LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

  • 13 ต.ค. 2556 เวลา 22:56 น.
  • 3,285
ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

ครูนาฏศิลป์รวมตัวยื่นหนังสือชี้แจง รมว.ศธ.ปลายเดือนนี้ เตือนเด็กไทยรู้จักแต่วัฒนธรรมเกาหลี-ญี่ปุ่น

      ผศ.ดร.รวิวรรณ วรรณวิไชย คณบดีคณะศิปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผย ภายหลังการจัดเสวนาระดมความคิดเรื่อง ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่... เหตุใดการศึกษาไทย จึงไร้รายวิชานาฏศิลป์ ว่า ในการเสวนาได้เชิญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาชี้แจงว่าเพราะเหตุใด ร่างหลักสูตรเฉพาะดังกล่าวถึงไม่มีวิชานาฏศิลป์ ได้รับการชี้แจงว่า จากปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ โดยส่วนหนึ่งพิจารณาจากคะแนนโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA) เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งเด็กไทยมีความสามารถด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ในอันดับ 50 จาก 65 ประเทศทั่วโลก  

     ทาง สพฐ.จึงมีความพยายามที่จะยกระดับให้เด็กไทยมีคะแนนใน 3 ด้านดีขึ้น เพื่อให้การศึกษาไทยพัฒนาขึ้นสู่อันดับที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยแต่เดิมมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ สพฐ.กำหนดให้เด็กไทยเรียนมี 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังนี้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาซีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ

     โดยในร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่ ลดเหลือ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ ภาษาและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ การดำรงชีวิตและโลกของงาน ทักษะสื่อสารและการสื่อสาร สังคมและความเป็นมนุษย์ และอาเซียนภูมิภาคและโลก โดยระบุว่า วิชานาฏศิลป์ จัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มสังคมและความเป็นมนุษย์เหมือนวิชาศิลปะ แต่เมื่อดูในเนื้อหาหลักสูตรพบว่า ไม่มีวิชานาฏศิลป์ กลุ่มอาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์ จากจุฬาฯ มศว และวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศ จึงรวมกลุ่มกันและ ขอตั้งคำถามกับ สพฐ. ว่าเด็กอ่อนการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์  ทำไมจึงไม่ไปแก้ปัญหาให้ถูกจุด และมันไปเกี่ยวข้องอะไรกับการตัดรายวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรพื้นฐาน ซึ่งมีพื้นที่ตารางสอนในโรงเรียนเพียงแค่ 0.5 หน่วยกิตเท่านั้น

     "วิชานาฏศิลป์ ถือเป็นวิชาที่รักษาวัฒนธรรมของประเทศ ไม่มีประเทศไทยที่เจริญเขาตัดรายวิชานาฏศิลป์ของชาติออกไปเหมือนเช่นประเทศไทย อย่างประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี วิชานาฏศิลป์เสริมสร้างให้ประเทศเขาเข้มแข็ง และสร้างความเสมอภาคขึ้นในสังคมผ่านนาฏศิลป์และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เขาทำให้เยาชนเข้าใจรากเหง้าของตัวเอง ก่อนจะเติบโตไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ที่มีความทันสมัยต่อไป มีแต่ประเทศไทยที่ตัดวิชานาฏศิลป์ทิ้ง คนร่างหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้มากแค่ไหน อีกทั้งในแต่ละสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยนาฏศิลป์ก็ยังมีผู้สืบทอดงานด้านนาฏศิลป์อีกเป็นหมื่นๆ ชีวิต แล้วเขาจะทำอย่างไร การรักษาวิชานาฏศิลป์ให้คงอยู่ถือเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเทศชาติ และผู้สืบทอดงานด้านนาฏศิลป์ก็เปรียบเสมือนทหารด้านวัฒนธรรม

     ตอนนี้กลุ่มคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาด้านศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนาฏศิลป์ รวมตัวกันยื่นหนังสือและขอเข้าพบ รมว.ศึกษาธิการ ปลายเดือน ต.ค.56 นี้ เพื่อให้ข้อมูลและอธิบายความสำคัญของการเรียนวิชานาฏศิลป์ในโรงเรียน ให้ท่านทราบ ทั้งนี้อยากถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเมื่อตัดวิชานาฏศิลป์ออกไปแล้ว ผลคะแนน PISA ของเด็กไทยจะสูงขึ้น และถ้าวันหนึ่งผลคะแนน PISA  ของประเทศไทยสูงเยี่ยมติดอันดับ 1 แต่ประเทศไร้วัฒนธรรมประจำชาติ เราจะภาคภูมิใจกันไหม" ผศ.ดร.รวิวรรณ กล่าว  

     ด้าน ด.ญ.เจนจิรา กิ่งโคกกรวด นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านทุ่งคาโตนด จ.ชุมพร กล่าวว่า ทุกวันนี้ตัวเองเรียนวิชานาฏศิลป์ สัปดาห์ละ 2 วัน และใช้เวลาพักกลางวันไปฝึกซ้อมนาฏศิลป์ไทยทุกวัน ทำให้ได้เป็นตัวแทนรำในงานต่างๆ ตลอดถึงเข้าร่วมการแข่งขันประกวดนาฏศิลป์ในระดับจังหวัดด้วย ซึ่งการเรียนนาฏศิลป์ทำให้เราเห็นความงดงามของท่วงท่ารำ ความอ้อนช้อย ทำให้เห็นความงดงามของวัฒนธรรมไทยผ่านงานด้านนาฏศิลป์ หาก สพฐ.จะตัดวิชาออกจากหลักสูตรก็น่าเสียดายที่ไม่เข้าใจ

     "หากไม่มีวิชานาฏศิลป์ ยิ่งทำให้เยาวชนไทยห่างจากวัฒนธรรมของชาติมากขึ้นๆ และเยาวชนไทยก็จะรู้จักแต่วัฒนธรรมเกาหลี ญี่ปุ่น สุดท้ายความเป็นชาติไทยก็จะค่อยๆ หมดไป ความรัก หวงแหน และซึมซับวัฒนธรรมไทยก็จะหมดไปเช่นกัน อยากฝากให้ สพฐ.ทบทวนในเรื่องนี้อีกครั้ง"

ที่มาของข่าว : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 13 ตุลาคม 2556
  • 13 ต.ค. 2556 เวลา 22:56 น.
  • 3,285

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^