาจารย์ ใครจะรับผิดชอบจ่ายแทน ไม่เหมือนสมัยก่อนรับนิสิตนักศึกษามาสอน 5 คนก็อยู่ได้ เพราะรัฐรับผิดชอบทุกอย่าง การคัดเลือกก็เข้มข้น เอาคุณภาพได้ เพราะไม่ต้องคำนึงถึงต้นทุนจนหย่อนคุณภาพผู้เขียนได้เดินทางไปร่วมประชุมบอร์ดบริหารของ SEAMEO RIHED ครั้งที่ 21 ที่ National Institute of Education (NIE) ของสิงคโปร์ ในฐานะต้องไปนำเสนอ Country Report เรื่อง ครุศึกษาของประเทศไทย วันที่ 26-29 ก.ย. 2556 และได้มีโอกาสพูดคุยกับศาสตราจารย์ Oon-Seng TAN คณบดีของ NIE และ Mr.Ng CherPong ผู้ช่วยปลัดกระทรวงด้านนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ สิงคโปร์ เกี่ยวกับปัญหาระบบการผลิตครู ทำให้ทราบว่า สิงคโปร์ถือว่าการผลิตครูเป็นภารกิจของรัฐที่ต้องลงทุน ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบงบประมาณ 100% และลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้กับ NIE เป็นการเฉพาะด้วย รวมถึงมีการลงทุนสร้างห้องเรียนต้นแบบในอนาคตที่ทันสมัยอย่างเต็มที่