LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

วิจัยพบเนื้อหาแท็บเล็ตไม่หนุนการสอน

  • 27 มี.ค. 2556 เวลา 09:05 น.
  • 2,195
วิจัยพบเนื้อหาแท็บเล็ตไม่หนุนการสอน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ตัวชี้วัดหลักสูตรเคร่งบูรณาการยาก จี้ ศธ.ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
 
นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง นักวิจัยโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การปฏิรูป การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความรับผิดชอบ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า จากการวิจัยโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาแกนกลางของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า เนื้อหาหลักสูตรแกนกลางปีการศึกษา 2551 ที่จัดทำขึ้นล่าสุดนั้น มีการสอดแทรกแนวคิดการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปมากขึ้น แต่ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินผลตามตัวชี้วัดในมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มมีความละเอียดและซ้ำซ้อน ส่งผลให้เนื้อหาหลักสูตรที่เรียนในแต่ละโรงเรียนไม่แตกต่างกัน เพราะจะต้องปฏิบัติตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.1-6 ยังอยู่ที่เรื่องการแนะนำ แสดงให้เห็นว่าความซ้ำซ้อนของเนื้อหาว่ามีค่อนข้างมาก ทั้งตัวชี้วัดก็มีความละเอียดมาก ทำให้การสอนเชิงบูรณาการทำได้ยาก
 
แท็บเล็ต ป.1

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
 
“โครงสร้างชั่วโมงเรียนของเด็กไทย พบว่า เด็กประถมเรียนไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง ม.ต้นไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง ม.ปลาย ไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง เทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มีชั่วโมงเรียนเฉลี่ยของนักเรียนอยู่ที่ประมาณ 700-800 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้น นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะให้ลดชั่วโมงเรียนของเด็ก จำเป็นต้องพิจารณาเนื้อหาและวิธีการสอนของครูด้วยว่าควรปฏิบัติอย่างไร โดยอาจเน้นเฉพาะการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นจากการเรียนในแต่ละวิชา ควบคู่กับการสอนผ่านโครงงานเพื่อให้เด็กฝึกปฏิบัติจริง และสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้มากขึ้น” นายวรพจน์กล่าวและว่า สำหรับเนื้อหาการเรียนผ่านแท็บเล็ตพบว่า การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนยังทำได้ไม่ดี เนื้อหาเน้นการแปลงจากหนังสือเรียนมาเป็นไฟล์พีดีเอฟ ดังนั้น ศธ.ควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น เทคนิคเสมือนจริง เพื่อเรียนรู้แผ่นดินไหว ซึ่งเด็กจะเห็นภาพ 3 มิติ หรือภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น.
 
 
  • 27 มี.ค. 2556 เวลา 09:05 น.
  • 2,195

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : วิจัยพบเนื้อหาแท็บเล็ตไม่หนุนการสอน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^