LASTEST NEWS

21 ธ.ค. 2567ปฏิทินการจ่ายเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างลูกจ้างประจำ ประจำปี 2568 20 ธ.ค. 2567สพป.บึงกาฬ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (ขอใช้บัญชี สพม.หนองคาย) จำนวน 3 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 20 ธ.ค. 2567​​​​​​​กรมบัญชีกลาง เปิดสอบพนักงานราชการ 27 อัตรา ไม่ต้องผ่าน ภาค ก ตั้งแต่ 3 - 24 มกราคม 2568 19 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย เขตอื่น ใช้บรรจุ 2 วิชาเอก 13 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 19 ธ.ค. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 2 เผยบัญชีตำแหน่งว่างใช่บรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 5  19 ธ.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 45 อัตรา 18 ธ.ค. 2567ผู้บริหาร สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 10/2567 18 ธ.ค. 2567สพม.สงขลา สตูล เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 10 อัตรา - รายงานตัว 24 ธันวาคม 2567 18 ธ.ค. 2567กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 21 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2567 - 21 มกราคม 2568 18 ธ.ค. 2567 โอกาสดีมาถึงแล้ว!  ทุนเรียนต่อครู สควค. ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครทั่วประเทศ จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที! สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 ม.ค. 2568

วาระครม.วันที่ 20 ส.ค. 56

  • 19 ส.ค. 2556 เวลา 15:48 น.
  • 14,760
วาระครม.วันที่ 20 ส.ค. 56

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

วาระครม.วันที่ 20 ส.ค. 56

กต.ชงพ.ร.บ.เอกสิทธิ์คุ้มกันอาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมครม.วันที่ 20 ส.ค.กระทรวงการต่างประเทศ(กต.)เสนอขอความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธ์และความคุ้มกันของอาเซียน พ.ศ. ....ดังนี้
 
1. ขอความเห็นชอบความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอและให้เสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
 
2. ขออนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป เมื่อรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบความตกลงตามข้อ 1 แล้ว
 
3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันความตกลงฯ และให้ดำเนินการต่อไปได้ เมื่อความตกลงฯ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และร่างพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับแล้ว
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของเรื่อง
1. ความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน มีสาระสำคัญให้นิติฐานะแก่อาเซียนทั้งในบริบทของกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้อาเซียนในฐานะองค์กรสามารถทำนิติกรรมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งกำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่กฎบัตรฯ ระบุไว้เป็นหลักการให้แก่อาเซียนและบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานให้กับอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลข้างต้นมีอิสระในการทำงานและจะผลิตผลงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันอาเซียน พ.ศ. .... กำหนดให้อาเซียน สถานที่ ทรัพย์สิน และสินทรัพย์ของอาเซียน การสื่อสาร บรรณาสาร และเอกสารทั้งปวงที่อาเซียนมีกรรมสิทธิ์หรือที่ยึดไว้ ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย รวมทั้งให้พนักงานของสำนักเลขาธิการอาเซียนและเจ้าหน้าที่ของรัฐสมาชิกได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน
 
ก.พ.ร.ฟุ้งไทยที่3 ระบบราชการมีประสิทธิภาพรองจากสิงคโปรผ์-ฮ่องกง
สำนักงานก.พ.ร. ขอความเห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2555 และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง
รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2555
 
1. ภาพรวมของระบบราชการ
1.1 หน่วยงานของรัฐ
ประเภทที่ 1 ส่วนราชการ มีหน่วยงานในส่วนกลาง รวม 177 หน่วยงาน (20 กระทรวง 157 กรม) ส่วนภูมิภาค รวม 954 หน่วยงาน (76 จังหวัด 878 อำเภอ) ส่วนท้องถิ่น รวม 7,853 หน่วยงาน (องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง เทศบาล 2,082 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 5,693 แห่ง และ กทม. และเมืองพัทยา)
ประเภทที่ 2 รัฐวิสาหกิจ 58 แห่ง
ประเภทที่ 3 องค์การมหาชน 68 หน่วยงาน
ประเภทที่ 4 หน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น (หน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ กองทุนที่เป็นิติบุคคล และหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ)
 
1.2 กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือนทั้งข้าราชการและบุคลากรประเภทอื่น จำนวน 2,724,335 คน
 
1.3 รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จำนวน 2,380,000 ล้านบาท เป็นงบบุคลากรจำนวน 547,690.90 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.0 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด อย่างไรก็ดี ยังมีงบบุคลากรภาครัฐบางส่วนปรากฏอยู่ในงบรายจ่ายอื่น ทำให้ค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐในงบบุคลากรตามเอกสารงบประมาณต่ำกว่าความเป็นจริง
 
1.4 สมรรถนะในการแข่งขันของระบบราชการไทยเชิงเปรียบเทียบ
(1) ความเป็นประเทศที่เอื้อต่อการลงทุนประกอบธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 183 ประเทศ ในส่วนภาวะธรรมาภิบาลพบว่ามิติประสิทธิผลของรัฐบาลและมิติคุณภาพของมาตรการควบคุม ยังคงอยู่ใน Percentile Rank ที่ 50-75 ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยพบว่า อยู่ในอันดับที่ 30 จาก 59 ประเทศ ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 88 จาก 176 ประเทศ (ค่าดัชนี 37 หรือ 3.7 ในฐานคะแนนแบบเดิม) ซึ่งปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 80 จาก 183 ประเทศ (ค่าดัชนี 3.4) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากค่าดัชนีเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2554 ด้วยฐานคะแนนที่เท่ากันแล้ว จะพบว่าค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น 0.3 คะแนน โดยประเทศที่มีค่าดัชนีสูงหมายถึง ประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด และประเทศที่มีค่าดัชนีต่ำ หมายถึงประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด
(2) ความพร้อมในการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยพบว่า อยู่ในอันดับที่ 64, 76 และ 92 ในปี พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555 ตามลำดับ อันดับความมีประสิทธิภาพของระบบราชการไทยพบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศแรกที่ระบบราชการมีประสิทธิภาพ รองจากสิงคโปร์และฮ่องกง
 
1.5 ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการไทยตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) พบว่าผลการบรรลุเป้าหมายในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ส่วนใหญ่มีผลการดำเนินการที่สูงกว่าค่าเป้าหมายทั้งสิ้น เช่น ประชาชนมีความพึงพอใจในระบบราชการ ร้อยละ 82.65 ส่วนราชการมีการปรับปรุงรูปแบบหรือวิธีการทำงาน ร้อยละ 89.50 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐยังไม่สามารถบรรลุตามค่าเป้าหมายการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการให้บริการประชาชน ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้บริการประชาชน ผ่านรูปแบบของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ให้บริการประชาชนมากขึ้น
 
2. ความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบราชการไทย
2.1 ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ จากการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 พบว่า การปฏิบัติราชการของกระทรวง กรม จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา และองค์การมหาชน มีผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ที่สูงกว่าค่าเป้าหมาย โดยส่วนราชการมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมค่อนข้างสูงกว่าค่าเป้าหมาย ในส่วนของจังหวัดในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมมีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมายรวมทั้งองค์การมหาชนในภาพรวมพบว่า การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
 
2.2 จากการสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยพบว่า ประชาชน ข้าราชการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบราชการในระดับสูงพอสมควร โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.7
 
2.3 การผลักดันการพัฒนาระบบราชการไทย ในรอบปี พ.ศ. 2555 สรุปได้ ดังนี้
- ตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชน โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน มีการมอบรางวัลระดับชาติให้แก่หน่วยงานที่มีนวัตกรรมหรือมีพัฒนาการในการบริการประชาชน และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการให้บริการ (e-Services) พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
 
- การปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรับกลยุทธ์การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ การพัฒนาและส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะและการเปิดให้องค์กรในภาคส่วนอื่นเสนอตัวเข้ามาให้บริการของรัฐ การส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และความร่วมมือการทำงานในลักษณะเครือข่าย รวมทั้งปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวง
 
- การมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ โดยยังคงให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของส่วนราชการ เพื่อเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความพร้อม เข้ามาจัดบริการสาธารณะแทนภาครัฐ การพัฒนาเสริมสร้างขีดสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในระบบราชการ ทั้งกลุ่มผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer: CCO) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ของกระทรวงและกรม และนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ในส่วนขององค์การมหาชน ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการบริหารองค์การมหาชน เพือให้องค์การมหาชนมีแนวทางในการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานตามกรอบการประเมินผลที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์การมหาชนสู่สาธารณะ นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมผลักดันให้ภาครัฐมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และการรับมือกับสภาวะวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานของภาครัฐสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุดหยุดลง
 
- การสร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม ทั้งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การสร้างการกำกับดูแลองค์การที่ดีของส่วนราชการ การจัดทำแผนการส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างยั่งยืน และยังคงส่งเสริมระบบการตรวจสอบที่ให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ที่ประชาชนจะได้รับจากหน่วยงาน ผ่านทางคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.)
 
2.4 การดำเนินงานขั้นต่อไป
- การเตรียมความพร้อมของระบบราชการไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการต่าง ๆ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาประจำปีระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบราชการ การแลกเปลี่ยนข้าราชการเพื่อปฏิบัติราชการในกลุ่มประเทศสมาชิก รวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน การพัฒนาหลักสูตรให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐจากประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นต้น
 
- การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในระยะต่อไป เพื่อให้สอดคล้องตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงรองรับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะมีการศึกษาแนวโน้มการปรับเปลี่ยนระบบราชการ และตัวอย่างที่เป็นเลิศในระดับนานาชาติ รวมทั้งระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและกรอบทิศทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในระยะต่อไปที่มีความเหมาะสม และบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
 
- การขยายผลการดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งการส่งเสริมให้ส่วนราชการพัฒนาความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลในระบบราชการแบบยั่งยืน และการวางระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อวัดและประมวลผลระดับธรรมาภิบาลของภาคราชการ
 
- การปรับปรุงรูปแบบหน่วยงานของรัฐ โดยการเร่งรัดมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ทั้งการปรับบทบาทหน้าที่ ภารกิจ โครงสร้างและระบบบริหารงานของหน่วยงานของรัฐให้มีความเหมาะสม และมีขีดสมรรถนะสูง การถ่ายโอนงานตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐาน การศึกษาความพร้อมของภาคเอกชนที่จะมารับการถ่ายโอนงานจากภาครัฐ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะผลักดันให้เกิดการสร้างกลไกหรือเครื่องมือที่เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ และเสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนอื่น ๆ ในการบริหารราชการ
 
 
มท.ขออนุมัติพ.ร.บ.ควบคุมอาคารเทศบาลตำบลท่าไม้รวก เพชรบุรี
กระทรวงมหาดไทยขออนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
ข้อเท็จจริงมท. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
1. จังหวัดเพชรบุรีมีความประสงค์ให้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
 
2. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ในเขตเทศบาลดังกล่าวมีการขยายตัว ทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในท้องที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร และเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของชุมชนในด้านการก่อสร้างอาคาร โดยสภาเทศบาลตำบลดังกล่าวได้เห็นชอบด้วยและได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวด้วยแล้ว
 
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตเทศบาล ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
 
"วราเทพ"รายงานผลงานนโยบายเร่งด่วนด้านศก. มิ.ย.56 โชว์จำนำข้าวสร้างประโยชน์ทางอ้อมคืนรัฐ มูลค่า 83,238 ล้านบาท
 
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอครม. รับทราบการติดตามงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ ประจำเดือนมิถุนายน 2556
 
สาระสำคัญของรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ดังนี้
1. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง การดำเนินการในภาพรวมได้มีการดำเนินการ ดังนี้
 
1.1 ด้านราคาสินค้า ได้มีมาตรการในการดูแลราคาสินค้าและบริการให้มีราคา
ที่เหมาะสมและเป็นธรรม ได้แก่ การกำหนดราคาสินค้าและบริการควบคุม การดูแลราคาต้นทาง และราคาปลายทาง การกำหนดมาตรการในการดูแลราคา การตรึงราคาจำหน่ายสินค้า (สิ้นสุดโครงการแล้ว) การกำกับดูแลราคาจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ ติดตามตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย (สายตรวจ Mobile Unit) นอกจากนี้ ยังมีโครงการกำกับดูแลการชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อเพื่อสร้างความเป็นธรรม โครงการธงฟ้าราคาประหยัดลดค่าครองชีพประชาชน และจัดงานจำหน่ายสินค้า ซึ่งได้จัดงานรวมทั้งสิ้น 1,286 ครั้ง สามารถลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนคิดเป็นมูลค่า 553.45 ล้านบาท จัดงานธงฟ้าเคลื่อนที่เพื่อประชาชน (Mobile Unit) รวม 627 จุด ลดค่าครองชีพได้คิดเป็นมูลค่า 14.67 ล้านบาท (สิ้นสุดโครงการแล้ว) รวมถึงโครงการโชห่วยช่วยชาติ “ร้านถูกใจ” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างส่งผ่านให้ภาคเอกชนดำเนินการต่อ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีร้านถูกใจที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 5,009 ราย (สิ้นสุดโครงการแล้ว)
 
1.2 ด้านราคาพลังงาน
(1) น้ำมันดีเซล : ขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับน้ำมันดีเซล เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ทำให้ราคา ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 อยู่ที่ 29.99 บาท/ลิตร โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 – เมษายน 2556 สามารถช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจเป็นเงินประมาณ 198,000 ล้านบาท
(2) แก๊สโซฮอล : ส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีปริมาณการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 2.57 ล้านลิตร/วัน
(3) LPG : ราคา ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 ภาคครัวเรือน ตรึงราคาไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 18.13 บาท/กิโลกรัม ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 28.40 บาท/กิโลกรัม
ภาคขนส่ง อยู่ที่ 21.38 บาท/กิโลกรัม
(4) NGV : ราคาสำหรับประชาชนอยู่ที่ 10.50 บาท/กิโลกรัม กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ อยู่ที่ 8.50 บาท/กิโลกรัม
(5) โครงการบัตรเครดิตพลังงาน (NGV) ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2555 – มิถุนายน 2556 มีจำนวนผู้สมัครบัตรเครดิตพลังงาน จำนวนทั้งสิ้น 70,871 ราย สำหรับกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ เพื่อสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอล ณ เดือนมิถุนายน 2556 จำนวนผู้มีบัตรทั้งสิ้น 2,974 ราย
 
 
2. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
 
2.1 พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณากรอบวงเงินสำหรับโครงการพักหนี้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหรือเกษตรกร
 
2.2 ปรับค่าแรงงานเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาดำเนินการตามมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ และเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันให้แก่ SMEs โดยที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีจึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ SMEs เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 
2.3 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีผู้สูงอายุที่มีสิทธิ จำนวน 6,776,562 คน ได้จัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดแล้ว (ตุลาคม 2555 - กันยายน 2556) เป็นเงิน 52,069 ล้านบาท กทม. มีผู้สูงอายุได้รับเงินแล้ว จำนวน 528,990 คน ใช้เงิน 347.74 ล้านบาท เมืองพัทยา มีผู้สูงอายุได้รับเงินแล้ว จำนวน 5,848 คน ใช้เงินประมาณ 3.78 ล้านบาท
 
2.4 มาตรการบ้าน 5 ล้านบาท สิ้นสุดโครงการแล้ว
 
2.5 โครงการบ้าน ธ.อ.ส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก ซึ่งได้ขยายระยะเวลาออกไปให้สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2556 มีผู้ได้รับการอนุมัติคิดเป็นเงิน 10,189.03 ล้านบาท โครงการนี้มีปัญหาการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างต่ำ เนื่องจากโครงการไม่ครอบคลุมบ้านมือสอง และราคาบ้านต่ำกว่า 1 ล้านบาทมีจำนวนจำกัด
 
2. 6 โครงการบ้าน ธ.อ.ส. - ธปท. เพื่อผู้ประสบภัย วงเงิน 14,000 ล้านบาท
มีผู้ได้รับการอนุมัติคิดเป็น 29,877.84 ล้านบาท ปัญหาอุปสรรคของโครงการนี้ คือ จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อมากกว่าเงินที่ ธปท. ให้การสนับสนุน
 
2.7 มาตรการภาษีสำหรับการซื้อรถยนต์คันแรก คืนภาษีแล้ว 320,111 คัน เป็นเงิน 21,972 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.91
 
3. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลมีผลถาวรกรมสรรพากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ .. พ.ศ. .... (มาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
 
 
4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน (กองทุนหมู่บ้าน SML) มีผลดำเนินการ ดังนี้
4.1 โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชน (SML) โอนเงินไปแล้วจำนวน 76,407 หมู่บ้าน/ชุมชน จำแนกเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนใน 76 จังหวัด จำนวน 75,565 แห่ง ชุมชน ใน กทม. จำนวน 842 แห่ง ทั้งนี้ สทบ. ได้เร่งรัดการดำเนินการในส่วนของชุมชนใน กทม. ด้วยแล้ว
 
4.2 โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านฯ ระยะที่ 3 ได้โอนเงินไปแล้ว 44,730 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 56.44
 
 
5 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
5.1 โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร ได้อนุมัติแล้ว 4,234,556 บัตร ส่งมอบบัตรแล้ว 4,125,967 ราย วงเงินอนุมัติ 57,070 ล้านบาท
 
5.2 ขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพืชสำคัญ 3 ชนิด ดังนี้
(1) ข้าวนาปี 55/56 (วันที่ 1 มิถุนายน 2555 – วันที่ 31 พฤษภาคม 2556) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 ครั้งที่ 1 มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองแล้ว จำนวน 3.48 ล้านครัวเรือน ครั้งที่ 2 มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองแล้ว จำนวน 584,236 ครัวเรือน
 
(2) มันสำปะหลัง ปี 55/56 (วันที่ 1 มิถุนายน 2555 – วันที่
28 กุมภาพันธ์ 2556) ซึ่งมีเกษตรกรขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองแล้ว จำนวน 473,852 ครัวเรือน
 
(3) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 55/56 (วันที่ 1 มิถุนายน 2555 – วันที่
31 ตุลาคม 2555) ซึ่งมีเกษตรกรขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองแล้ว จำนวน 220,216 ครัวเรือน
 
 
5.3 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/2556 โดย
(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการจำนำข้าวเปลือกนาปี รวม 226 สหกรณ์ ซึ่งได้ให้บริการรับจำนำ/บริการรวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิก 349,654 ราย ปริมาณข้าวเปลือก รวม 1,726,533.165 ตัน และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร รับจำนำแล้ว 3.469 ล้านตัน มูลค่า 54,934.180 ล้านบาท จำนวนเกษตรกร 472,971 ราย จำนวนโรงสี 270 แห่ง
 
(2)กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 ผลการดำเนินการ
2.1 รอบที่ 1 (1 ตุลาคม 2555 - 15 กันยายน 2556) มีโรงสีสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 894 โรง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2,199,906 ราย ปริมาณ
รับจำนำ รวมทั้งสิ้น 14,434,296 ตัน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 ธ.ก.ส. ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้ว เป็นเงิน 232,870.709 ล้านบาท
 
2.1 รอบที่ 2 (14 มีนาคม - 15 กันยายน 2556) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีโรงสีสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 645 โรง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 640,529 ราย ปริมาณรับจำนำรวมทั้งสิ้น 5,365,846 ตัน
ปัญหาอุปสรรค : งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าคลังสินค้า ค่ากรรมกร ค่าตรวจสอบคุณภาพข้าวสาร ค่าดูแลรักษาข้าวสาร และค่าเบี้ยประกันภัย ทำให้ อ.ต.ก. ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบการตามสัญญาได้
 
(3)นอกจากนี้ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ได้รายงานให้ทราบเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2554/55 ปี 2555/56 โดยสรุป ดังนี้
 
 
3.1 ผลการดำเนินโครงการ (ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2556)
 
- โครงการปี 2554/55 นาปี 2554/55 นาปี 54/55 มีผลผลิตจำนวน 25.932 ล้านตัน จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1,089,101 ราย ปริมาณรับจำนำ 6.950 ล้านตัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงิน 118,656 ล้านบาท นาปรัง 55 มีผลผลิตจำนวน 12.224 ล้านตัน จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1,021,027 ราย ปริมาณรับจำนำ 14.864 ล้านตัน ธ.ก.ส. จ่ายเงิน 218,670 ล้านบาท
 
- โครงการปี 2555/56 รอบที่ 1 มีผลผลิตจำนวน 26.950 ล้านตัน จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1,434,702 ราย ปริมาณรับจำนำ 14.440 ล้านตัน ธ.ก.ส. จ่ายเงิน 232,870 ล้านบาท รอบที่ 2 มีผลผลิตจำนวน 9.904 ล้านตัน จำนวนเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ 436,503 ราย ปริมาณรับจำนำ 5.508 ล้านตัน ธ.ก.ส. จ่ายเงิน 73,938 ล้านบาท
 
3.2 ประโยชน์ที่ชาวนาได้รับโดยตรงจากราคาตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ได้รับผลประโยชน์โดยราคาข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4,000 บาท/ตัน
 
- เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้รับผลประโยชน์โดยราคาข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2,500 บาท/ตัน (ราคาตลาดก่อนรับจำนำหักด้วยราคาตลาดหลังรับจำนำ)
 
3.3 ผลประโยชน์ทางอ้อมกลับคืนสู่รัฐบาลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเกษตรกรมีการใช้จ่ายมากขึ้นทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ รัฐได้รับภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น รัฐได้ภาษีจากภาคธุรกิจ เกิดการขยายธุรกิจใหม่รองรับกำลังซื้อ และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 83,238 ล้านบาท
 
5.4 โครงการรักษาเสถียรภาพราคามะพร้าว ปี 2555 ดำเนินการรับซื้อ
เนื้อมะพร้าวแห้งจากเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร ใน 8 จังหวัด จำนวน 9,000 ตัน โดยชดเชยราคากิโลกรัมละ 6 บาท และช่วยค่าขนส่ง เพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาที่คุ้มต่อการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2556 ขณะนี้ได้รับซื้อแล้ว 8,605.38 ตัน คิดเป็นร้อยละ 95.62 ขณะนี้มี 7 จังหวัด
แจ้งปิดโครงการแล้ว และจังหวัดนครศรีธรรมราชยังปิดโครงการไม่ได้เนื่องจากปัญหาการร้องเรียน จึงขอขยายระยะเวลาโครงการออกไปจนถึง 20 กรกฎาคม 2556
 
5.5 การรักษาเสถียรภาพราคายางพารา (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2556) โดยได้รับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกร จำนวน 211,388.604 ตัน มูลค่า 20,934.064 ล้านบาท นำเข้าสู่กระบวน การผลิตและผลิตเสร็จ และจัดเก็บเข้าโกดัง จำนวน 189,101.20 ตัน มีการทำประกันวินาศภัยโกดัง/โรงงาน จำนวน 54 จุด วงเงินทุนประกัน 18,803.280 ล้านบาท มีเงินสดคงเหลือในบัญชีของโครงการฯ จำนวน 225.504 ล้านบาท
 
5.6 การเยียวยาและการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร จากภัยพิบัติด้านการเกษตร ในกรณีฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย และศัตรูพืชระบาด
(1) ฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้ง ด้านพืช มีพื้นที่เสียหาย 4.697 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 624,886 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 2,870.932 ล้านบาท ด้านประมง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย 1,121 ไร่ กระชัง 648 ตารางเมตร เกษตรกรได้รับผลกระทบ 63 ราย ช่วยเหลือเสร็จแล้ว เป็นเงิน 3.939 ล้านบาท
 
(2) อุทกภัย ด้านพืช มีพื้นที่เสียหาย 78,569 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 9,691 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 34.614 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว 12.126 ล้านบาท ด้านประมง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย 881 ไร่ กระชัง 11,393 ตารางเมตร คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 6.284 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว 2.307 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ มีสัตว์สูญหาย/ตาย 1,867 ตัว เกษตรกรได้รับผลกระทบจำนวน 60 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 83,800 บาท ช่วยเหลือแล้ว 49,700 บาท
 
(3) วาตภัย (ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 1 มีนาคม 2556) พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 76,579 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 34,587 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 15.582 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว 0.619 ล้านบาท
 
(4) ศัตรูพืชระบาด ได้มีการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด และควบคุมการระบาดไม่ให้ขยายพื้นที่
 
5.7 การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกร ขณะนี้มีการปรับปรุงการจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรเป็นรายแปลง ซึ่งมีเป้าหมาย 7,230,043 แปลง ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่
15 มีนาคม 2556 โดยดำเนินการไปแล้ว 3.922 ล้านครัวเรือน
 
5.8 การช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนที่เป็นลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรและผู้ยากจนที่มีปัญหาด้านหนี้สินและที่ดิน ให้สามารถไถ่ถอนหรือซื้อที่ดินคืน โดยมีเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติจากกองทุนฯ จำนวน 584 ราย วงเงิน 81 ล้านบาท
 
5.9 โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/26 ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 719 ราย เปิดจุดรับฝากแล้ว 678 จุด ปริมาณ รับจำนำรวมทั้งสิ้น 9,955,637 ตัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 ธ.ก.ส. ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้ว เป็นเงิน 26,877.092 ล้านบาท
 
5.10 พณ. ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบการรับจำนำสินค้าเกษตร ให้ถูกต้อง โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำ โดยสุ่มตรวจสอบโรงสี ตลาดกลาง โกดังกลางและเกษตรกร พบการกระทำความผิด จำนวน 2,042 ราย ได้แก่ (1) การขนข้าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาต
(2) การสวมสิทธิเกษตรกร (3) ข้าวขาดบัญชี
 
5.11การแก้ไขราคาสินค้าเกษตร
(1)ผักและผลไม้ ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับร้านค้าปลีก
ค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) รวม 6 ครั้ง เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยรับซื้อผักและผลไม้ เพื่อนำไปจำหน่ายในสาขาทั่วประเทศ และได้จัดงานเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมาจำหน่ายผลผลิตให้ผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงได้ดำเนินการเชื่อมโยงการกระจายผลไม้ภาคตะวันออก ไปจำหน่ายที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm Outlet) ที่จังหวัดกาญจนบุรี
 
(2 )สุกร ได้มีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้แก่เกษตรกรเพิ่มจากช่องทางปกติ แยกเป็นเนื้อสุกรจำนวน 181,095 กิโลกรัม
 
(3) ไข่ไก่ สามารถระบายไข่ไก่ได้ จำนวน 7,000,000 ฟอง และได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลราคาไข่ไก่ รวมถึงขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่ให้ตรึงราคาไม่เกินฟองละ 3.30 บาท
 
(4) หอมแดง (ฤดูแล้ง) จังหวัดเชียงใหม่ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ จำนวน 22.66 ล้านบาท จากโครงการช่วยเห
  • 19 ส.ค. 2556 เวลา 15:48 น.
  • 14,760

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : วาระครม.วันที่ 20 ส.ค. 56

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^