มาแล้ว!! สพฐ. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ศธ 04001/ว1292 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ กรณียกเลิก "ครูอยู่เวร" เปิดช่องทางติดต่อ 24 ชั่วโมง
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
มาแล้ว!! สพฐ. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ศธ 04001/ว1292 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ กรณียกเลิก "ครูอยู่เวร" เปิดช่องทางร้องเรียนติดต่อได้ 24 ชั่วโมงเรียบเรียงโดยครูวันดีดอทคอม
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้่นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กทม. 10300 มีหนังสือ ด่วนที่สุด ศธ 04001/ว1292 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ
เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต
อ้างถึง 1. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04277/ว 63 ลงวันที่ 22 มกราคม 2567
2. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04001/ว 572 ลงวันที่ 26 มกราคม 2567
สิ่งที่ส่งมาด้วย มาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ จำนวน 1 ชุด
: กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดำเนินการตามมาตรการ พร้อมทั้งดำเนินการร่วมกับสถานศึกษาในการเฝ้าระวังบุคคลภายนอกเข้ามาก่อเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา และซักซ้อมความเข้าใจในการดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 เรื่อง การดูแลความปลอดภัยในสถานที่ราชการ ความแจ้งแล้ว นั้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแล้ว เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดความชัดเจนและมีแนวทางในการดำเนินการ จึงขอแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบและดำเนินการ ดังนี้
1. ยกเลิกข้อความ "ติดตั้งป้าย "ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต" " ตามหนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04277/ว 63 ลงวันที่ 22 มกราคม 2567 และให้สร้างความเข้าใจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ให้ทราบถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ และแจ้งประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชน หมู่บ้าน ในพื้นที่บริการของศถานศึกษาให้ทราบด้วย นอกจากนี้สถานศึกษาอาจกำหนดแนวปฏิบัติเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น
1.1 ไม่ควรพกอาวุธ และนำยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายทุกชนิดเข้ามาในบริเวณสถานที่ราชการ
1.2 แต่งกายด้วยชุดสุภาพเรียบร้อย โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น ถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ เพศ อายุ และการแต่งกายตามความเหมาะสม
1.3 ไม่ควรส่งเสียงดัง ทะเลาะวิวาทกันในสถานที่ราชการ หรือกระทำการอื่นใดให้เป็นที่เดือดร้อนรำคาญ
หากผู้ใดเข้ามากระทำการไม่เหมาะสมในสถานที่ราชการ จะถูกดำเนินการตามกฎหมายอาญา ตามฐานความผิดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้เคยฝ่าผืนและถูกลงโทษจำคุกตามกฎหมายแล้ว
2. ดำเนินการตามมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ : กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมแจ้งให้สถานศึกษาในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
(นายธีร์ ภวังคนันท์)
รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติราชการแทน
เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักอำนวยการ
โทร. 0 2288 5570
ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(แนบท้ายหนังสือ สพฐ. ที่ ศ8 .4001/ว1292 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563)
1. หลักการ
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 นายกรัฐมนตรีเสนอว่าตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 เรื่องการปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐจัดให้มีเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานนอกเวลาราชการ และในวันหยุดราชการ พบว่า ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับปัจจุบันมีบุคคลและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐแทนได้ เช่น การใช้พนักงานรักษาความปลอดภัย การจ้างเอกชนให้บริการดูแลรักษาความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อย การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดนอกจากนี้ การให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่เวรรักษาการณ์ในสถานศึกษายังอาจเป็นการกำหนดหน้าที่ ที่ เพิ่มความเสี่ ยงให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยไม่จำเป็นและคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ โดยให้สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกแห่ง ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความตระหนักในสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา และให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของสถานศึกษา จึงกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ : กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ : กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 เพื่อให้สถานศึกษาปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 อย่างเคร่งครัด
2.3 เพื่อให้ความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.4 เพื่อให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ
3. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3.1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3.2 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.02006/ว 107 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2542 เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ
3.3 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว 37 ลงวันที่ 25 มกราคม 2567 เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ
3.4 หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศ5 04001/ว 545 ลงวันที่ 25 มกราคม 2567 เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ
3.5 หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04001/ว 546 ลงวันที่ 25 มกราคม 2567 เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ
3.6 หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04001/ว 572 ลงวันที่ 26 มกราคม 25'67 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจในการดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ
4. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
4.1 สถานศึกษาปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 อย่างเคร่งครัด
4.2 สถานศึกษาสามารถนำมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่
4.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสวัสดิภาพที่ดี
4.4 สถานศึกษาให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ 5. มาตรการรักษาความปลอดภัยสถานศึกษา
5.1 มาตรการด้านกฎหมาย
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 อย่างเคร่งครัด
5.2 มาตรการด้านเครือข่ายและการสร้างความร่วมมือ
5.2.1 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
1) ประสานเครือข่ายและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง เช่น เจ้าหน้าที่ปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อร่วมกันกำหนดวิธีการจัดเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสถานศึกษาในสังกัด ทั้งในเวลาราชการ และนอกเวลาราชการตามความจำเป็นและเหมาะสม
2) จัดประชุมผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความร่วมมือให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567
3) ส่งเสริมความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา (พสน.) ในการสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ชุมชน ผู้ปกครองร่วมกันออกตรวจพื้นที่จุดเสี่ยง จุดอับต่าง ๆ
5.2.2 ระดับสถานศึกษา
1) ประสานเครือข่ายและสร้างความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ระดับตำบล หมู่บ้าน ชุมชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง เจ้าหน้าที่ปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อร่วมกันกำหนดวิธีการจัดเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของสถานศึกษา ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
2) จัดประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 และให้ยกเลิกการจัดเวรรักษาการณ์ของสถานศึกษาโดยปราศจากเงื่อนไข
3) อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา (พสน.) ในการสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ชุมชน ผู้ปกครอง ร่วมกันออกตรวจพื้นที่จุดเสี่ยง จุดอับต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
5.3 มาตรการด้านการใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างความปลอดภัย
5.3.1 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างการรับรู้การนำกล้องวงจรปิดหรืออุปกรณ์เสริมสร้างความปลอดภัยประเภทต่าง ๆ เช่น ระบบสัญญาณเตือนภัย มาใช้ในสถานศึกษาทดแทนการใช้ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้กับสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง
5.3.2 ระดับสถานศึกษา
จัดหาและนำกล้องวงจรปิดหรืออุปกรณ์เสริมสร้างความปลอดภัยประเภทต่าง ๆ มาใช้ในสถานศึกษาทดแทนการใช้ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอและครอบคลุม
5.4 มาตรการด้านแผนการรักษาความปลอดภัย
5.4.1 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
จัดให้มีการประชุมสถานศึกษาในสังกัดเพื่อจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยแผนเผชิญเหตุและให้มีคู่มือในการปฏิบัติงาน ควรประกอบไปด้วย
1) ความมุ่งหมาย มีแผนผัง กำหนดขอบเขต การฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ
2) มาตรการการควบคุม กำหนดพื้นที่ของการควบคุมบุคคล ยานพาหนะ วัตถุที่ผ่านเข้า - ออก ตลอดจนมาตรการควบคุมความเคลื่อนไหวระหว่างที่อยู่ในพื้นที่
3) เครื่องช่วยในการรักษาความปลอดภัย เช่น การป้องกันทางวัตถุ แสงสว่าง รั้ว และสัญญาณแจ้งเหตุ รวมถึงการติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือระบบสัญญาณเตือนภัยประเภทต่าง ๆ และมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบตรวจสอบและรายงานผ่านระบบออนไลน์
4) หน่วยรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษา การวางกำลัง การจัดทำคำแนะนำทั่วไป
5) การปฏิบัติในกรณีมีเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับบุคคลหรือกับสถานศึกษา เช่น การก่อวินาศกรรมการเกิดไฟไหม้ มีบุคคลภายนอกบุกรุก ฯลฯ
6) ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานในการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน กับองค์กรหรือส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการประสานงานกับบุคคลภายนอกตามความเหมาะสม และความจำเป็น
7) ระบบการกำกับ ติดตาม และการร้ายงาน
5.4.2 ระดับสถานศึกษา
จัดทำแผนการรักษาความปลอดภัย แผนเผชิญเหตุ และให้มีคู่มือในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกำหนด และให้สถานศึกษาดำเนินการสำรวจและตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ 6. การกำกับ ติดตาม และการรายงาน
6.1 ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กำหนดให้การรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ : กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษา นำไปบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6.2 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กำหนดให้การรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ : กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษา นำไปบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งของการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
6.3 ระดับสถานศึกษา
สถานศึกษาให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ ราชการ : กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษา และพร้อมรับการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแต่กรณีกรณีมีเหตุการณไม่ปกติให้รายงานเหตุหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยเร็ว พร้อมทั้งแก้ไขเหตุหรือสถานการณ์ทันที
7. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
กรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ : กรณียกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคับข้องใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือร้องทุกข์ ร้องเรียนได้ที่
7.1 Line Openchat : https://shorturl.at/bjyTU หรือ QR Code
7.2 นายชนะ สุ่มมาตย์
ประธานคณะทำงานจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ
โทร. 163 893 6235
7.3 นางสาวสุชาดา สภาพงศ์
คณะทำงานและเลขานุการจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ
โทร. 089 936 0599
7.4 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนากองทุนการศึกษา
กองงานเลขานุการคณะทำงานจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ โทร. 02 288 5570