ศธ. แถลงยกเลิกครูเวร ฝากโรงเรียนไว้กับตำรวจ-ชุมชน
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ศธ. แถลงยกเลิกครูเวร ฝากโรงเรียนไว้กับตำรวจ-ชุมชนกระทรวงศึกษาธิการแถลง ยกเลิกครูเวร ตามมติ ครม. ทันที นับจากนี้ไม่อยู่เวรไม่ผิด บูรณาการความปลอดภัยกับตำรวจและฝ่ายปกครอง เร่งคืนนักการภารโรง
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ , นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย สพฐ. แถลงชี้แจงถึงกรณี การยกเลิกครูเวร หลังจากที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ยกเลิกมติปี 2542 ซึ่งเป็นมติ ครม. เมื่อ 20 ปี ที่แล้ว
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน กล่าวว่า ตามมติ ครม.ให้มีการยกเลิกครูเวร มติปี 2542 ถือว่าทีผลทันทีตามที่มติ ครม. ออกมา โดยครูทุกโรงเรียนทุกพื้นที่รวมไปถึงอาชีวศึกษาที่ไม่ต้องอยู่เวรแล้ว และจะไม่มีความผิดว่าด้วยถ้าปรากฎว่าผู้ปฎิบัติหน้าที่เวรหรือผู้ตรวจเวร จงใจละทิ้งหน้าที่ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดหรือความร้ายแรงแก่กรณี และหากยังมีครูอยู่เวรนั้นคงเป็นเรื่องความสมัครใจ
โดยหลังจากนี้ ครม. มีมติให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยภายใน คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติและฝ่ายปกครองกระทรวงมหาดไทยดูแลความเรียบร้อยตามโรงเรียนต่างๆ ภายใต้แนวปฎิบัติการตรวจตรา “คล้ายกับการฝากบ้านไว้กับตำรวจ แต่นี้ถือเป็นการฝากโรงเรียนให้กับตำรวจ” ยืนยันไม่ได้เป็นการเพิ่มหน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่เป็นหน้าที่หลักที่เจ้าหน้าที่ต้องตรวจความเรียบร้อยอยู่แล้ว แต่จะต้องดำเนินการอย่างละเอียดมากขึ้น ส่วนราชการอื่นๆ ยังต้องปฎิบัติหน้าที่เหมือนเดิม
แต่หากสถานศึกษาใดเกิดความเสียหาย ความรับผิดชอบจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเดียว แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างชุมชนสังคม รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา พร้อมแสดงความห่วงใยเรื่องความปลอดภัยของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน กล่าวอีกว่า มาตราการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนที่มีอยู่ก็คือกล้องวงจรปิด ซึ่งสามารถบันทึกภาพเพื่อนำมาติดตามดำเนินการผู้กระทำผิดมารับผิดได้ ซึ่งเรื่องนี้ ต้องมีการสำรวจตามโรงเรียนตามชนบทเพิ่มเติมที่ยังไม่มีกล้องวงจรปิดและระบบสัญญานอินเตอร์เน็ต
ส่วนนักการภารโรงเห็นชอบที่จะทำการคืนนักการภารโรงให้เข้ามาช่วยในการสนับสนุน การป้องกันเหตุ และดูแลทันที โดยอัตตรานักการภารโรงนั้นต้องจัดอันดับจากความจำเป็นของแต่ละโรงเรียน และตามงบประมาณที่ได้ ซึ่งตั้งเป้าการคืนนักการภารโรงให้ทุกโรงเรียน และจะเป็นการจ้างเหมาบริการนักการภารโรงเข้ามาได้ ซึ่งตอนนี้ยังขาดอัตตรานักการภารโรงกว่า 12,837 อัตรา
ส่วนเรื่องการดำนินการเกี่ยวกับระเบียบที่เกี่ยวข้องนั้นต้องยังคงต้องรอ แต่ขณะนี้อยู่ในการเตรียมปรับปรุงแก้ไขระเบียบต่างๆอยู่ ก่อนฝากประชาสัมพันธ์ถึงเรื่อง “ครูคืนถิ่น” เพราะจากการสำรวจพบว่าครูยังทราบเกี่ยวกับระบบครูคืนถิ่นน้อย ซึ่งหากท่านไหนมีความประสงค์จะย้าย ให้มาดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันครูคืนถิ่นได้
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: ข่าว ONE31 วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 11:37 น.