ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งกรมการมัธยมศึกษา ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งกรมการมัธยมศึกษา ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภาวันนี้ (21 พฤษภาคม 2567) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งกรมการมัธยมศึกษา ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาเป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการไปพิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
คณะกรรมาธิการศึกษา วุฒิสภา ได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลกี่ยวกับการจัดตั้งกรมการมัธยมศึกษา เพื่อปรับปรุงภารกิจและโครงสร้างการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาให้มีความเหมาะสมกับสภาพของงานในปัจจุบัน และสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายที่รัฐบาลกำหนด และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีศักยภาพที่เหมาะสมกับการพัฒนาสู่ระดับอุดมศึกษา หรือพัฒนาสู่ทักษะวิชาชีพชั้นสูงได้อย่างเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน จึงได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขับเคลื่อนภารกิจการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ดังนี้
1. ควรกำหนดกรอบแนวคิดการจัดตั้งกรมการมัธยมศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการมัธยมศึกษาสู่คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2. ควรเร่งรัดดำเนินการยกระดับสำนักบริหารการมัธยมศึกษาให้เป็นกรมการมัธยมศึกษาโดยเร่งด่วน เพื่อการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
3. ควรเร่งรัดการพิจารณาขอบข่าย โครงสร้าง ภารกิจ ในช่วงเปลี่ยนผ่านหรือรอการดำเนินการตามขั้นตอน และควรมีการปรับระบบบริหารจัดการภายในกรมการมัธยมศึกษารองรับภารกิจใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
4. ควรเร่งรัดการพิจารณาปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายในกรมการมัธยมศึกษา เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา โดยแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดวางระบบสำนักงาน กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้งระบบ ตลอดแนวจากส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สถานศึกษา และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในภารกิจในช่วงเปลี่ยนผ่าน
5. ควรเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
6. ควรสร้างความเข้มแข็ง การปฏิบัติหน้าที่ เชื่อมโยง ด้วยการกำกับดูแลของกรมมัธยมศึกษาซึ่งจะทำให้เครือข่ายดังกล่าวสามารถสร้างคุณภาพมัธยมศึกษาได้
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: รัฐบาลไทย วันที่ 21 พฤษภาคม 2567