LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ครูใต้เห็นต่าง ชี้ “ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก” ทั้งได้และเสีย รัฐต้องแจงให้ชุมชนเข้าใจ

  • 11 พ.ค. 2556 เวลา 08:45 น.
  • 2,369
ครูใต้เห็นต่าง ชี้ “ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก” ทั้งได้และเสีย รัฐต้องแจงให้ชุมชนเข้าใจ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

บุคลากรด้านการศึกษาในภาคใต้ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ระบุจะเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ปกครอง และเสียดายความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของชุมชนใกล้โรงเรียน แต่ยอมรับว่า โรงเรียนขนาดใหญ่จะทำให้เด็กมีโอกาสทางการศึกษาที่ดีกว่า หากจะยุบรัฐต้องชี้แจงให้ชุมชนเข้าใจด้วย
 
นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต
 
        
       กรณีที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่ามีนโยบายที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ ที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 60 คน และให้เด็กนักเรียนไปเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับในส่วนของ จ.ภูเก็ต มี 4 โรงเรียนที่เข้านโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย โรงเรียนเกาะนาคา มีนักเรียน จำนวน 15 คน โรงเรียนเกาะโหลน มีนักเรียน จำนวน 12 คน ซึ่งโรงเรียนทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่บนเกาะ ตรงส่วนนี้เราไม่มีโยบายที่จะยุบ เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องของการเดินทางของนักเรียนที่จะมาเรียนบนบก
       
       ส่วนโรงเรียนอีก 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านโคกวัดใหม่ มีนักเรียน จำนวน 49 คน กับโรงเรียนบ้านในทอน มีนักเรียน จำนวน 17 คน เราจะต้องถามความเห็นต่อทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ว่า ระหว่างยุบกับไม่ยุบสถานศึกษาทั้ง 2 แห่งดังกล่าว อย่างไหนดีกว่ากัน ซึ่งเราก็ต้องกลับมาคุยถึงผลดีผลเสียอีกครั้ง โดยเราจะยึดผลประโยชน์ของเด็กกับผู้ปกครองเป็นหลัก
       
       “บางโรงเรียนก็ไม่คุ้มค่าในการจัดการศึกษา เด็กสามารถที่จะไปเรียนโรงเรียนอื่นได้ อย่างโรงเรียนโคกวัดใหม่ ถ้าชุมชนบอกว่าให้ยุบได้ เราก็มีรถตู้บริการในการรับส่งเด็กก็จะไม่เดือดร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงศักยภาพของโรงเรียนใน จ.ภูเก็ต แล้วเรายังดูแลตัวเองได้ ไม่เป็นปัญหา ประกอบกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตก็ได้ว่าจ้างครูกว่า 200 คน ส่งไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทำให้เรามีครูเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน” นายชลำกล่าว
       
       ขณะเดียวกัน คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ เห็นด้วยว่ายุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่รัฐต้องบริหารจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเด็กนักเรียน และผู้ปกครอง เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาเล่าเรียนในตัวเมืองเพิ่มขึ้น
       
       นางประหยัด ศรีบุญชู คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ความคิดเห็นส่วนตัวของตนซึ่งเคยเป็นข้าราชการครู และเป็นผู้บริหารโรงเรียนมาก่อน เห็นด้วยที่จะให้มีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากในปัจจุบัน สังคมมีความเจริญมากขึ้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ตามชนบทห่างไกลจะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองกันเพิ่มขึ้น โดยเห็นได้ในหลายพื้นที่ และบางโรงเรียนมีรถของโรงเรียนรับส่งนักเรียนถึงบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปกครอง
       
       คณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ ยังกล่าวอีกว่า และจากที่เคยเป็นข้าราชการครูและได้เห็นการยุบควบรวมโรงเรียนมาก่อนหน้านี้ในพื้นที่ จ.กระบี่ สามารถทำได้ดี เด็กมีการเรียนที่ดีขึ้น ครูก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สามารถทำการสอนเรียนได้ตรงตามความถนัดของครู ซึ่งต่างกับก่อนที่จะมีการยุบควบรวม ครูคนเดียวต้องทำหน้าที่หลายอย่าง ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงภารโรงก็มี และที่สำคัญ การบริหารจัดการของครูก็ไม่ต่างจากโรงเรียนใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ โรงเรียนเล็กส่วนใหญ่จะเป็นลูกหลานของแรงงานต่างถิ่นมีการย้ายมาย้ายไปตลอด
       
       นางประหยัด กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับความคิดเห็นของตนเองอาจจะไม่ถูกใจผู้ปกครองนัก แต่ด้วยความเป็นจริง และไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ผู้ปกครองในพื้นที่ชนบทส่งลูกหลานเข้ามาเรียนในเมืองกันหมด จึงทำให้โรงเรียนมีขนาดเล็กลง และบางแห่งมีนักเรียนน้อยจนต้องปิดโรงเรียน แต่ทั้งนี้ การยุบควบรวมโรงเรียนให้ได้ผลดี ทางรัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียน เนื่องจากหากมีการยุบรวมโรงเรียนก็ทำให้การเดินทางไกลลำบากมากขึ้น รัฐต้องเข้ามาดูแลด้วย ไม่ใช่ยุบรวมแล้วแล้วก็จบกัน ต้องติดตามผลกระทบต่อนักเรียนที่ตามมา และแก้ไขด้วย 
 
นายบุญเสริม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
        
       ด้านนายบุญเสริม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ความเห็นว่า โดยส่วนตัวมีทั้งส่วนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ส่วนที่เห็นด้วย เพราะโรงเรียนขนาดเล็กจะมีความพร้อมด้านการศึกษาน้อยกว่าโรงเรียนที่ใหญ่กว่า ทั้งด้านอุปกรณ์การเรียน บุคลากร และโอกาสทางการศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ สำหรับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรวบรวมนักเรียนที่กระจัดกระจายอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ มาเรียนรวมกันที่โรงเรียนขนาดใหญ่กว่า น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งบุคลากร และเครื่องไม้เครื่องมือ เรื่องคุณภาพการศึกษา โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่า มีเครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนเยอะกว่า ย่อมจะดีกว่า
       
       และในส่วนที่ไม่เห็นด้วย คือ จะเกิดข้อเสียตามมา โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียน รวมทั้งความสะดวกของประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นหน้าที่ของ สพฐ.ที่จะต้องชี้แจงให้ประชาชนในแต่ละชุมชนเข้าใจ เนื่องจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีพื้นที่ยากจนอยู่ ถ้านักเรียนจะต้องเดินทางไกล จากเดิมที่บ้านห่างจากโรงเรียนไม่ถึง 1 กม. ต้องเดินทางไกลกว่าเดิมมากขึ้น จะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น และเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยระหว่างการเดินทางด้วย 
       
       สอดคล้องกับ น.ส.ซาวีรา เบ็ญลาเตะ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านทำนบ สภป.นธ.3 อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งกล่าวว่า ทั้งไม่เห็นด้วย และเห็นด้วยในบางประเด็น เนื่องจากการยุบโรงเรียนจะส่งผลใน 2 ลักษณะ อย่างแรกคือ จะเพิ่มศักยภาพทางการเรียนแก่ตัวนักเรียนเอง และลดปัญหาความไม่พร้อมในด้านงบประมาณ เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนน้อย งบประมาณสนับสนุน หรือค่าหัวเด็กก็จะน้อยไปตามจำนวน ส่งผลให้เด็กขาดสื่อการสอน หรืออุปกรณ์การเรียน และทำให้เด็กที่อยู่โรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสในการเรียนรู้น้อยลง
       
       แต่อีกมุมหนึ่ง ผอ.ซาวีรา กลับมองว่า การยุบโรงเรียนขนาดเล็กจะส่งผลต่อผู้ปกครองของนักเรียนโดยตรง ซึ่งผู้ปกครองเองก็ต้องการที่จะให้ลูกหลานเรียนใกล้บ้าน เนื่องจากระยะทางการไปส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ความพร้อมในเรื่องรายได้ส่งเสียค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน และความผูกพันระหว่างโรงเรียน และคนในหมู่บ้าน
       
       “ทางออกที่ดีสุดของการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก คือ รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องงบประมาณ และไม่ทอดทิ้งโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะนั่นจะยิ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความไม่พร้อมในเรื่องระบบการศึกษาของไทย” ผอ.โรงเรียนบ้านทำนบกล่าว
       
       ด้านนางดารี ประหยัดทรัพย์ ครูโรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา กล่าวไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนขนาดเล็กว่า จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ รัฐบาลน่าจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ ตนรู้สึกสงสารเด็กในชุมชนที่จะต้องย้าย หรือหาโรงเรียนใหม่ที่ไกลจากบ้าน และมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กบ้างคนไม่ได้เล่าเรียนต่อ อาจจะต้องอยู่บ้านแทน ถ้าหากโรงเรียนขนาดเล็กเปิดสอนปกติจะเปิดโอกาสให้เด็กที่ด้อยโอกาสในการเรียนได้มีการศึกษา พนักงาน และข้าราชการครูจะได้สอนในโรงเรียนเดิมไม่ต้องโยกย้ายไปตามโรงเรียนต่างๆ
 
 
  • 11 พ.ค. 2556 เวลา 08:45 น.
  • 2,369

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ครูใต้เห็นต่าง ชี้ “ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก” ทั้งได้และเสีย รัฐต้องแจงให้ชุมชนเข้าใจ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^