LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

อ่านออกเขียนได้100%ไม่ไกลเกินฝัน

  • 01 ต.ค. 2556 เวลา 09:41 น.
  • 2,560
อ่านออกเขียนได้100%ไม่ไกลเกินฝัน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อ่านออกเขียนได้100%ไม่ไกลเกินฝัน
 
ภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมของชาติและยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยทุกคน  แต่ปัญหาที่พบ คือ เด็กไทยในระดับประถมศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ยังมีปัญหาด้านการอ่านเขียนภาษาไทย  ซึ่งมีทั้งที่อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง  ส่วนขั้นที่รุนแรงอย่างน่าวิตกถึงขนาดที่ว่า “อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้”  ก็ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง  
เชื่อว่าทุกท่านตระหนักและเห็นความสำคัญของการอ่านเขียนภาษาไทย เพราะถือเป็นพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบไปถึงการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ เป็นอย่างมาก  ถ้าหากนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอื่น ๆ ตกต่ำตามไปด้วย
 
จากข้อมูลการสำรวจเพื่อคัดกรองเด็กที่มีปัญหาด้านการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  พบว่า นักเรียนในระดับชั้น ป.3 จากจำนวนนักเรียน 445,000 คน  มีที่อยู่ในข่ายต้องปรับปรุง ประมาณ 127,800 คน แยกเป็นนักเรียนที่อ่านไม่ได้เลย จำนวน 27,000 คน หรือ 6.27% นักเรียนที่อ่านได้แต่อยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 23,700 คน หรือ 5.32%  อ่านได้แต่ไม่เข้าใจ จำนวน 14,600 คน หรือ 3.2%  อ่านได้เข้าใจบ้าง จำนวน 62,000 คน หรือ 14%  ส่วนนักเรียนระดับชั้น ป.6 จากจำนวน 444,000 คน  มีที่อยู่ในข่ายต้องปรับปรุง ประมาณ 73,290 คน แยกเป็นนักเรียนที่อ่านไม่ได้เลยจำนวน 7,880 คน หรือ 1.77%  นักเรียนที่อ่านได้แต่อยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 6,750 คน หรือ 1.52%  อ่านได้แต่ไม่เข้าใจ จำนวน 7,080 คน หรือ 1.59%  อ่านได้เข้าใจบ้าง จำนวน 51,580 คน หรือ 11.6%  
 
“ตัวเลขข้างต้นเป็นการสะท้อนปัญหาระบบการศึกษาไทยพอสมควร จะพบว่าทั้งชั้น ป. 3  และ ป. 6 มีนักเรียนต้องปรับปรุงเรื่องการอ่านออก-เขียนได้ ประมาณ 2 แสนคน ถือว่ามียอดสูง แต่ผมก็ถือว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความกล้าที่จะเผชิญความจริง ไม่มีการอะลุ่มอล่วยทำให้ยอดเด็กอ่านหนังสือไม่ออกมาต่ำ เพื่อปกปิดความล้มเหลวของโรงเรียนและครู  อย่างไรก็ดี อยากฝากให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าเราไม่ได้มองว่าเด็กกลุ่มนี้คือปัญหาหรือความบกพร่อง และจะไม่ตำหนิครูเพราะถือเป็นความผิดพลาดล้มเหลวที่ระบบการศึกษา ซึ่งเรากำลังหาทางแก้ไขอยู่ และดีที่เราจับจุดถูกและเร็ว มิฉะนั้นการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ตกต่ำอื่นๆ จะไม่สามารถแก้ได้”  นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์สืบเนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลของ สพฐ. 





 
จากนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต้องการให้ สพฐ. เร่งแก้ปัญหาใหญ่เด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อ่านจับใจความไม่รู้เรื่องนั้น  สพฐ. เตรียมนำร่องปูพรมพัฒนาทักษะการเขียนให้กับนักเรียนชั้น ป. 3 และ ป. 6 โดยตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีการศึกษา 2556 นักเรียน ป. 3 ทุกคนจะต้องอ่านออกเขียนได้ ส่วนนักเรียน ป.6 ทุกคนจะต้องอ่านรู้เรื่อง ก็คงจะเป็นความหวังของทุกคนที่อยากจะให้ความฝันนี้เป็นจริงในเร็ววัน
 
เมื่อมีการหยิบยกปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนมาถกกันคราใด เรามักจะได้ยินการโทษกันไปมาต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น “ครูไม่สอนแบบแจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียงนักเรียนจึงอ่านไม่ได้”  “เพราะนโยบายไม่มีการซ้ำชั้นปล่อยให้เด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เลื่อนชั้นขึ้นมา”  “หนังสือเรียนยุคนี้ไม่ดีพอขาดประสิทธิภาพในลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายากและขาดระบบในการนำฝึกที่ดี”  “ผู้บริหารวางตัวครูผู้สอนชั้น ป.1 ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมไม่เข้าใจวิถีภาษาไทย”  เหล่านี้เป็นต้น
 
จากการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับบุคคลร่วมสมัยพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ซึ่งทุกคนล้วนเห็นตรงกันว่าการสอนภาษาไทยแบบเดิม ๆ ที่มีการสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำนั้นจะช่วยให้เด็กอ่านได้และอ่านคล่องติดตัวไปอย่างยั่งยืน  แต่อย่างไรก็ตาม การสอนแบบแจกลูกสะกดคำนั้นควรสอนในช่วงที่นักเรียนยังอ่านหนังสือไม่แตกฉาน แต่ก็ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องสอนถึงชั้นใด เพราะหากนักเรียนอ่านได้แล้วการแจกลูกสะกดคำก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพราะเชื่อว่าการสอนแบบแจกลูกสะกดคำเป็นเสมือนการให้เครื่องมือตกปลา ที่ครูมอบให้นักเรียนนำไปใช้ในการหาปลามารับประทานเองในระดับที่สูงขึ้นได้
 
คงต้องเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องวิเคราะห์และจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมแต่ละช่วงวัย  เช่น  ระดับอนุบาลเน้น การฟัง – พูด – เปล่งเสียงคำ ท่อง – ร้องจำพยัญชนะ สระ เขียนเส้น – เขียนอักษร – ตัวเลข  นักเรียนชั้น ป. 1 - 3  เน้นในเรื่องของการอ่านออก – เขียนได้ แจกลูก – สะกดคำ – ผันเสียง  ส่วนชั้น ป. 4 - 6  ให้เน้นในเรื่องของการอ่านคล่อง – เขียนคล่อง อ่านจับใจความ เขียนบันทึก เขียนเรื่อง รวมไปถึงการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสร้างสรรค์ เป็นต้น
 
สิ่งสำคัญคือครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน  เพราะนักเรียนบางคนแค่เพียงสะกดคำก็อ่านคำนั้นได้  แต่บางคนต้องใช้วิธีให้สะกดคำ เทียบคำที่เคยอ่านได้ หรืออ่านซ้ำ ๆ  ส่วนบางคนอาจจะใช้วิธีสอนแบบปกติไม่ได้เลย  ดังนั้น ครูจะต้องสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันไป  มีเทคนิคการสอนและใช้สื่อหลากหลาย  ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ต้องทำให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้   ไม่เป็นทุกข์เมื่อถึงเวลาเรียนเพียงเพราะรู้สึกว่าภาษาไทยเป็นเรื่องที่ยาก
 
คงถึงเวลาแล้วที่จะหยิบยกปัญหาการอ่านออกเขียนได้มาวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า หากผู้บริหารระดับนโยบายพร้อมที่จะขับเคลื่อนผลักดันให้คุณครูทุกคนร่วมแรงร่วมใจช่วยกันพัฒนาคุณภาพเด็กไทย  โดยการเริ่มต้นจากการอ่านออกเขียนได้ 100 %  ก็คงจะไม่ไกลเกินความฝัน  เพราะถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขเพื่อ “ตัดไฟแต่ต้นลม”  ก่อนที่จะวิกฤติมากเกินกว่าที่จะเยียวยาแก้ไข
 
ฟาฏินา  วงศ์เลขา
 
 
  • 01 ต.ค. 2556 เวลา 09:41 น.
  • 2,560

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : อ่านออกเขียนได้100%ไม่ไกลเกินฝัน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^