LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

เหตุใดบัณฑิตครูจึงสอบตกมาก : บทวิเคราะห์ โดย ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธาน ส.ค.ศ.ท.

  • 09 ก.ค. 2556 เวลา 09:20 น.
  • 9,747
เหตุใดบัณฑิตครูจึงสอบตกมาก : บทวิเคราะห์ โดย ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธาน ส.ค.ศ.ท.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เหตุใดบัณฑิตครูจึงสอบตกมาก : บทวิเคราะห์ 
โดย ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธาน ส.ค.ศ.ท.
วันที่ 8 กรกฎาคม 2556
 
ข้อมูล (โดยประมาณ) ที่ควรทราบ
1. ปัจจุบันมีสถาบันการผลิตครู 5 ปี จำนวนประมาณ 65 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัย
ของรัฐ (ม.รัฐ) เดิม มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) มหาวิทยาลัยเปิด มหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยเอกชน สถาบันการพลศึกษา สถาบัน
บัณฑิตพัฒนศิลป์ ฯ) 
 
2. ประมาณ 2-3 ปีผ่านมา มีสถาบันที่ผลิตครู ป.บัณฑิต วิชาชีพครู จำนวนประมาณ 140 สถาบัน (คุรุสภา ให้การรับรอง ปัจจุบันยกเลิกการรับรองแล้ว)
 
3. ผู้เข้าสอบมีทั้งหมดมาจาก ม.รัฐ มรภ. มทร. ฯลฯ และเป็นผู้สำเร็จครู 5 ปี ประมาณ 40% ครู 4 ปี ประมาณ 20% และสำเร็จ ป.บัณฑิต ประมาณ 40% 
 
4. เป็นผู้สำเร็จใหม่ประมาณ 30% และเป็นครูอัตราจ้าง ครูพนักงานราชการ ครูเอกชน ครู กศน. ประมาณ 70%
 
5. มหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบมาจากทุกกลุ่ม ประมาณ 15 สถาบัน
 
6. ข้อสอบที่มีมาตรฐานจะต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรการสอบเป็นอย่างดี ออกข้อสอบให้มีจำนวนมากกว่าความต้องการใช้จริง ทั้งนี้ให้ครอบคลุมมีสัดส่วนที่เหมาะสมออกโดยผู้ทรงคุณวุฒิสูงและรู้จริงจำนวนหลายคน ควรมีผู้เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 5 คน มาตรวจสอบคุณภาพ ความเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาและข้อเท็จจริง ปรับปรุงแก้ไข

และสุดท้ายต้องนำไปทดลองใช้ 2-3 ครั้ง จากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่ผู้สอบ พิจารณาว่าจำนวนข้อสอบความยากง่ายเหมาะสมหรือไม่ อำนาจจำแนกเป็นอย่างไร และมีความเที่ยงตรงและเชื่อมั่นเพียงใด
 
7. หลักสูตรการสอบ (คะแนนรวม 350 คะแนน) แบ่งเป็น 3 ภาค ได้แก่
 
ภาค ก (150 คะแนน) แบ่งเป็น
 
ความรอบรู้ (50คะแนน) ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง เหตุการณ์ปัจจุบันวัฒนธรรมและ
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย นโยบายการศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
 
ความสามารถทั่วไป (50 คะแนน) ได้แก่ ความสามารถด้านตัวเลข ด้านภาษา (ไทย) และด้านเหตุผล 
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชีพครู (50 คะแนน) ได้แก่ 
วินัยและการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ
และสมรรถนะวิชาชีพ
 
ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ (150 คะแนน แบ่งเป็น 
ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษา (75 คะแนน) ได้แก่ หลักสูตรและการพัฒนาหลักการสอน การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน จิตวิทยา การวัดผลประเมินผล การวิจัย สื่อและเทคโลยี 
 
วิชาเอก (75 คะแนน) ได้แก่ เนื้อหาวิชาเอกหรือกลุ่ม 
 
ภาค ค ความเหมาะสมกับวิาชีพ (50 คะแนน)
 
8. ลักษณะของข้อสอบเป็นปรนัยเลือกตอบ ในภาค ก และ ข ส่วนภาค ค เป็นการสัมภาษณ์และพิจารณาจากเอกสาร หลักฐาน
 
9. เกณฑ์การตัดสิน ผู้สอบได้ ต้องได้คะแนนในแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 
 
10. มีผู้ผ่านเกณฑ์ไม่เกิน ร้อยละ 10
 
สาเหตุจากธรรมชาติของเนื้อหาวิชา ตัวผู้เข้าสอบ และความบกพร่องของข้อสอบ
 
1. เนื้อหาสาระที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากบริบทปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว
เร็วกว่าปกติ (อาจเนื่องจากการเริ่มเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 และเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคม
อาเซียน) เนื้อหาสาระขาดความชัดเจนไม่แน่นอน ความไม่แน่นิ่งของแนวคิด สาระความรู้ 
ระเบียบ กฎหมาย นโยบายที่ไม่ต่อเนื่อง รวมทั้ง มาตรฐานวิชาชีพครูที่ไม่มีข้อยุติ
ปรับปรุงแก้ไขมากว่า 3 ปียังไม่สามารถประกาศใช้ อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ความก้าวหน้าในวิทยาการ แนวคิดทางการศึกษา 
เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
 
2. บัณฑิตผู้เข้าสอบปัจจุบันยังเป็นผู้เรียนที่มีคุณภาพต่ำก่อนเข้ามาเรียนครู 
(แต่ผู้เรียนปัจจุบันที่กำลังเรียนปีที่ 1-5 เป็นนักเรียนที่ผลการเรียน ม.6 สูง)
และบัณฑิตที่เข้าสอบไม่สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตามข้อ 1 ได้ 
มีความรู้ความเข้าใจไม่กว้างขวาง ไม่ลุ่มลึก จึงไม่สามารถทำข้อสอบได้
 
3. ความบกพร่องของข้อสอบ 
1) ยากเกินไป เกินกว่าบัณฑิตครูเรียนเพื่อไปสอนนักเรียนในระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2) ความยากและจำนวนข้อไม่สอดคล้องกับเวลาที่กำหนดให้
3) ข้อสอบขาดความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ไม่ครอบคลุมหรือมีสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม
4) ข้อสอบออกไม่ตรงตามสิ่งท่ีต้องการวัด เช่น ความสามาถทั่วไป ตามทฤษฎีทางการวัดผลการศึกษาเป็นข้อสอบวัดความถนัด 3 ด้าน คือ ตัวเลข ภาษา (ไทย) และเหตุผล แต่ผู้ออกข้อสอบออกเป็น วัดผลสัมฤทธิ์ จนดูเป็นข้อสอบวิชาเอกคณิตศาสตร์และภาษาไทย
5) ขาดความเป็นปรนัยในคำถาม สับสนในคำตอบและเฉลย ซึ่งเป็นสาเหตุมาจาก ข้อ 1 คือธรรมชาติเนื้อหาวิชา
6) ข้อสอบอาจเน้นสาระของท้องถิ่นของสถาบันผู้ออกข้อสอบ ผู้สอบที่มาจากต่างถิ่นโอกาส
ตอบถูกจึงมีน้อย 
7) บางเขตพื้นที่ ข้อสอบขาดความทันสมัยไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีสาระจำนวนมาก
ที่ไม่มีความชัดเจน เช่น นโยบายกระทรวงและรัฐบาล มาตรฐานวิชาชีพ ฯลฯ จึงทำให้เกิดความ
สับสนทั้งคำถามและคำตอบที่ยังไม่มีข้อยุติ
 
การบริหารจัดการห้องสอบเป็นไปอย่างเคร่งเครียด มีกฎกติกาที่หยุมหยิม ผิดธรรมชาติ 
ของการสอบทั่ว ๆ ไป เช่น ไม่อนุญาตให้นำนาฬิกาเข้าไปในห้องสอบและไม่มีการจัดให้มีนาฬิกา
กลาง ผู้สอบจึงกะประมาณเวลาไม่ได้ เป็นต้น
 
ข้อเสนอแนะ
 
สำหรับสถาบันฝ่ายผลิต
1. พัฒนาระบบการจูงใจและคัดเลือกผู้เรียนที่เป็นคนดี คนเก่ง และมีความรักศรัทธาในความเป็นครู
2. พัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ ลุ่มลึกในเนื้อหาวิชา สามารถติดตาม เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของเนื้อหาสาระ ระเบียบ กฎหมาย นโยบาย สภาพสังคม เศรษฐกิจ แนวคิดการเมือง วัฒนธรรม วิทยาการ แนวคิดทางการศึกษา อย่างทันท่วงที 
 
สำหรับผู้เข้าสอบ
1. จะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวางและลุ่มลึก ติดตามความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตลอดเวลา นึกเสียว่าการเรียนในห้องเรียนที่ผ่านไปไม่อาจจะใช้ได้
ตลอดไป
 
สำหรับผู้ออกข้อสอบ
1. จะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวางและลุ่มลึก ติดตามความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตลอดเวลาจเช่นเดียวกันกับผู้เข้าสอบ
2. ศึกษา ทำความเข้าใจหลักสูตรเนื้อหาการสอบให้ถ่องแท้
3. เรียนรู้และฝึกฝนทักษะในการออกข้อสอบให้มีความชำนาญ
4. ผู้ออกข้อสอบควรมาจากหลายฝ่ายนอกจากอาจารย์มหาวิทยาลัย เช่น มาจากเขตพื้นที่
การศึกษาด้วย 
 
สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยรวมของประเทศ
1. กระทรวงศึกษาธิการ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงานเลขาธิการ ก.ค.ศ. หรือหน่วยงานอื่น รับผิดชอบในการพัฒนาข้อสอบให้มีมาตรฐาน มีระบบการบริหารจัดการสอบที่ทำให้เกิดความถูกต้องเหมาะสมทางวิชาการ เกิดผลดี บริสุทธิ์ ยุติธรรม สำหรับผู้เข้าสอบ (ดูตัวอย่างจาก ก.พ.) 
2. ไม่ควรเปลี่ยน รมต.ศธ.บ่อยนัก หรือหากเปลี่ยนก็ให้คงนโยบายเดิมไว้ให้มีความต่อเนื่อง
3. รมต.ควรให้ความเห็นชอบโดยเร็วหลังการเสนอให้เห็นชอบจากคุรุสภา
 
ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ

 


 
  • 09 ก.ค. 2556 เวลา 09:20 น.
  • 9,747

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เหตุใดบัณฑิตครูจึงสอบตกมาก : บทวิเคราะห์ โดย ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธาน ส.ค.ศ.ท.

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^