LASTEST NEWS

28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567

ผลวิจัยแท็บเล็ต ม.1 เบื้องต้นพบกระตุ้นการเรียนรู้ เด็กใช้นานเกินชั่วโมงบ่นปวดตา-ทำนิ้วล็อก

  • 12 ก.พ. 2556 เวลา 21:49 น.
  • 3,540
ผลวิจัยแท็บเล็ต ม.1 เบื้องต้นพบกระตุ้นการเรียนรู้ เด็กใช้นานเกินชั่วโมงบ่นปวดตา-ทำนิ้วล็อก

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ผู้ปกครองห่วงขาดทักษะการเขียน - เข้าถึงเว็บไซต์ไม่เหมาะสม
 
     โรงเรียนหอวัง กรุงเทพ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.56 นายสยาม เจริญเสียง หัวหน้าโครงการวิจัยนำร่องการประยุกต์และบูรณาการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เพื่อการเรียนการสอนในระดับชั้น ม.1 เปิดเผยผลวิจัยโครงการฯ เบื้องต้นว่า โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยได้เริ่มอบรมครูที่จะมานำร่องใช้แท็บเล็ต ม.1 ตั้งแต่เดือน ต.ค.55 จากนั้นได้มอบหมายให้ครูแต่ละวิชาหลักที่นำร่อง ได้แก่ ภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา มาเตรียมทำแผนการสอน และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนแผนการสอนกันระหว่างโรงเรียน 4 แห่งที่นำร่อง ได้แก่ โรงเรียนวัดราชาธิวาส โรงเรียนทวีธาภิเษก ทดลองใช้แท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และโรงเรียนหอวัง ทดลองระบบปฏิบัติการไอโอเอส
 
     ทั้งนี้ การวิจัยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค.56 ใช้วิธีสังเกตการณ์ สัมภาษณ์ และประเมินผลนักเรียนหลังการใช้แท็บเล็ต ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลอยู่ และคาดว่าจะวิจัยเสร็จสิ้น พร้อมประกาศผลได้ในเดือน มี.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอ ศธ.ต่อไป อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยข้อมูลในเบื้องต้นของ 4 โรงเรียน พบว่า แท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน จะนำมาใช้แทนครูผู้สอนไม่ได้ โดยสามารถช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างดี ทำให้เด็กรู้จักการวางแผน มีการตั้งสมมุติฐาน ฝึกให้เด็กได้คิด มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งถือว่าตรงตามเป้าหมายที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้วางไว้ นอกจากนี้ยังพบว่าทำให้เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียนมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว 
 
     ส่วนเรื่องสุขภาพ จากการสอบถามเด็กส่วนใหญ่ระบุว่า ถ้าใช้แท็บเล็ตต่อเนื่องเป็นเวลานานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไปจะเริ่มปวดตา และบางครั้งเกิดอาการนิ้วล็อกด้วย ขณะที่เนื้อหาที่จะบรรจุใส่แท็บเล็ตนั้น ขณะนี้จะใช้จากการโหลดแอพพลิเคชั่น ฟรีจากเครื่องเท่านั้น ซึ่งยังมีน้อย ดังนั้นในระยะยาวผู้วิจัยมองว่าควรจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการจัดทำเนื้อหา เพื่อความยั่งยืนมากขึ้น 
 
     นายสุริยา นัฏสุภัคพงศ์ นักวิจัยในฐานะดูแลโครงการนำร่องฯ ประจำโรงเรียนหอวัง กล่าวว่า ผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ครูยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในห้องเรียน เพราะเป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ขณะที่แท็บเล็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการเท่านั้น ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมพร้อมครูให้ดี เพื่อให้สามารถทำแผนการสอนที่นำแอพพริเคชั่นมาใช้ประยุกต์ใช้เรียนได้ นอกจากนี้ยังพบว่าแต่ละวิชาที่นำร่อง ไม่มีวิชาใดโดดเด่นกับการเรียนแท็บเล็ตมากกว่ากัน เพราะขึ้นอยู่ที่เทคนิคการสอนของอาจารย์ผู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ
 
     นายณัฐชัย ชัยปรารถนา ผู้ปกครอง กล่าวว่า จากการติดตามการใช้แท็บเล็ตของลูกขณะที่อนำมาใข้ที่บ้าน พบว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องแท็บเล็ตอย่างเต็มที่ อาทิ ค้นหาข้อมูล ฝึกฟังการออกเสียงภาษาอังกฤษ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กมีความสนใจกับการเรียนรู้มากขึ้น แต่มีข้อเสียคือ เด็กไม่ได้ฝึกเขียนเลย จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้คำนึงในเรื่องนี้ด้วย ส่วนสิ่งที่กังวลว่าเด็กจะเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมนั้น เท่าที่สังเกตยังไม่พบปัญหานี้
 
 
  • 12 ก.พ. 2556 เวลา 21:49 น.
  • 3,540

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ผลวิจัยแท็บเล็ต ม.1 เบื้องต้นพบกระตุ้นการเรียนรู้ เด็กใช้นานเกินชั่วโมงบ่นปวดตา-ทำนิ้วล็อก

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^