LASTEST NEWS

07 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 07 ม.ค. 2568สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รับสมัครคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน จำนวน 32 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2568 06 ม.ค. 2568(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 ม.ค. 2568โรงเรียนบ้านป่าเลา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 10 มกราคม 2568 05 ม.ค. 2568โรงเรียนวัดลาดหวาย รับสมัครครูอัตราจ้าง จำนวน 2 อัตรา 05 ม.ค. 2568สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ขอเชิญสถานศึกษาส่งผลงานเพื่อเข้ารับการคัดสรรรางวัล "หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม" ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 7-31 มกราคม 2568 04 ม.ค. 2568โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 13-19 ม.ค.2568 04 ม.ค. 2568สำนักงาน สกร.ยโสธร รับสมัครพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งนิติกร 1 อัตรา และตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล 1 อัตรา สมัครด้วยตนเอง ตั้งแต่ 6-10 ม.ค.2568 04 ม.ค. 2568ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการชี้แจง ระบบย้ายข้าราชการครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ Teacher Rotation System : TRS 03 ม.ค. 2568สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย (รอบ 3) จำนวน 9 อัตรา รายงานตัววันที่ 8 มกราคม 2568

สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ขอเชิญสถานศึกษาส่งผลงานเพื่อเข้ารับการคัดสรรรางวัล "หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม" ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 7-31 มกราคม 2568

  • 05 ม.ค. 2568 เวลา 19:07 น.
  • 1,104
สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ขอเชิญสถานศึกษาส่งผลงานเพื่อเข้ารับการคัดสรรรางวัล "หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม" ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 7-31 มกราคม 2568

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ขอเชิญสถานศึกษาส่งผลงานเพื่อเข้ารับการคัดสรรรางวัล "หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม" ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 7-31 มกราคม 2568

ประกาศสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา
เรื่อง การส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจําปี 2568


1. หลักการและเหตุผล
การคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ของคุรุสภาเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาวิชาชีพ ที่มุ่งให้สถานศึกษาทุกสังกัดที่มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่ํากว่าปริญญาตรีทั้งของรัฐและเอกชน ได้ให้ความสําคัญ และตื่นตัวในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบท เป้าหมายการพัฒนา และสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาสํานักงานเลขาธิการคุรุสภาดําเนินการคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” เป็นประจําทุกปีทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลงานนวัตกรรมต้นแบบที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลการดําเนินงานที่ผ่านมามีผลงานนวัตกรรมต้นแบบที่ผ่านการคัดสรรจากคุรุสภา ให้เป็นผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม “ระดับประเทศ” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – 2567 รวม 21 ปี จํานวน 1,623 ผลงานและมีการถอดบทเรียนความสําเร็จของผลงานนวัตกรรมต้นแบบเผยแพร่ไปยังสถานศึกษา และผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย

2.วัตถุประสงค์
การคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
2.1 เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาได้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และเป็นนวัตกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยเกิดการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา
2.2 เพื่อเผยแพร่ผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมต้นแบบที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ
2.3 เพื่อยกย่องสถานศึกษา และผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ได้รับรางวัล “หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม”

3. ประเภทผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม”
สถานศึกษาทุกสังกัด และทุกระดับที่มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาต่ํากว่าปริญญาตรี (ปวส.) ทั้งของรัฐ และเอกชน สามารถส่งผลงาน“หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ได้เพียงด้านใดด้านหนึ่งจากประเภทของนวัตกรรม จํานวน 5 ด้าน ดังนี้
3.1 ด้านการจัดการเรียนรู้
นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้ของครู ทั้งการแก้ปัญหาและพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ สมรรถนะและศักยภาพของผู้เรียนด้วยรูปแบบ วิธีการ ระบบ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่นําไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียนการเข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ รวมถึงการใช้แหล่งเรียนรู้ทางกายภาพและแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล
3.2 ด้านสื่อ เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้
นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด วิธีการ รวมไปถึงการต่อยอดเทคโนโลยีเดิม หรือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ สื่อทั่วไปและสื่อดิจิทัล อาจเป็นการใช้แนวคิด วิธีการ การต่อยอดเทคโนโลยีเดิม หรือผลิตภัณฑ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเป็นการผสมผสานหลายสิ่งเข้าด้วยกันก็ได้ ที่นําไปสู่การแก้ปัญหาหรือการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน
3.3 ด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษา
นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงระบบที่มีการประยุกต์ใช้แนวคิด รูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมเรียนรู้อย่างมืออาชีพ นําไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และองค์กรอย่างต่อเนื่อง
3.4 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ ผลิตภัณฑ์ หรือการประยุกต์ใช้หลักจิตวิทยาในการพัฒนาผู้เรียนที่คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนําไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มให้เต็มศักยภาพอย่างทั่วถึง

3.5 ด้านการวัดและการประเมินผล
นวัตกรรมระบบการวัดและการประเมินผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ ใช้ข้อมูลสารสนเทศจากการประเมินเพื่อการวิเคราะห์ การวินิจฉัยจุดเด่นและจุดที่ควรได้รับการพัฒนาผู้เรียนที่สะท้อนการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนครอบคลุมพหุปัญญาที่หลากหลายรวมถึงการออกแบบกระบวนการวัดและประเมินผลในห้องเรียนและสถานศึกษา ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศย้อนกลับ ที่นําไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการศึกษา

4. เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม”
4.1 เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “ระดับภูมิภาค”
การประเมินคุณภาพผลงานใช้รูปแบบอิงเกณฑ์ ประกอบด้วย เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงานแบบมิติคุณภาพ 5 มิติ โดยมีน้ําหนักคะแนนเท่ากับ 12 ซึ่งผลงานแต่ละเรื่อง มีคะแนนเต็มเท่ากับ 36 คะแนนโดยพิจารณาจาก

1) คุณค่าทางวิชาการ (9 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 3 และ มีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
1.1) กระบวนการคิดและการพัฒนา
1.2) ผลที่เกิดขึ้น
2) ประโยชน์ของนวัตกรรม (12 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 4 และ มีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
2.1) ความสําคัญต่อวิชาชีพ
2.2) มีการนําผลไปใช้
3) ลักษณะของผลงาน (3 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 1 และ มีจํานวน 1 ตัวบ่งชี้ คือความแปลกใหม่ที่โดดเด่น
4) การมีส่วนร่วม (6 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 2 และ มีจํานวน 3 ตัวบ่งชี้ คือ
4.1) ความหลากหลายของผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.2) พฤติกรรมการมีส่วนร่วม
4.3) ระยะเวลา
5) การนําเสนอผลงานตามแบบ นร.1 และ นร.2 (ถ้ามี) (6 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 2 และมีจํานวน 3 ตัวบ่งชี้ คือ
5.1) เทคนิคการนําเสนอ
5.2) รายละเอียดของข้อมูล
5.3) หลักฐานร่องรอย
ทุกองค์ประกอบคุณภาพผลงาน ประกอบด้วย ระดับคุณภาพ 3 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 หมายถึง ผลงานมีคุณภาพพอใช้
ระดับ 2 หมายถึง ผลงานมีคุณภาพปานกลาง
ระดับ 3 หมายถึง ผลงานมีคุณภาพสูง
4.2 เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “ระดับประเทศ”
การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” เพื่อรับรางวัลผลงานนวัตกรรม “ระดับประเทศ” เป็นการประเมินผลงานฯ ของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับภูมิภาคใหม่อีกครั้งหลังจากสถานศึกษานําเสนอผลงานฯ ต่อคณะกรรมการคัดสรรผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมตามรูปแบบและวิธีที่สํานักงานเลขาธิการคุรุสภากําหนด ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของมิติต่าง ๆ สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง นําสู่ผลการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม เพื่อพิจารณาให้เป็นผลงานนวัตกรรม “ระดับประเทศ” ใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ ประกอบด้วย เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงานแบบมิติคุณภาพ 6 มิติ โดยมีน้ําหนักคะแนนเท่ากับ 16 ซึ่งผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” แต่ละเรื่องมีคะแนนเต็มเท่ากับ 48 คะแนน โดยพิจารณาจาก

1) คุณค่าทางวิชาการ (9 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 3 และมีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
1.1) กระบวนการคิดและการพัฒนา
1.2) ผลที่เกิดขึ้น
2) ประโยชน์ของนวัตกรรม (12 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 4 และมีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
2.1) ความสําคัญต่อวิชาชีพ
2.2) มีการนําผลไปใช้
3) ลักษณะของผลงาน (3 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 1 และมีจํานวน 1 ตัวบ่งชี้ คือ ความแปลกใหม่ที่โดดเด่น
4) การมีส่วนร่วม (6 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 2 และมีจํานวน 3 ตัวบ่งชี้ คือ
4.1) ความหลากหลายของผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.2) พฤติกรรมการมีส่วนร่วม
4.3) ระยะเวลา
5) การนําเสนอผลงานตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานเลขาธิการคุรุสภากําหนด (6 คะแนน)
น้ําหนักคะแนน 2 และมีจํานวน 3 ตัวบ่งชี้ คือ
5.1) เทคนิคการนําเสนอ
5.2) รายละเอียดของข้อมูล
5.3) หลักฐานร่องรอย
6) จุดเน้นคุณภาพเฉพาะด้าน (12 คะแนน) น้ําหนักคะแนน 4 และมีจํานวนตัวบ่งชี้ ตามที่กําหนดไว้ในมิติคุณภาพของนวัตกรรมแต่ละด้าน ดังนี้

6.1) การจัดการเรียนรู้ มีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
(1) การปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice)
(2) ความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ
6.2) สื่อ เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้ มีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
(1) ความซับซ้อนของแนวคิดหลักการพื้นฐานและการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

(2) ความทันสมัยหรือความร่วมสมัยของเทคโนโลยี
6.3) การบริหารและการจัดการสถานศึกษา มีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
(1) การนําองค์กร
(2) ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติจนเกิดผลสัมฤทธิ์
6.4) การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ มีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
(1) ความเป็นเชิงรุกต่อฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
(2) การเสริมสร้างความเสมอภาค
6.5) การวัดและการประเมินผล มีจํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
(1) ความเชื่อถือได้ของระบบวัดและประเมินผล
(2) การนําสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลอย่างรอบด้านทุกองค์ประกอบคุณภาพผลงาน ประกอบด้วย ระดับคุณภาพ 3 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 หมายถึง ผลงานมีคุณภาพพอใช้
ระดับ 2 หมายถึง ผลงานมีคุณภาพปานกลาง
ระดับ 3 หมายถึง ผลงานมีคุณภาพสูง

5. ประเภทรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม”
การประเมินคุณภาพผลงานเพื่อรับรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” มี2 ระดับ คือ “ระดับภูมิภาค” และ“ระดับประเทศ” ดังนี้
5.1 ผลงานระดับภูมิภาค คณะกรรมการฯ ตรวจและประเมินเพื่อคัดกรองผลงานจากเอกสาร
ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่กําหนดในข้อ 4.1 โดยมีคะแนนเต็ม 36 คะแนน ดังนี้
- ผลงานที่มีคะแนนต่ํากว่า 27 คะแนน “ไม่ผ่านเกณฑ์”
- ผลงานที่มีคะแนนตั้งแต่ 27 – 29 คะแนน จะได้รับรางวัลระดับ “เหรียญทองแดง”
- ผลงานที่มีคะแนนตั้งแต่ 30 – 32 คะแนน จะได้รับรางวัลระดับ “เหรียญเงิน”
- ผลงานที่มีคะแนนตั้งแต่ 33 คะแนนขึ้นไป จะได้รับรางวัลระดับ “เหรียญทอง” และผ่านเข้าสู่การประเมินผลงาน “ระดับประเทศ” ต่อไป

5.2 ผลงานระดับประเทศ คณะกรรมการฯ พิจารณาผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง “ระดับภูมิภาค” จะเข้ารับการคัดสรรผลงานระดับประเทศ โดยการนําเสนอผลงาน
หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ของสถานศึกษา ตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานเลขาธิการคุรุสภากําหนดตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่กําหนดในข้อ 4.2 โดยมีคะแนนเต็ม 48 คะแนน ดังนี้

- ผลงานที่มีคะแนนต่ํากว่า 36 คะแนน “ไม่ผ่านเกณฑ์”
- ผลงานที่มีคะแนนตั้งแต่ 36 – 40 คะแนน จะได้รับรางวัลระดับ “เหรียญทองแดง”
- ผลงานที่มีคะแนนตั้งแต่ 41 – 44 คะแนน จะได้รับรางวัลระดับ “เหรียญเงิน”
- ผลงานที่มีคะแนนตั้งแต่ 45 คะแนนขึ้นไป จะได้รับรางวัลระดับ “เหรียญทอง”

6. การส่งผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม”
6.1 สถานศึกษาที่มีความประสงค์จะส่งผลงาน สามารถส่งผลงานผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นที่ https://school.ksp.or.th (KSP School) กรณีที่สถานศึกษาใดยังไม่มีรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานระบบต้องสมัครเพื่อขอใช้งานระบบก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทําการ
6.2 เอกสารประกอบการเสนอผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ได้แก่ ไฟล์เล่มผลงาน“หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ที่มีผู้บริหารสถานศึกษาลงนามรับรองการส่งผลงาน ตามแบบ นร.1
ให้ครบทุกรายการ (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายหน้า 8 - 9) กรณีเป็นผลงานที่เคยส่งทั้งที่เคยได้รับรางวัล และไม่เคยได้รับรางวัล ต้องแนบรายละเอียดตามแบบ นร.2 ด้วย (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายหน้า 10) โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 16pt ความยาวรวมไม่เกิน จํานวน 50 หน้ากระดาษ A4 (นับรวมจํานวนหน้าตั้งแต่ปกหน้าถึงปกหลัง) ในรูปแบบไฟล์ PDF จํานวน 1 ไฟล์


7. เงื่อนไขการส่งผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม”
7.1 สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาจะดําเนินการเปิดระบบ KSP School ให้สถานศึกษาส่งผลงานระหว่างวันอังคารที่ 7 มกราคม 2568 ถึงวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568 เวลา 16.30 น.
7.2 สถานศึกษาต้องดําเนินการส่งผลงานในระบบ KSP School ตามข้อ 6.2 ให้ถูกต้อง ครบถ้วนรวมทั้งตรวจสอบการบันทึกข้อมูลในระบบ KSP School ให้เรียบร้อย “ภายในวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568 เวลา 16.30 น.” มิเช่นนั้นจะถือว่าเอกสารไม่สมบูรณ์ และจะไม่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการคัดสรรผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม”กรณีเกิดความผิดพลาดจากการบันทึกข้อมูลไม่สมบูรณ์ ไม่ว่ากรณีใด ๆ สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบทุกกรณีทั้งนี้ให้ยึดฐานข้อมูลจากระบบ KSP School ของคุรุสภาเป็นหลักเท่านั้น
7.3 ข้อกําหนดการพิจารณาคัดสรรผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจําปี2568
7.3.1 ต้องเป็นผลงานที่สถานศึกษาสร้างสรรค์ขึ้น
7.3.2 กรณีที่ผลงานมีลักษณะเป็นความร่วมมือ ร่วมวิจัย หรือเป็นความคิดที่ริเริ่มที่มาจากหน่วยงานอื่นทั้งของรัฐและเอกชน ต้องระบุรายละเอียดความร่วมมือให้ชัดเจน และต้องมีหนังสือยินยอม
จากหน่วยงานนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร

7.3.3 ผลงานต้องมีรายละเอียดครบถ้วนตามแบบ นร. 1 แนบท้ายประกาศที่กําหนด และและกรณีเป็นผลงานที่เคยส่งทั้งที่เคยได้รับรางวัล และไม่เคยได้รับรางวัล ต้องมีแบบ นร.2 ด้วย หากเกิด
ความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลของสถานศึกษาที่ส่งผลงานฯ และทําให้สถานศึกษานั้นเสียสิทธิ์ที่จะได้รับรางวัลใด ๆ ถือเป็นความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของสถานศึกษานั้น คุรุสภาสงวนสิทธิ์ในการรับผิดชอบ

7.3.4 สถานศึกษาสามารถส่งผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมเข้ารับการคัดสรรได้เพียง 1 ผลงาน

7.3.5 การตัดสินของคณะกรรมการคัดสรรผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ถือเป็นที่ยุติ
7.4 ผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ที่ส่งเข้ารับการคัดสรรหากเป็นผลงานเดิมที่เคยส่งทั้งที่เคยได้รับรางวัล และไม่เคยได้รับรางวัล ไม่ว่าด้านเดิมหรือด้านใหม่ ต้องแนบแบบ นร. 2 เพื่อแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเพิ่มเติมหรือต่อยอดอย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการจะพิจารณาในส่วนที่เพิ่มเติมหรือต่อยอดเป็นสําคัญ หากไม่แนบแบบ นร. 2 และมีการตรวจพบภายหลังขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาหรือเพิกถอนรางวัล
7.5 ผลงานที่ส่งต้องไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียน หรือนําผลงานส่วนใดส่วนหนึ่งที่คัดลอกมาจากผลงานวิจัยของตนเอง หรือผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ไว้แล้วมาใช้โดยไม่มีการอ้างอิง หรือไม่ได้รับอนุญาต หากมีผู้ร้องเรียนหรือตรวจพบภายหลังว่ามีการลอกเลียนผลงานดังกล่าว ผลงานนั้นจะไม่ได้รับการคัดสรร หรือหากได้รับรางวัลไปแล้ว รางวัลนั้นจะต้องถูกเพิกถอน และมีอันตกไป กรณีการนําเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จถือเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพ
7.6 ผลงานที่ได้รับการคัดสรรให้เป็นผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจําปี 2568 “ระดับภูมิภาค” รางวัลระดับ “เหรียญทอง” จะถือว่าสถานศึกษาอนุญาตให้คุรุสภานําข้อมูล ภาพผลงาน
ที่ส่งเข้ารับการคัดสรร สามารถเผยแพร่ต่อไปได้

รายละเอียดเพิ่มเติม :: เฟซบุ๊กแฟนเพจ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม 
  • 05 ม.ค. 2568 เวลา 19:07 น.
  • 1,104

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^