LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

"จาตุรนต์"เดินสายชวน"เลิกรับตรง" ชี้เป็นส่วนหนึ่งต้นตอการศึกษาพื้นฐานล้มเหลว/วอนมหา'ลัยช่วยพัฒนาข้อสอบกลาง

  • 16 ก.ย. 2556 เวลา 21:50 น.
  • 2,067
"จาตุรนต์"เดินสายชวน"เลิกรับตรง" ชี้เป็นส่วนหนึ่งต้นตอการศึกษาพื้นฐานล้มเหลว/วอนมหา'ลัยช่วยพัฒนาข้อสอบกลาง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"จาตุรนต์"เดินสายชวน"เลิกรับตรง" ชี้เป็นส่วนหนึ่งต้นตอการศึกษาพื้นฐานล้มเหลว/วอนมหา'ลัยช่วยพัฒนาข้อสอบกลาง
 
    "จาตุรนต์" เดินสายทำความเข้าใจสังคม ยันต้องเลิกสอบรับตรง จวกชัดทำให้ระบบการศึกษาในโรงเรียนล้มเหลว เป็นตัวเร่งให้เด็กต้องไปกวดวิชา เพราะมหา'ลัยออกข้อสอบเกินหลักสูตร ทำให้เด็กไม่สนใจการเรียนในห้อง ตั้งคำถามไม่เป็น คิดวิเคราะห์ไม่เป็น พะวงกับการสอบที่มีทั้งปี ถ่างความเหลื่อมล้ำในสังคมให้กว้างขึ้น ถามมหา'ลัยทำไมไม่แคร์คนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้รับสิทธิ์สอบตรงเยอะเหมือนคนรวย ยันการเปลี่ยนแปลงทำได้ใช้เวลาไม่ถึง 3 ปีถ้าสังคมยอมรับ วอนมหา'ลัยมาช่วยกันพัฒนาข้อสอบกลางให้เข้มข้นได้มาตรฐานมากขึ้น
 
    กระแสคัดค้านของมหาวิทยาลัยต่อนโยบายพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ต้องการให้ยกเลิกระบบการสอบตรงของมหาวิทยาลัย เพราะเห็นว่าเป็นระบบที่ชักจูงให้ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานล้มเหลว 
 
    ล่าสุดในวันที่ 16 ก.ย. นายจาตุรนต์กล่าวถึงกรณีนี้ว่า เรื่องนี้ ศธ.จะไม่ไปสั่งให้มหาวิทยาลัยซ้ายหัน ขวาหัน เพราะต้องมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันในหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง ว่าจะมีความเห็นอย่างไร รวมทั้งมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ทั้งนี้ เท่าที่รับฟังความคิดเห็นในขั้นต้นนี้ มีหลายฝ่ายที่เห็นว่าการรับตรงไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่การสอบตรงหรือการสอบในแต่ละคณะตามอัธยาศัย ไม่เลือกเวลา ถือเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในระดับขั้นพื้นฐาน เป็นภาระเป็นปัญหาอย่างมากต่อเด็กและผู้ปกครองทั่วประเทศ ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม ไม่เป็นธรรมต่อเด็กและผู้ปกครองทั่วประเทศ โดยเฉพาะเด็กส่วนใหญ่ที่ไม่มีฐานะร่ำรวย และอีกส่วนที่มีฐานะยากจนได้รับผลกระทบอย่างมาก ไม่ได้รับความเป็นธรรม
 
    “การรับตรงไม่ใช่ตัวปัญหาเสียทีเดียว ถ้าเขาใช้ผลสอบกลาง และสัมภาษณ์บ้างอะไรบ้างก็ได้ แต่สอบตรง สอบตั้งแต่ต้นปีการศึกษาไปเรื่อยๆ คนมีสตางค์เท่านั้นที่สามารถทำได้ คนยากจนไม่มีโอกาสไปแข่งขันด้วยก็เสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปก็ต้องให้หลายฝ่ายร่วมกันแสดงความคิดเห็นก่อน” นายจาตุรนต์กล่าว
 
    วันเดียวกัน ในช่วงเย็น นายจาตุรนต์ได้ไปออกรายการ "เรื่องเด่นเย็นนี้" ที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยมีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นพิธีกรสัมภาษณ์ นายจาตุรนต์กล่าวว่า การพัฒนารระบบเลือกเด็กเข้ามหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปัญหาใหญ่ของระบบนี้อยู่ที่การรับตรงของมหาวิทยาลัย ที่ต่างคนต่างจัดสอบ เลือกเวลาตามอัธยาศัย ทำให้การสอบรับตรงมีทั้งปี เช่น เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการสอบตรงของมหาวิทยาลัย ทำให้เด็กที่เรียนในโรงเรียนเพียงไม่นานก็ต้องไปสอบรับตรง การสอบนี้ทำให้เกิดการชุลมุน เด็กไม่สนใจการเรียนในห้องเรียน ดังนั้น ถ้าแก้เรื่องสอบรับตรงได้ และหันมาใช้ผลสอบกลางมากให้ที่สุดเท่าที่ทำได้ หรือจะใช้การสัมภาษณ์บ้างก็ได้ การรับตรงก็จะน้อยลง  
 
    "การรับตรงของมหาวิทยาลัยเป็นการสอบทั้งปี ซึ่งไม่ได้ส่งผลเสียต่อระบบการศึกษาเท่านั้น ยังส่งผลเสียต่อเด็ก ผู้ปกครอง ต่อความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย"
 
    นายจาตุรนต์ย้ำว่า การออกข้อสอบรับตรงของมหาวิทยาลัยยังออกเกินหลักสูตร โดยอ้างว่าอยากได้เด็กเก่ง ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้การเรียนในระบบไม่เป็นที่สนใจของเด็ก ซึ่งถ้าหากมหาวิทยาลัยอยากได้เด็กเก่งก็ควรมาช่วยกันทำให้ข้อสอบส่วนกลาง และทำให้ระบบการเรียนดีขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยควรมาช่วยดูข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ หรือโอเน็ต มาช่วยทำให้ข้อสอบได้มาตรฐานมากขึ้น และมาช่วยออกข้อสอบสวนกลาง ถ้าข้อสอบส่วนกลางอ่อนก็ทำให้เข้มขึ้น ถ้าช่วยอย่างนั้นก็จะทำให้เกิดการวัดผลที่ดี ได้ข้อสอบที่ดี 
 
    "เด็กที่รับตรงมาหรือสอบส่วนกลางมีบางส่วนเรียนไม่ไหว บางทีมหาวิทยาลัยคิดว่าการรับตรงจะได้เด็กดี เด็กเก่ง แต่เด็กพวกที่สอบได้นี้ไปเรียนกวดวิชามา ซึ่งโรงเรียนกวดวิชาก็จะสอนให้เพื่อการสอบเท่านั้น คิดเป็นสูตร ท่องสูตร แต่เอาเข้าจริงๆ เด็กเรียนจริงๆ ไม่ได้ ให้คิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม ตอบคำถาม ก็ทำไม่ได้ ทั้งๆ ที่การสอบของมหาวิทยาลัยยังเป็นกากบาท เราพบเด็กอย่างนี้เยอะแยะ"
 
    รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า การสอบตรงจะทำให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ไม่สนใจการเรียนใน รร. หรือสนใจเรียนตามหลักสูตร แต่จะสนใจสิ่งที่มหาวิทยาลัยจะออกข้อสอบ ซึ่งอยู่ออกนอกหลักสูตร เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมต่อสังคมโดยรวม คนจนไม่มีโอกาสกวดวิชา เพราะคนส่วนใหญ่รายได้ไม่ดี ไม่มีโอกาสตระเวนสอบ คนรวยเท่านั้นที่ตระเวนสอบได้ เพราะเสียค่าใช้จ่ายแพงมาก ระบบรับตรงนี้เป็นระบบคนจนไม่มีสิทธิ์ ซึ่งเราควรทำให้ระบบเป็นทุกคนมีสิทธิ์ใกล้เคียงกัน  
 
    "อยากได้เด็กเก่ง สุดท้ายเราต้องคิด มหาวิทยาลัยต้องการอะไร เราต้องการคนดี มีคุณภาพ ไม่ได้หมายถึงแต่ละคณะได้คนดีไปเรียน แต่ต้องนึกถึงทั้งหมดของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องมีโอกาสที่จะเป็นคนดี มีคุณภาพเหมือนคนส่วนน้อย ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ถูกทอดทิ้ง เรียนกันแบบไม่ได้รับความสนใจ ซังกะตาย"
 
    พิธีกรถามข้อท้วงติงของมหาวิทยาลัย ที่บอกว่าเด็กเก่งไม่เห็นด้วยที่นำวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ มาอยู่ในวิชาเดียวกัน เพราะระบบแอดมิชชั่นที่เป็นอยู่ทำให้คัดเด็กไม่ได้ตรงตามต้องการ นายจาตุรนค์กล่าวว่า เราแก้ปัญหานี้ได้ นโยบายของ ศธ.ต้องแก้ทั้งระบบ ถ้ามหาวิทยาลัยต้องการให้แยกวิชาการสอบก็ต้องแยกวิชา ระบบทดสอบต้องทำให้ได้มาตรฐาน และยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจไม่ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี เพราะการลดหรือเลิกรับตรงสามารถทำควบคู่ไปได้พร้อมกับการแก้หลักสูตรการเรียนการสอนที่ ศธ.กำลังเดินหน้า 
 
    "อะไรที่ทำได้ ไม่กระทบหลักการ เปลี่ยนแปลงโดยไม่บอกล่วงหน้า แล้วทำให้เด็กเสียเปรียบ เลือกทำในสิ่งที่ทำได้ไม่กระทบ เราก็จะใช้เวลาเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 3 ปี ถ้าคิดว่าคุยกันดีๆ น่าจะเสร็จได้ก่อน 3 ปี" รมว.ศธ.กล่าว. 
    
อธิการค้าน!ยันไม่ได้หิวเงินค่าสมัคร     
    เหล่าอธิการบดีรุมค้านห้ามมหา'ลัยสอบตรง ระบุเพื่อกระจายโอกาสให้เด็ก ตจว. มหา'ลัยไม่ได้หิวเงินค่าสมัคร จวกมีแต่ ม.ดังใน กทม.เท่านั้นที่เสียค่าใช้จ่ายแพง
 
    ศ.พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) กล่าวว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยในกลุ่มที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พยายามที่จะสอบตรง หรือรับตรงให้น้อยลง อย่าง มพ.มีนโยบายเปิดรับตรงเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยจะใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และความถนัดทั่วไป (GAT) ความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) และจะให้ทางโรงเรียนเป็นผู้ยื่นคะแนนแทนนักเรียน ทำให้นักเรียนไม่ต้องเสียค่าสมัครสอบ ไม่ต้องเดินทางมาสอบที่ มพ. ดังนั้นการเปิดสอบรับตรงจะเหมารวมว่าเป็นการสร้างภาระให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือตัวเด็กไม่ได้ เพราะแต่ละแห่งมีการจัดระบบ กระบวนการคัดเลือกสอบรับตรงที่แตกต่างกัน ขณะเดียวกัน ศธ.ต้องมาพิจารณาข้อมูลก่อนว่าเหตุใดมหาวิทยาลัยต้องเปิดรับตรงมาก
 
    "มหาวิทยาลัยที่เปิดสอบรับตรงแล้วมีค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่จะเกิดในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ เพราะมีเด็กจำนวนมากประสงค์ที่จะสอบเข้า ผมเชื่อว่าไม่มีมหาวิทยาลัยใดที่จัดสอบคัดเลือกเด็กเข้าเรียนเพื่อสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ หากจะมีการปรับระบบแอดมิชชั่นจริง ควรพิจารณาปัญหาที่แท้จริงอย่างรอบคอบ และควรเน้นปรับการสอบรายวิชาให้น้อยลงจะดีกว่าจะมีการยกเลิกระบบรับตรง"
 
    รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่จะให้มหาวิทยาลัยยกเลิกระบบรับตรง เพราะที่มหาวิทยาลัยเปิดสอบรับตรงนั้นเพื่อขยายโอกาสให้แก่เด็กในพื้นที่นั้นๆ ได้เข้าถึงการศึกษามากขึ้น และ มข.ได้มีการสร้างเครือข่ายกับ ม.เชียงใหม่ (มช.) และ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) โดยเด็กสามารถนำคะแนนสอบรับตรงที่สอบที่ มข.สามารถส่งไปสมัครเรียนที่ มอ.หรือ มช.ได้ เด็กไม่ต้องวิ่งรอกสอบหลายที่
 
    “ขอยืนยันว่าการรับตรงยังมีความจำเป็น เป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา ถ้าเหลือการสอบเพียงแอดมิชชั่นกลางอย่างเดียว เด็กต่างจังหวัดคงสู้เด็กในเมืองไม่ได้ ส่วนค่าสมัครสอบ 200-300 บาท ดังนั้นการแก้ปัญหาอยากให้ดูหลายมิติว่าปัญหาคืออะไร และแก้ปัญหาให้ถูกจุด อย่ามาโทษว่ามหาวิทยาลัยจัดสอบเพื่อต้องการหารายได้".
 
 
  • 16 ก.ย. 2556 เวลา 21:50 น.
  • 2,067

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "จาตุรนต์"เดินสายชวน"เลิกรับตรง" ชี้เป็นส่วนหนึ่งต้นตอการศึกษาพื้นฐานล้มเหลว/วอนมหา'ลัยช่วยพัฒนาข้อสอบกลาง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^