LASTEST NEWS

05 ก.พ. 2568สพฐ.เรียกบรรจุ บุคลากร 38 ค.(2) ครั้งที่ 7 จำนวน 884 อัตรา รายงานตัว 19-20 กุมภาพันธ์ 2568 03 ก.พ. 2568สพป.ชลบุรี เขต 2 เผยตำแหน่งว่าง เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2568 จำนวน 7 กลุ่มวิชาเอก รวม 9 อัตรา 03 ก.พ. 2568โรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 6 กุมภาพันธ์ 2568 03 ก.พ. 2568ด่วน! ได้ข้อสรุปแล้ว เปิดเทอมยึด 16 พ.ค. ตามเดิม ปิดเทอม 2 ขยับเป็น 30 ก.ย.แทน 03 ก.พ. 2568โอกาสทอง! ทุน สควค. ป.โท ปี 2568 (รอบ 2) จบแล้วบรรจุเป็นครูทันที เปิดรับสมัคร 10 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม 2568 03 ก.พ. 2568มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย 57 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่บัดนี้ - 13 กุมภาพันธ์ 2568 03 ก.พ. 2568กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดสอบพนักงานราชการ 58 อัตรา สมัครตั้งแต่ 10-20 กุมภาพันธ์ 2568 02 ก.พ. 2568บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) เฮนั่งเก้าอี้ผู้บริหารได้แล้ว 02 ก.พ. 2568“บิ๊กอุ้ม” ชูครูไทยเก่ง ทุ่มเททำงานเต็มที่ พร้อมส่งกำลังใจถึงผอ.เขตทั่วประเทศ 31 ม.ค. 2568ก.ค.ศ. เปิด Google Form แจ้งขอย้าย กรณียื่นคำขอผ่านระบบ TRS ไม่ทันภายใน 31 ม.ค. 68

ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ"

  • 07 ธ.ค. 2567 เวลา 16:50 น.
  • 457
ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ"

7 ธันวาคม 2567 - นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน​ ได้มีหนังสือแจ้งแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณอาหารกลางวันของนักเรียน ม. 1-3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน​สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ได้ออกหนังสือเน้นย้ำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งแนวทางการปฏิบัติให้โรงเรียนในสังกัดทราบเช่นกัน และให้ดำเนินการตามอย่างเคร่งครัดในการบริหารจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 และให้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเริ่มจัดอาหารกลางวันโดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมนักเรียนระดับชั้น ม. 1-3 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อให้ได้เด็ก​ ๆ​ รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และเป็นไปตามมติ​ ครม.​ เมื่อวัน 26 มีนาคม 2567

ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างสูง ที่เล็งเห็นถึงปัญหาปากท้องของเด็กในโรงเรียน จนเคาะมติเห็นชอบ​ให้สถานศึกษาจัดอาหารกลางวันแก่นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส เงินอุดหนุนสำหรับอาหารของเด็กกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ด้วยโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ดังนั้นโรงเรียนขยายโอกาสจึงเป็นความหวังของเด็กที่ไปเรียนในเมืองไม่ได้เพราะค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ ทำให้มีความเสี่ยงหลุดจากระบบ​การศึกษา​

จากการที่ ศธ.ได้สำรวจพบว่านักเรียนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นยังคงขาดแคลนโภชนาการที่จำเป็น ส่งผลให้เด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพ​ และการเรียนรู้ที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงได้เสนอแนวคิดนี้ให้โรงเรียนขยายโอกาส ที่ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ยังขาดแคลน​ และมักเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กมัธยมต้นต่างจังหวัดได้เรียนจนจบ แต่ปัญหาที่พบคือเด็กโตไม่มีอาหารกลางวันกิน ศธ.จึงต้องการ​ขยายการจัดสรรอาหารกลางวันให้ครอบคลุมถึง ม.1-ม.3

ที่ผ่านมาเราทราบดีว่าคุณครูและโรงเรียนแก้ไขปัญหากันเองมาโดยตลอด บางโรงเรียนใช้หลักการพึ่งพาตนเอง ครูต้องเอาเงินส่วนตัวเพิ่มเพื่อให้เด็กอิ่มท้อง อย่างกรณีครูที่นำค่าอาหารกลางวันเด็กประถมไปเกลี่ยให้นักเรียนชั้นมัธยมได้กินด้วย จนถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดว่าทุจริตอาหารกลางวันเด็ก เป็นเหตุถูกให้ออกจากราชการ เข้าใจว่าด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูที่มีจิตใจรักลูกศิษย์ เมื่อเห็นพี่หิวแล้วต้องมองน้องกินข้าวก็ต้องพยายามช่วยเหลือเด็กทุกคนให้ได้กินอิ่มกันถ้วนหน้า แต่อาจเกิดผลกระทบทั้งโรงเรียน เพราะเด็กได้กินแต่ไม่อิ่ม​ หรือเด็กอิ่มแต่ไม่ถึงโภชนาการ ส่งผลให้รับประทานอาหารกลางวันแบบไม่เต็มคุณภาพทั้งพี่และน้อง แม้จะหวังดีต่อลูกศิษย์แต่ตามหลักการของระเบียบที่กำหนดไว้จึงทำให้ความผิดตกมาอยู่ที่ครู

กรณีดังกล่าว​เข้า​ใจถึงเจตนาที่ดีของครู​ แต่วิธีการ​ขัดต่อข้อกฎหมาย ศธ.จึงผลักดันโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนขยายโอกาสสำหรับชั้น ม.1-ม.3 อย่างจริงจังตั้งแต่​เมื่อปีที่แล้ว เพื่อช่วยแก้ปัญหาในภาพรวม จนมีมติ ครม.ออกมาให้จัดสรรงบประมาณอาหารกลางวันให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสเพื่อให้น้องมีกินพี่อิ่มท้อง

ส่วนเรื่องของจำนวนเงินอุดหนุนที่ไม่เท่ากัน อยากให้มองว่าโรงเรียนในไทยมีขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งปัจจุบันงบประมาณจัดการอาหารกลางวันใช้อัตราจำนวนนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็กถึง ม.3 ในการกำหนดขนาดของโรงเรียน
นักเรียน 1 - 40 คน อัตรา 36 บาท/คน/วัน
นักเรียน 41 - 100 คน อัตรา 27 บาท/คน/วัน
นักเรียน 101 - 120 คน อัตรา 24 บาท/คน/วัน
นักเรียน 121 คนขึ้นไป อัตรา 22 บาท/คน/วัน
ปัจจุบันงบประมาณจัดการอาหารกลางวันอยู่ที่ 22 บาท ต่อคน ต่อมื้อ นี่คือราคาของโรงเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าทุกอย่างมีต้นทุน อย่างเช่นโรงเรียนที่มีเด็ก 80 คน​ ได้วันละ 22 บาท พอเอายอดมาคำนวณดูแล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่เงินจำนวนนี้จะทำอาหารที่ดีถูกหลักโภชนาการ ผลเลยไปตกอยู่กับเด็กที่ต้องถูกลดทอนคุณภาพและปริมาณของอาหารลงมา ซึ่ง​อีกปัจจัยกระทบโดยตรงคือเรื่องของต้นทุนและราคาสินค้าในปัจจุบันที่พุ่งสูงขึ้นในขณะที่งบประมาณยังเท่าเดิม

แม้โรงเรียนจะมีการเรียนการสอนที่ดี แต่หากภาวะโภชนาการของเด็กยังขาดตกบกพร่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนย่อมส่งผลต่อสมาธิในการเรียน เมื่อเกิดความหิวอาจทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าเรามอบความอิ่มท้องให้กับเค้าเด็กก็จะมีความสุขอยากมาโรงเรียนทุกวัน เพราะอยู่ที่บ้านไม่ได้ทานอาหารอิ่มท้องแบบนี้ ทำให้เด็กมาเรียนอย่างสม่ำเสมอลด​ อัตราการหลุดออกจากระบบการศึกษา​ได้ด้วย

ศธ.มีคู่มือ “Thai School Lunch” ที่เป็นระบบต้นแบบการคำนวนโภชนาการและปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน ส่งนด้านงบประมาณและคุณภาพของวัตถุดิบก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะโรงเรียนขนาดใหญ่สามารถซื้อวัตถุดิบได้ในปริมาณที่มากต้นทุนย่อมถูกกว่าโรงเรียนขนาดเล็กที่ซื้อปริมาณน้อยกว่า ดังนั้นเมื่อต้นทุนต่างกันค่าใช้จ่ายต่างกันเงินอุดหนุนจึงต่างกันตามปริมาณและความเหมาะสม

ที่ผ่านมาขอชื่นชมในความพยายามของครูที่ต้องการจะยกระดับการจัดการด้านอาหารกลางวันที่ดีให้กับผู้เรียนแต่อยากให้มองเห็นถึงกฎระเบียบที่ตั้งไว้ด้วยทำอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามหลัง “อย่าผิดพลาดจากความเคยชิน” จนเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นเรื่องปกติ เพราะเด็กทุกคนควรได้รับอาหารที่มีคุณภาพเท่าเทียมไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหนก็ตาม ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันดำเนินการอยากถูกต้องเพื่อส่งมอบอาหารที่ดีมีคุณภาพโภชนาการครบถ้วนให้ผู้เรียนของเรา อย่ามองเพียงแค่ว่าอาหารกลางวันเป็นสิ่งเล็กน้อย เพราะสำหรับเด็กบางคนแค่อาหารธรรมดาเพียงมื้อเดียวก็สามารถทำให้เขารู้สึกพิเศษได้ในชีวิต

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจประชาสัมพันธ์ สพฐ. วันที่ 7 ธันวาคม 2567
  • 07 ธ.ค. 2567 เวลา 16:50 น.
  • 457

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^