LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

นักวิชาการชี้จุดอ่อนหลักสูตรใหม่ของ ศธ.

  • 29 มิ.ย. 2556 เวลา 22:31 น.
  • 3,191
นักวิชาการชี้จุดอ่อนหลักสูตรใหม่ของ ศธ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

นักวิชาการชำแหละร่างหลักสูตรใหม่ ศธ. ระบุยังไม่ชัดเจน-ลักลั่น ชี้เนื้อหากับสาระแยกกันไม่ออก ห่วงครูไทยตีโจทย์ไม่แตกนำไปใช้จริงไม่ได้
 
วันนี้(29มิ.ย.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดี และรักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(มธบ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มธบ.ได้จัดเสวนา"หลักสูตรใหม่จะแก้ปัญหาสังคมไทยได้อย่างไร" ซึ่งตนได้ให้ความเห็นกรณีที่ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สรุปเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรใหม่ และจัดทำร่างโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่ แบ่งเป็น 6 กลุ่มความรู้ ประกอบด้วย กลุ่มภาษาและวัฒนธรรม, กลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์, กลุ่มการดำรงชีวิตและโลกของงาน, กลุ่มทักษะสื่อและการสื่อสาร, กลุ่มสังคมและความเป็นมนุษย์ และ กลุ่มอาเซียน ภูมิภาค และโลก ซึ่งตนมองว่าในภาพรวมของหลักสูตรใหม่นั้น คณะผู้จัดทำมีความพยายามใส่เนื้อหาสาระที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน แต่ยังดูกระท่อนกระแท่น เพราะบางรายวิชาที่นำมาใส่ไว้ในกลุ่มความรู้เป็นเรื่องของกระบวนการ ไม่ใช่เนื้อหาสาระโดยตรง เช่น เนื้อหาเรื่องชีวิตในโลกเสมือนและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่อยู่ในกลุ่มทักษะสื่อฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเห็นว่าหลักสูตรใหม่ยังมีจุดอ่อนตรงที่ไม่ได้มีการพูดถึงเป้าหมายและทิศทางที่อยากให้เด็กไทยเป็นอย่างไรในอนาคตเมื่อเรียนจบหลักสูตรไปแล้ว
 
"หลักสูตรใหม่มีทิศทางที่ดูจะน่าสนใจดี แต่ยังขาดแนวคิดพื้นฐานว่าต้องการไปทางไหนกันแน่ ในแต่ละกลุ่มหลักสูตรยังมีลักษณะที่ค่อนข้างจะหละหลวม เพราะเนื้อหาสารที่ทำมายังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นไปในแนวไหน ยกตัวอย่าง เช่น ในกลุ่มการดำรงชีวิตและโลกของงาน จะมีเนื้อหารายวิชาประกอบด้วย โลกเกษตรกรรม, คหกรรม, นวัตกรรม-เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ, ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ, ชีวิตกับเศรษฐศาตร์, ระบบสุขภาพ, เพศศึกษา และชีวิตกับกฎหมาย ซึ่งผมคิดว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มันสับสนที่สุดเลย คือจะเน้นทางด้านมนุษยศาสตร์ หรือจะเน้นด้านสังคม ส่วนวิชาชีวิตกับเศรษฐศาสตร์ จะเน้นอะไร สังคมหรือจะเน้นธุรกิจ เพราะฉะนั้นในกลุ่มสาระเดียวกันมันมีความไม่ชัดเจนว่าจะเน้นไปในแนวไหนและอย่างไร ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสน นอกจากนี้ผมคิดว่าหลักสำคัญที่สุดคือการตั้งโจทย์ก่อนว่าเราต้องการเห็นคนไทยในอนาคตที่จะอยู่ในสังคมเป็นรูปแบบใดเพื่อให้ทิศทางการร่างหลักสูตรมีความชัดเจนมากกว่านี้" ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
 
รองอธิการบดีมธ.ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ตนยังอยากเห็นการจัดทำหลักสูตรด้วยรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช่การตั้งคณะทำงานแล้วก็ร่างหลักสูตรจากบนลงล่าง แต่ควรจะมีการศึกษาความต้องการหลักสูตรจากล่างขึ้นบน คือการถามความต้องการจากคนในสังคมที่มีหลากหลาย และอยากให้มีแนวทางการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้นจากเดิมที่เด็กส่วนใหญ่จบมัธยมต้นแล้วยังไม่รู้จะทำอะไรก็ต้องต่อมัธยมปลาย บางคนเรียนจบปริญญาตรีแล้วไม่รู้จะทำอะไรอีกก็ต่อปริญญาโท เป็นต้น ดังนั้น ศธ.ควรจะมีแนวทางที่เปิดกว้างมากขึ้น
 
รศ.ดร.พิมพันธ์ เตชะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การปรับเนื้อหาการเรียนรู้จาก 8 กลุ่มสาระมาเป็นหลักสูตร 6 กลุ่มดังกล่าวยังมีความลักลั่น โดยเฉพาะกลุ่มภาษาและวัฒนธรรมกับกลุ่มทักษะสื่อและการสื่อสารซึ่งน่าจะมีเนื้อหาในทางเดียวกัน เพราะทักษะสื่อฯ ถือเป็นเรื่องกระบวนการ ขณะที่ภาษาและวัฒนธรรมจัดเป็นเนื้อหา ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้น่าจะเกี่ยวข้องกัน เช่นเดียวกับกลุ่มการดำรงชีวิตฯ และกลุ่มสังคมฯ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นการเน้นเรื่องสังคม ศาสนา วัฒนธรรม แต่จะแบ่งเป็นส่วนของสังคมภูมิภาคและสังคมโลก เป็นต้น แต่ในส่วนที่ตนเห็นด้วยอย่างมากคือกลุ่มวิทยาศาสตร์ฯ ที่เน้นเรื่องเสต็ม ประกอบด้วย Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) ซึ่งถือเป็นเทรนด์ตามแบบประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่จะให้ความสำคัญกับการสร้างเด็กให้เป็นนวัตกรโดยใช้ฐานสำคัญของวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์
 
"ส่วนกรณีที่คณะทำงานชุดดังกล่าวได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทย จากเดิม 8 ข้อ เหลือ 6 ข้อนั้น เห็นว่าจุดที่น่าสนใจที่สุดคือเรื่องของสำนึกประชาธิปไตย เพราะบ้านเราทุกวันนี้มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง คอร์รัปชั่น และเพศศึกษา ส่วนข้ออื่นๆ ก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิม อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือสมรรถนะผู้เรียนทั้งหลายนั้น จะต้องทำให้เกิดความเข้าใจแก่กลุ่มครูซึ่งเป็นผู้สอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่นักเรียนด้วย เพราะถ้าหลักสูตรเขียนมาอย่างดี แต่ครูผู้สอนไม่สามารถวิเคราะห์หลักสูตรออกมาเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ก็จะไม่เกิดผลลัพธ์อยู่ดี" รศ.ดร.พิมพันธ์ กล่าว.
 
 
  • 29 มิ.ย. 2556 เวลา 22:31 น.
  • 3,191

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : นักวิชาการชี้จุดอ่อนหลักสูตรใหม่ของ ศธ.

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^