LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สทศ.ฟุ้ง 5 วิชาหลัก O-NET ม.6 คะแนนกระเตื้อง แม้ไม่ถึง 50%

  • 25 มี.ค. 2556 เวลา 23:10 น.
  • 2,718
สทศ.ฟุ้ง 5 วิชาหลัก O-NET ม.6 คะแนนกระเตื้อง แม้ไม่ถึง 50%

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“สัมพันธ์” ฟุ้ง O-NET ม.6 ภาพรวมดีขึ้น แม้ไม่ถึง 50% แต่มีคะแนนกระเตื้อง 5 วิชาหลัก ด้าน “ชินภัทร” รับยังไม่พอใจ แต่มองอย่างเป็นธรรม ชี้เป็นช่วงร่วมกับเขตพื้นที่กำหนดเป้าให้คะแนน O-NET เพิ่มปีละ 3% เร่งเดินหน้าพัฒนาปรับการเรียนการสอน ขณะที่ “สมพงษ์” จวกเป็นพัฒนาการเทียม ชี้การออกข้อสอบของ สทศ.และการสอน สพฐ.ไม่สอดคล้องกันแนะให้หันมาพูดคุย
 
       รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สทศ.ได้ประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยเป็นที่น่าพอใจ โดยเพิ่มขึ้นใน 5 วิชาหลัก ดังนี้ ภาษาไทย เพิ่มขึ้น 5.31 คะแนน วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น 5.20 คะแนน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพิ่ม 2.88 คะแนนศิลปะ เพิ่มขึ้น 4.19 คะแนน และภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้น 0.33 คะแนน คณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยเท่าเดิม 22.73 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยลดลง 2 วิชาคือ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ลดลง 2.96 คะแนน และสุขศึกษาลดลง 0.91 คะแนน ขณะที่ความยากง่ายของข้อสอบไม่ต่างจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สาเหตุที่นักเรียนทำคะแนนได้ดีขึ้น เป็นเพราะระดับนโยบาย ผลักดันให้มีการนำคะแนนไปใช้อย่างจริงจัง ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษา ที่ให้มีผลต่อการปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียน และผู้สอน รวมถึงมีผลต่อการเข้าศึกษาต่อของนักเรียน ทำให้เด็กตั้งใจสอบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนนักเรียนที่สอบได้ 0 คะแนน นั้น ต้องดูเป็นรายกรณีเพราะเท่าที่ดูมีทั้งนักเรียนที่ไม่ทำข้อสอบ และทำข้อสอบแต่ไม่ถูกเลย ตรงนี้ต้องไปวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุใด
       
       “แม้คะแนนในภาพรวมของเด็กจะเพิ่มขึ้นแต่ ก็ยังไม่ถึง 50% เพราะ ข้อสอบ O-NET เป็นข้อสอบแบบรวบยอดใช้เพื่อประเมินคุณภาพการเรียนการสอนในระดับชั้น ม.ปลาย ดังนั้น จึงต้องมีเนื้อหาสาระ ตั้งแต่ชั้น ม.4-6 ไม่ได้ออกเฉพาะเนื้อหา ม.6 เท่านั้น ซึ่งต่อไปโรงเรียนจะต้องปรับการเรียนการสอน ให้มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น โดยที่ผ่านมา สทศ.ก็ได้ทำความเข้าใจกับโรงเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาข้อสอบแล้ว” รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว
       
       ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ภาพรวมตนยังไม่ค่อยพอใจผลคะแนน O-NET ม. 6 เท่าที่ควร แต่ก็ต้องมองด้วยความเป็นธรรมว่า ในระยะแรกที่เริ่มสอบ O-NET นั้น หลายวิชาได้คะแนนเฉลี่ยแค่เพียง 30% เพราะฉะนั้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ สพฐ.ทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเร่งที่พัฒนาการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ โดยตั้งเป้าไว้ว่า คะแนนO-NET ในแต่ละะปีจะต้องเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 3% พยายามหาจุดอ่อนในวิชาที่คะแนนต่ำมากๆ มาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น เมื่อดูคะแนน O-NET ไม่ได้ดูเฉพาะว่า วิชาใดบ้างที่ได้คะแนนไม่ถึงครึ่งหรือ 50% แต่ควรจะดูพัฒนาการของคะแนนมากกว่า ทั้งนี้ หากสามารถเพิ่มคะแนนO-NETได้ปีละ 3% ต่อเนื่อง 5 ปี คะแนน O-NET ก็จะใกล้เคียง 50% เอง
       
       อย่างไรก็ตาม คะแนน O-NET ปีการศึกษา 2555เพิ่มสูงขึ้นจำนวน 5 วิชา คือ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมศิลปะ และภาษาอังกฤษ จึงถือเป็นสัญญาณที่ดีระดับหนึ่ง ส่วนวิชาที่คะแนนลดลง คือ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และสุขศึกษา นั้น สพฐ.ต้องเร่งมือ จัดทำเครื่องมือเรียนรู้ในวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย แม้จะได้คะแนนสูงขึ้นแต่ก็ต้องพัฒนาเพิ่ม เพราะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ทุกวิชา โดยสาเหตุหลักที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรนั้น เพราะขาดปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครูที่มีคุณภาพ สื่อการเรียนการสอนก็ไม่มีความหลากหลาย ไม่เพียงพอ รวมไปถึงอุปกรณ์การทดลอง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักเรียนไทยทำคะแนนด้านวิทยาศาสตร์ได้ไม่ดี เพราะไม่ค่อยได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้การประเมินระดับชาติไม่ดีด้วย เพราะโจทย์ส่วนใหญ่จะเน้นความเข้าใจในระดับปฏิบัติ แต่เด็กทำไม่ได้ เพราะเน้นเรียนจากหนังสือจึงจิตนาการไม่ออก
       
       ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถึงคะแนน O-NET รอบนี้จะมีบางฝ่ายมองว่ามีพัฒนาการ แต่ตนถือว่าเป็นพัฒนาการเทียม ที่ไม่น่าพอใจ และถือว่าพัฒนาการแท้จริงไม่ได้ดีขึ้นเลย ซึ่งเรื่องนี้เริ่มจากนโยบายส่วนกลางที่ให้ความสำคัญกับ O-NET มากเกินไป ทั้งมีส่วนกับการสมัครเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 มีผลต่อคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร หรือ GPAX ของนักเรียน มีผลต่อการยื่นประเมินให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะของครู และมีผลต่อการประเมินเลื่อนโยกย้ายตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เรื่องนี้ทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นจะเพิ่มคะแนน O-NET จนเกิดการติวเตอร์ให้นักเรียนอย่างดุเดือดของโรงเรียน ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา แต่คะแนนกลับไม่สูงตามหวัง พอจะวิเคราะห์ได้ว่า เพราะการออกข้อสอบ O-NET ของ สทศ.กับกระบวนการเรียนการสอนของ สพฐ.ไม่สอดคล้องกันเพราะฉะนั้น สทศ.และ สพฐ.ควรคุยกันเพื่อวางแนวทางให้สอดคล้องกันซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ
       
       “ที่ผ่านมาถึงแม้ สทศ.จะจับมือ สพฐ.ในการส่งครูไปช่วยออกข้อสอบ O-NET แต่ก็เป็นครูจำนวนน้อย และถือเป็นการสร้างภาพเท่านั้น เพราะแท้จริงคนที่ออกข้อสอบ่วนใหญ่จะเป็นครูโรงเรียนสาธิตและอาจารย์มหาวิทยาลัยอยู่ ขณะที่ สทศ.เองก็ไม่ได้ปรับตัวกับการออกข้อสอบอะไรเลย เพราะการออกข้อสอบเกือบ 100% จะมีความยากง่ายระดับยากถึงยากมาก ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ได้ข้อมูลมาจากบอร์ดบริหาร สทศ.ด้วย” อาจารย์ประจำคณะครุฯ จุฬาฯ กล่าว
 
 
  • 25 มี.ค. 2556 เวลา 23:10 น.
  • 2,718

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สทศ.ฟุ้ง 5 วิชาหลัก O-NET ม.6 คะแนนกระเตื้อง แม้ไม่ถึง 50%

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^