LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?

  • 22 พ.ค. 2556 เวลา 14:21 น.
  • 2,790
ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
          เอนก  กระแจ่ม - กวินทรา ใจซื่อ
          "โรงเรียนอยู่ไม่ไกลจากบ้าน ทุกวันยายจะไปรับ-ไปส่ง แต่หากโรงเรียนถูกยุบอย่างที่ผู้ใหญ่เขาคุยกัน  หนูก็ไม่อยากเข้าไปเรียนในเมือง เพราะยายต้องลำบาก ไปรับส่ง สงสารยายแก่มากแล้ว"
 
          เสียงสะท้อนของ เพชรไพริน  เชาวพงษ์  ด้วยวัยเพียง 10 ขวบ เรียนอยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 โรงเรียนบ้านโสกยางต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม   หลังจากทราบถึงข่าวการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก  ในวันประชุมผู้ปกครอง
 
          เพชรไพริน อาศัยอยู่กับ นางทองขาน   ประทิตังโข อายุ 64 ปี  ผู้เป็นยายมาตั้งแต่เกิด ขณะที่บิดาของเด็กหญิงรายนี้เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนรายได้ที่จุนเจือในครอบครัวขณะนี้ มาจาก น้ำพักน้ำแรงของมารดาของ เพชรไพริน ที่ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ซึ่งส่งเสียมาตั้งแต่เกิด  โดยมีนางทองขาน ทำหน้าที่ดูแลหลาน
 
          ทุกเช้าเมื่อไปส่งที่โรงเรียนแล้ว นางทองขาน  ก็จะไปทำไร่ ทำนา ตามวิถีชีวิต  กรณีการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก จึงทำให้ นางทองขานรู้สึกวิตกกังวลถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
 
          "เป็นกังวลไปหมดทุกเรื่อง ความปลอดภัย อุบัติเหตุ ทั้งค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าเดินทางของ ทั้งยายและหลาน หลานยังเด็กมาก หากต้องไปโรงเรียนที่ไกลบ้าน  ก็ต้องเดินทางไปส่งเอง  แต่ยายแก่มากแล้ว จะให้ขึ้นรถเดินทางก็คงจะไม่ไหว หลานเองก็ไม่อยากจะไปโรงเรียนในเมือง  หวังว่าจะไม่มีการยุบโรงเรียนตามที่รัฐบาลออกประกาศ  ยังคงต้องการให้มีโรงเรียนในหมู่บ้านเหมือนเดิม" นางทองขาน กล่าว
 
          ไม่ต่างจาก นางกนกพร  คุณสีขาว  เพื่อนบ้านหมู่บ้านเดียวกันที่แสดงความกังวลว่า หากต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็ก บุตรสาว ซึ่งเรียนอยู่ที่โรงเรียนบ้านโสกยาง ก็ต้องย้ายไปเรียน ใน อ.วาปีปทุม ไกลจากบ้านถึง  7 กิโลเมตร  ความเป็นห่วงและความวิตกกังวลถึงปัญหา ที่จะเกิดขึ้น จากประเด็นนี้ ทำให้ "กนกพร" หันมาสนใจการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีความทัดเทียมกับโรงเรียนในตัวเมืองหรือในจังหวัด โดยเป็นแกนนำพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยชุมชน  เพื่อต่อลมหายใจให้กับโรงเรียนขนาดเล็กที่ก่อตั้งมากว่า 57 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีครู 5 คน  และมีนักเรียน 35 คน
 
          "ตลอด 4 เดือนได้ยินกระแสการยุบโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองสนใจและจับกลุ่ม คุยกันมากขึ้น  ทุกคนไม่ยอมรับแนวคิดในการ ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก  สิ่งที่ชาวบ้านทำได้คือ การรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย  เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน พัฒนาโรงเรียนในด้านวิชาการ ส่วนชุมชนจะใช้ภูมิปัญญาให้ลูกหลานได้เรียนรู้วิชาชีวิต ทั้งสอนทำอาหาร ทอเสื่อ ทอผ้า โครงการเกษตรน้อยในโรงเรียนเล็ก เข้ามาช่วยสอนลูกหลานของเรา สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครอง จะทำให้นำ ลูกหลานกลับมาเรียนในชุมชนเหมือนเดิม" นางกนกพร กล่าว
 
          หนึ่งปีแล้วที่โรงเรียนบ้านหนองอ้อน้อย ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น  ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กปิดตัวลง หลังจากมีนักเรียนอยู่เพียง 4 คน สภาพโรงเรียน อาคารเรียน  อาคารพักครู โรงอาหาร วันนี้จึงถูกทิ้งร้างทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เหลือเพียงร่องรอยโรงเรียนในความทรงจำ
 
          ก่อนจะถูกยุบโรงเรียน ครูได้อธิบายกับนักเรียนและผู้ปกครองถึงความจำเป็น  พร้อมจัดหาโรงเรียนใกล้บ้านให้เป็นที่เรียนใหม่  โดย ด.ช.อุเทน ดอนมะโฮง อายุ 12 ปี  เป็นนักเรียนคนสุดท้ายที่ย้ายไปเรียนต่อในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่โรงเรียนบ้านกุดกว้าง ในตำบลเดียวกัน
 
          นางหลอด  คำอ้อ  ผู้เป็นแม่ บอกว่า  บ้านอยู่ติดกับรั้วโรงเรียนเก่า แต่พอต้องย้ายไปเรียนที่ใหม่แม้จะห่างไปเพียง 1 กิโลเมตร ทุกเช้าลูกจะขี่รถจักรยานไปโรงเรียนเอง  รู้สึกกังวลใจ  แม้ไม่ไกลแต่ก็กลัวเรื่องอันตราย ไกลหูไกลตา คิดไปต่างๆ นานา กลัวกระทั่งเรื่องการขโมยเด็ก
 
          " รู้สึกใจหายที่เห็นโรงเรียนในชุมชนถูกยุบ  คนขับรถผ่านไปมาก็มอง และสอบถามสาเหตุ  โรงเรียนถูกยุบก็เหมือนบ้านไม่มีคนอยู่ เหมือนบ้านร้าง  นับวันก็ทรุดโทรมไปตามเวลา"
 
          การนับถอยหลังรอวันเวลาโรงเรียนถูกยุบ เท่ากับยอมรับคำตัดสินการชี้ชะตาในการก้าวเดิน ซึ่งสำหรับชาวบ้านและผู้บริหารทางการศึกษากลุ่มหนึ่ง เลือกที่จะไม่ให้มีวันนั้น ด้วยการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กในภาคอีสาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ตั้งแต่มีกระแสข่าวว่าจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กเมื่อ 14 ปีที่แล้ว
 
          โรงเรียนฮ่องแฮพยอมหนองม่วง อ.ปทุมรัตต์  จ.ร้อยเอ็ด เป็นตัวอย่างหนึ่งของโรงเรียนที่พยายามทำให้ตัวเองรอดจากการ ถูกยุบ "เสน่ห์ เสาวพันธ์" ผู้อำนวยการโรงเรียน ในฐานะผู้ประสานงานโรงเรียนขนาดเล็กภาคอีสาน บอกว่า โรงเรียนต้องช่วยเหลือตัวเอง โดยได้ร่วมกับทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจุบัน รวมถึง ชาวบ้านในชุมชนจัดวันคืนสู่เหย้า "74 ปี  ฮ่องแฮพยอมหนองม่วงคืนสู่เหย้า" ได้เงินบริจาคกว่า  1 ล้านบาท ซึ่งไม่มากแต่ก็เพียงพอสำหรับนำมาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาการศึกษา
 
          เงินบางส่วนนำมาจัดจ้างครู จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่โดยโรงเรียน ส่วนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเรื่อง พื้นฐานชีวิต มีผู้ปกครองอาสา  ครูภูมิปัญญา สอนเรื่องหมอลำ  การทอผ้า  การย้อมสีธรรมชาติ เป็นการต่อลมหายของโรงเรียนขนาดเล็กโดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐ
 
          "รัฐต้องมองใหม่ว่าโรงเรียนขนาดเล็กไม่ใช่ปัญหาในการพัฒนาการศึกษา   แต่ปัญหาที่แท้จริงเกิดจากนโยบายของกระทรวงที่เน้นให้การศึกษาเป็นเรื่องของการแข่งขัน  มีโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล หรือโครงการโรงเรียนดีประจำอำเภอ เป็นการแบ่งเกรดให้กับโรงเรียน เกิดการเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนด้วยกัน   รัฐไม่มีมิติในด้านอื่นๆ ทั้งความสัมพันธ์ของชุมชน  เด็กกับโรงเรียน การหล่อหลอมที่เกิดขึ้นในชุมชน  เมื่อเด็กต้องย้ายไปเรียนที่อื่นจิตสำนึกที่มีต่อชุมชนก็จะหายไปด้วย"ผู้อำนวยการโรงเรียน แห่งนี้กล่าว
 
          'รู้สึกใจหายที่เห็นโรงเรียนในชุมชนถูกยุบ โรงเรียนถูกยุบก็เหมือนบ้านไม่มีคนอยู่ นับวันก็ทรุดโทรมไปตามเวลา'
          หลอด คำอ้อ
 
 
  • 22 พ.ค. 2556 เวลา 14:21 น.
  • 2,790

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ยุบ'โรงเรียนขนาดเล็ก'สะท้อนภาพชุมชน ยังมีคำถาม...?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^