LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

มธ. เผย 10 อันดับคณะ บัณฑิตจบใหม่ ได้เงินเดือนสูงสุด

  • 06 ส.ค. 2556 เวลา 15:22 น.
  • 10,418
มธ. เผย 10 อันดับคณะ บัณฑิตจบใหม่ ได้เงินเดือนสูงสุด

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

มธ. เผย 10 อันดับคณะ บัณฑิตจบใหม่ ได้เงินเดือนสูงสุด

ภาพประกอบจากเว็บไซต์กระปุกดอทคอม


            มธ. เผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ ชี้แพทย์ ได้เงินเดือนสูงสุด ส่วนโอกาสทำงาน บัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และสหเวชศาสตร์ มีงานทำสูงสุด 100%

            เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดเผยผลการสำรวจ "ภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554" ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2555 และติดตามภาวะการมีงานทําต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556 โดยนําเสนอข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมรายกลุ่มสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

            โดยผลสํารวจภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554 พบว่า บัณฑิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ สําเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 5,693 คน และได้ตอบแบบสํารวจภาวะการมีงานทํา 5,107 คน (ร้อยละ 90.75) ในจํานวนนี้

             มีงานทําแล้ว ร้อยละ 71.33 (3,643 คน)
             ยังไม่ได้ทํางาน ร้อยละ 1.53 (78 คน)
             ศึกษาต่อ/อื่น ๆ ร้อยละ 27.14 (1,386 คน)

            เมื่อพิจารณาข้อมูลการมีงานทําของบัณฑิตในรายคณะ เรียงลําดับตามร้อยละการมีงานทําเทียบกับผู้สําเร็จการศึกษาสูงสุด

             อันดับแรก คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตมีงานทําสูงสุด ร้อยละ 100 เท่ากัน
             อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ 98.57
             อันดับ 3 คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร้อยละ 98.54
             อันดับ 4 คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร้อยละ 98.26
             อันดับ 5 คือ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 97.92

            ส่วนประเภทงานที่ทำ

             พนักงานบริษัท/องค์กรธุรกิจเอกชน ร้อยละ 68.71 (2,503 คน)
             ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 12.93 (471 คน)
             ธุรกิจอิสระ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.91 (288 คน)
             ประกอบอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 4.97 (181 คน)
             พนักงาน/ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.78 (65 คน)
             พนักงานองค์การต่างประเทศ/ระหว่างประเทศ ร้อยละ 1.15 (42 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 2.55 (93 คน)


            โดยบัณฑิตที่ได้งานทําแล้วได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 21,059.69 บาท โดยคณะที่บัณฑิตได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับ ได้แก่

            1. คณะแพทยศาสตร์ 46,477.74 บาท
            2. คณะทันตแพทยศาสตร์ 38,030.85 บาท
            3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 23,577.91 บาท
            4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 23,532.06 บาท
            5. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 22,902.01 บาท
            6. คณะเศรษฐศาสตร์ 20,142 บาท
            7. คณะศิลปศาสตร์ 19,813.05 บาท
            8. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 19,112 บาท
            9. คณะศิลปกรรมศาสตร์ 18,826.75 บาท
            10. คณะสหเวชศาสตร์ 18,693.14 บาท
            11. คณะรัฐศาสตร์ 18,450.84 บาท
            12. คณะพยาบาลศาสตร์ 17,977.80 บาท
            13. คณะนิติศาสตร์ 17,577.93 บาท
            14. คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง 17,026.53 บาท
            15. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16,722.40 บาท
            16. คณะสาธารณสุขศาสตร์ 16,638.21 บาท
            17. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 16,561.64 บาท
            18. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 14,552.77 บาท
            19. วิทยาลัยสหวิทยาการ 13,482.53 บาท


            โดยความรู้ความสามารถพิเศษที่ทําให้ได้งานทําสอดคล้องกับกลุ่มสาขาวิชาที่สําเร็จการศึกษา คือ

             กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คือ ด้านภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 44.04
             กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 41.31
             กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ อื่น ๆ (ซึ่งระบุว่า เป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาชีพ) ร้อยละ 25.67

            โดยบัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทําตรงสาขาที่สําเร็จ ร้อยละ 96.90 (3,530 คน) และสามารถนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทําได้ในระดับมาก ร้อยละ 37.47 (1,365 คน) และพึงพอใจต่องานที่ทํา ร้อยละ 85.59 (1,819 คน)


            ส่วนบัณฑิตที่ไม่พึงพอใจในงานที่ทํา มีสาเหตุเนื่องจาก

             ไม่พอใจค่าตอบแทน ร้อยละ 25.14 (132 คน)
             ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ร้อยละ 21.90 (115 คน)
             ระบบงาน ร้อยละ 20.00 (105 คน)
             ขาดความก้าวหน้า ร้อยละ 11.81 (62 คน)
             ขาดความมั่นคง ร้อยละ 8.95 (47 คน)
             สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 8.19 (43 คน)
             ผู้ร่วมงาน ร้อยละ 4.00 (21 คน)


            สําหรับบัณฑิตยังไม่ได้ทํางาน (78 คน) นั้น มีสาเหตุมาจาก

             ยังไม่ประสงค์จะทํางาน ร้อยละ 43.59 (34 คน)
             รอฟังคำตอบจากหน่วยงาน ร้อยละ 32.05 (25 คน)
             สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 21.79 (17 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 3.70 (2 คน)


            สําหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อ (1,371 คน) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ร้อยละ 70.75 (970 คน) โดย

             เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม ร้อยละ 49.23 (675 คน)
             เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาใหม่ ร้อยละ 47.12 (646 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 3.65 (50 คน)


            เมื่อพิจารณาแหล่งการศึกษาต่อ พบว่า

             ศึกษาต่อในประเทศ ร้อยละ 77.61 (1,064 คน)
             ศึกษาต่อต่างประเทศ ร้อยละ 22.39 (307 คน)


            เหตุผลที่ตัดสินใจศึกษาต่อส่วนใหญ่เนื่องจาก

             งานที่บัณฑิตต้องการต้องใช้วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.97 (548 คน)
             เป็นความต้องการของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ร้อยละ 26.55 (364 คน)
             เหตุผลอื่น ๆ ร้อยละ 24.29 (333 คน)
             ไม่ระบุ ร้อยละ 4.67 (64 คน)
             ได้รับทุนศึกษาต่อ ร้อยละ 4.52 (62 คน)

ขอบคุณข้อมูลจาก :
เว็บไซต์กระปุกดอทคอม วันที่ 6 สิงหาคม 2556

  • 06 ส.ค. 2556 เวลา 15:22 น.
  • 10,418

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : มธ. เผย 10 อันดับคณะ บัณฑิตจบใหม่ ได้เงินเดือนสูงสุด

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^