LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (วันที่ 30 เมษายน 2556)

  • 01 พ.ค. 2556 เวลา 08:31 น.
  • 20,055
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (วันที่ 30 เมษายน 2556)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครม.อนุมัติการจัดทำบันทึกความตกลงกับฟิลิปปินส์ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนครู
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ อนุมัติการจัดทำบันทึกความตกลงกับฟิลิปปินส์ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนครู และประกาศใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เพื่อให้เป็นแบบมาตรฐานสำหรับใช้ในการเขียนหนังสือไทย
 
 
- อนุมัติการจัดทำบันทึกความตกลงกับฟิลิปปินส์ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนครู 
 
ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 
 
1) อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนครู (Memorandum of Agreement between the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand and the Department of Education of the Republic of the Philippines on Exchanges of Professional Teachers) ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ ศธ.หารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แทน ครม.โดยไม่ต้องนำเสนอ ครม.พิจารณาอีกครั้ง
 
2) อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม ในบันทึกความตกลงดังกล่าว 
 
3) อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามในข้อ 2 ซึ่งการจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม เป็นกรณีการทำความตกลงในระดับหน่วยงานของรัฐไม่ใช่ระดับรัฐหรือรัฐบาล  ไม่เข้าลักษณะการทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2555 จึงไม่จำเป็นต้องให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม เพื่อการลงนามดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 
 
บันทึกความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้ 
 
1. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายในการส่งเสริมความสามารถและสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูในสถานศึกษา ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนครูหนึ่งภาคการศึกษา ซึ่งเริ่มต้นในปีการศึกษาปัจจุบัน และจะมีการขยายโครงการออกไปอีกหนึ่งปีการศึกษาหากประเมินผลการดำเนินงานแล้วเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้โครงการแลกเปลี่ยนจะครอบคลุมถึงการแนะนำให้ครูของคู่ภาคีได้รับรู้ถึงกิจกรรมประจำวันในโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา และโรงเรียนเทคนิคและอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อสิ้นสุดการแลกเปลี่ยนครูทุกครั้ง ให้ครูที่เข้าร่วมโครงการประชุมร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนในโรงเรียนของแต่ละฝ่าย บนพื้นฐานของปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในหมู่เพื่อนร่วมวิชาชีพและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาอื่นๆ 
 
2. บทบาทและภาระหน้าที่ของคู่ภาคีฝ่ายจัดส่ง คู่ภาคีจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่น แสวงหาและคัดเลือกครูในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา และวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งจะจัดส่งไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่งบนพื้นฐานของความเข้าใจร่วมกันว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเป็นครูที่กระตือรือร้นและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดปรกติของภาคีแต่ละฝ่าย นอกจากนี้ให้คู่ภาคีจัดให้มีความช่วยเหลือก่อนการเดินทาง ซึ่งครอบคลุมถึงการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการตรวจคนเข้าเมืองและเอกสารการเดินทางของครูที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งให้ภาคีฝ่ายจัดส่งรับผิดชอบค่าเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมทั้งค่าประกันการเดินทางระหว่างสถานที่ซึ่งครูไปปฏิบัติงานจนถึงเมืองหลวง ซึ่งรวมถึงค่าเบี้ยเลี้ยงและสิทธิอื่นๆ ระหว่างการเดินทางด้วย ฯลฯ
 
3. บทบาทและภาระหน้าที่ของคู่ภาคีฝ่ายรับ คู่ภาคีมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการให้การสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ กำหนด คัดเลือก และตรวจสอบโรงเรียนและสถานที่ซึ่งครูที่เข้าร่วมโครงการจะไปปฏิบัติงาน รวมทั้งแจ้งข้อมูลดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่จัดส่งครู พร้อมทั้งให้คู่ภาคีฝ่ายรับมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการปฐมนิเทศ บริการสนับสนุน และการกำกับดูแลครูที่เข้าร่วมโครงการ และให้คู่ภาคีฝ่ายรับประสานกับผู้บริหารการศึกษาและผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาในสถานที่และโรงเรียนต่างๆ ที่ครูจะไปปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าครูที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับบริการพื้นฐานที่เหมาะสม ตลอดจนให้คู่ภาคีฝ่ายรับจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าตอบแทนและเบี้ยเลี้ยงในอัตราที่เหมาะสมสำหรับครูที่เข้าร่วมโครงการ โดยครอบคลุมถึง ค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ อาทิ เหตุฉุกเฉิน การส่งกลับประเทศ และ การอพยพเคลื่อนย้ายตามสถานการณ์ที่จำเป็นบางประการ เป็นต้น 
 
4. การระงับข้อพิพาท ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความและ/หรือการดำเนินการตามความตกลงนี้จะได้รับการระงับฉันท์มิตร ด้วยการเจรจาต่อรองและการปรึกษาหารือกันระหว่างคู่ภาคี 
 
5. การบังคับใช้ ความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ นับตั้งแต่วันที่ได้รับการลงนามเป็นต้นไป 
 
6. การสิ้นสุดความตกลงฉบับนี้ จะสิ้นสุดลงได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบร่วมกันของคู่ภาคีเป็นลายลักษณ์อักษร และบริการต่างๆ ของครูที่เข้าร่วมโครงการอาจยุติลงก่อนวันเสร็จสิ้นโครงการตามที่กำหนดไว้เดิม เมื่อได้รับความเห็นชอบร่วมกันของคู่ภาคีเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ความตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปี และจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติอีก 1 ปี อย่างไรก็ตามความตกลงฉบับนี้จะสิ้นสุดลงได้ โดยภาคีแต่ละฝ่ายจะต้องเสนอหนังสือแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร 3 เดือนล่วงหน้า ผ่านช่องทางทางการทูต 
 
- เห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด 
 
ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ตามที่ราชบัณฑิตยสถาน (รถ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 
สาระสำคัญ โดยที่ รถ.เป็นสถาบันหลักทางภาษา ภารกิจหนึ่งคือ การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดนี้ เพื่อให้ทางราชการ โรงเรียน และประชาชนมีแบบมาตรฐานสำหรับใช้ในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน 
 
นอกจากนี้ คณะกรรมการชำระพจนานุกรมได้พิจารณาชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยปรับแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามของคำศัพท์ทั่วไปและคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชา เก็บคำศัพท์ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในภาษาไทยและเป็นที่รู้จักแพร่หลายแต่ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรม ที่สำคัญคือ ได้เก็บคำศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการพัฒนาเรื่องดิน น้ำ ป่าไม้ และบัดนี้ คณะกรรมการชำระพจนานุกรมได้ชำระพจนานุกรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใช้ชื่อว่า “พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554” 
 
ดังนั้น จึงยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2545 และให้ใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เพื่อให้เป็นแบบมาตรฐานสำหรับใช้ในการเขียนหนังสือไทย
 
 
  • 01 พ.ค. 2556 เวลา 08:31 น.
  • 20,055

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (วันที่ 30 เมษายน 2556)

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^