LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ความล้มเหลวของการศึกษากับปัญหานานัปการ

  • 06 ต.ค. 2556 เวลา 09:22 น.
  • 2,678
ความล้มเหลวของการศึกษากับปัญหานานัปการ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ความล้มเหลวของการศึกษากับปัญหานานัปการ
 
ในอดีตเมื่อครั้งกึ่งพุทธกาลหรือปี พ.ศ. 2500 นั้น   การศึกษาไทยเป็นที่ยอมรับของประเทศที่เจริญแล้วในซีกโลกตะวันตก เพราะมีคุณภาพและมีมาตรฐานการศึกษาสูง ไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษหรือวิชาอื่นๆ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8  (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) สามารถทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศหรือบริษัทธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งผู้ที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 แล้วเมื่อไปศึกษาต่อยังต่างประเทศก็มีผลการเรียนดีเป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษาต่างๆ แต่ต่อมาภายหลังการศึกษาไทยมีคุณภาพลดลงและมีมาตรฐานการศึกษาที่ตกต่ำลงเรื่อยมา
 
ผลการจัดอันดับการศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก คือ  World Economics Forum – WEF เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2556  ได้จัดอันดับการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปรากฏว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 142  และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยก็ติดอันดับรั้งท้ายอยู่ในลำดับที่ 8  (ไม่นับรวมลาวและเมียนมาร์) ผลจากการจัดอันดับการศึกษาในครั้งนี้ได้สร้างความสั่นสะเทือนแก่กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นกลไกสำคัญของภาครัฐซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการบริหารจัดการการศึกษาของชาติที่จะต้องมีความรับผิดชอบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
 
ก่อนหน้านี้สังคมไทยเคยตั้งคำถามถึงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของชาติกับกระทรวงศึกษาธิการเสมอมา แต่เมื่อได้รับฟังคำชี้แจงจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ก็ไม่ค่อยสู้จะเข้าใจกระไรนัก เพราะผู้บริหารกระทรวงมักแสดงภูมิความรู้ด้วยการใช้ศัพท์แสงทางวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศตามความเชื่อของตนที่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักการศึกษาตะวันตกจนคนในสังคมส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่อง
 
การปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินการกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วนั้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับและพัฒนาการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพและมาตรฐาน แต่ก็ไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากเป็นเพียงแค่การปฏิรูปในเชิงปริมาณหาใช่การปฏิรูปในเชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เน้นแต่การก่อสร้างอาคารเรียนต่างๆ ละเลยการพัฒนาคุณภาพครูและกระบวนการการเรียนการสอน ฯลฯ   เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาของชาติโดยทุ่มงบประมาณแผ่นดินให้กับกระทรวงศึกษาธิการมากกว่าทุกกระทรวงโดยใช้งบประมาณสูงถึง 400,000 ล้านบาทเศษต่อปี  ซึ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งในประชาคมอาเซียนและเป็นลำดับต้นๆ ของโลก  เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณการลงทุนอย่างมากมายกับการศึกษาของชาติกับผลลัพธ์ที่ได้รับจากการจัดอันดับการศึกษาของ WEF  นับว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า เพราะใช้งบประมาณมากแต่ความสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษามีน้อย ถือได้ว่าเป็นความล้มเหลวของการศึกษาที่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็น กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องย้อนกลับไปสำรวจและพิจารณาถึงปัญหาน้อยใหญ่นานัปการอย่างมีเหตุผลและมีความเหมาะสมบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง
 
ปัญหาหลักซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการการเรียนรู้ทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน คือ การยกเลิกวิธีการสอนภาษาไทยให้เด็กฝึกอ่านเป็นคำๆ แบบภาษาอังกฤษ แต่ต้องหันกลับมาใช้วิธีการเดิมตามรูปแบบการสอนภาษาไทยในอดีตด้วยการฝึกสะกดคำอ่านตามพยัญชนะและสระ รวมถึงการฝึกผันวรรณยุกต์ มิเช่นนั้นเด็กจะอ่านหนังสือไม่ออก หรือแม้ว่าอ่านออกแต่ก็อ่านแบบกระท่อนกระแท่น ส่งผลให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง อย่าลืมว่าภาษาไทยมีความสำคัญเปรียบเสมือนกุญแจในการไขความรู้จากวิชาต่างๆ
 
หากจะปฏิรูปการศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาอย่างแท้จริง กระทรวงศึกษาธิการจะต้องแก้ไขตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือ จะต้องปฏิรูปกระบวนการการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเบื้องต้นเสียก่อน ส่วนวิชาความรู้อื่นๆ ก็จัดให้มีสาระการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและทันต่อสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาของชาติจึงจะมีคุณภาพและมาตรฐานที่จะนำพาคนในชาติไปสู่การเป็นผู้มีการศึกษาในอนาคต
 
 
ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล
 
 
  • 06 ต.ค. 2556 เวลา 09:22 น.
  • 2,678

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ความล้มเหลวของการศึกษากับปัญหานานัปการ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^