ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญรศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่าในการประชุม อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ได้มีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 13 ราย ได้แก่
วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญจำนวน 4 ราย
วิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญจำนวน 6 ราย
และวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ จำนวน 2 ราย ดังนี้
หลักเกณฑ์ฯ ว ๑๗/๒๕๕๒ จำนวน 7 ราย ดังนี้
1. เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่
นางสุชาดา จารงค์ โรงเรียนบ้านตะบิงติงงี สพป.ยะลา เขต 2 (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ C - Gamesต่อความสามารถทางการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พร้อมเอกสารประกอบ 2. การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตะบิงติงงี โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษชุดวิถีชีวิตเด็กไทย ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนอ่าน KWL - Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) พร้อมเอกสารประกอบ)
2. เลื่อนเป็นวิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่
นางปิยะพร พูลเพิ่ม วิทยาลัยเทคนิคเทิง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนาการบริหารกิจกรรมชมรมวิชาชีพแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาสมาชิกองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย(อวท.) วิทยาลัยเทคนิคเทิง 2. การประเมินโครงการส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน วิทยาลัยเทคนิคเทิง)
3. เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 5 ราย ได้แก่
1) นายเฉลิมชัย หรสิทธิ์โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก สพม.ร้อยเอ็ด (ผลงาน
ทางวิชาการ คือ 1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลตามมาตรฐานโรงเรียนมาตรฐานสากล
ของโรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย 2. การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
การอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)
2) นายบรรจุ ภูสงัด โรงเรียนบ้านโคกลาด สพป.อุดรธานี เขต 1 (ผลงานทางวิชาการ คือ1.การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของข้าราชการครู โรงเรียนบ้านโคกลาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยประยุกต์ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกลาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมเอกสารประกอบ)
3) นางสาวศรีนวล ศรีหริ่ง โรงเรียนบ้านหนองสองห้องหนองแห้วโนนศรี สพป.อุดรธานี เขต 3
(ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริม
การเรียนรู้ของนักเรียน 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียน)
4) นายพงษ์ศักดิ์ วงษ์ป้อม วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมกำลังคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ของวิทยาลัยการอาชีพหนองหาน 2. การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพครูในการจัดการเรียนรู้ที่มุ้งเน้นสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพหนองหาน)
5) นางบัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี2. การประเมินโครงการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพให้ผู้เรียน ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ (โดยการฝึกอบรมออนไลน์ วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี)
หลักเกณฑ์ฯ ว ๒๑/๒๕๖๐ เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย ได้แก่
1) นางณภสุ จันทร์เมือง โรงเรียนบ้านเขาจีน สพป.สตูล (ผลงานทางวิชาการ คือ1. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านท้องถิ่นสตูล เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขาจีน พร้อมเอกสารประกอบ 2. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด มหันตภัยร้าย ทำลายชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนบ้านเขาจีน พร้อมเอกสารประกอบ)
2) นางติรยา นามวงษ์โรงเรียนบ้านดินจี่ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 (ผลงานทางวิชาการ คือ1. การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พร้อมเอกสารประกอบ 2. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พร้อมเอกสารประกอบ)
3) นายปิยะ รัตตสนธิกุล วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. รายงานผลการวิจัยการพัฒนาชุดการสอน รายวิชา วงจรพัลส์
และสวิตชิ่ง รหัส 2105 - 2006 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
พร้อมเอกสารประกอบ 2. รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการสอน รายวิชาโทรศัพท์ รหัส 2105 - 2114
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพร้อมเอกสารประกอบ)
หลักเกณฑ์ฯ ว ๑๐/๒๕๖๔ เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย
ได้แก่ นายสุริยา มนตรีภักดิ์โรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี สพป.เพชรบุรี เขต 1 (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงาน
การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โดยใช้รูปแบบ LOTUS Modelของโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1)
หลักเกณฑ์ฯ ว ๑๒/๒๕๖๔ มีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
จำนวน 2 รายได้แก่
1) นายชัยนนท์ นิลพัฒน์ สพป.กาญจนบุรี เขต 3 (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 2. รายงานการดำเนินงานติดตาม และประเมินผลนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณพ.ศ. 2565 ด้วยรูปแบบ 5G & PDCA Model สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
2) นายกัมพล เจริญรักษ์ สพป.ปทุมธานี เขต 1 (ผลงานทางวิชาการ คือ รูปแบบการพัฒนาข้อตกลงในการพัฒนางานของผู้บริหารสถานศึกษาตามจุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1)
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจอีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา วันที่ 7 มีนาคม 2567