LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

สพฐ. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04010 / ว 3419 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 เรื่อง แนวทางการมอบหมายการบ้าน

  • 09 ธ.ค. 2566 เวลา 09:17 น.
  • 8,921
สพฐ. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04010 / ว 3419 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 เรื่อง แนวทางการมอบหมายการบ้าน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04010 / ว 3419 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 เรื่อง แนวทางการมอบหมายการบ้าน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ กทม. 10300 มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04010 / ว 3419 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566

เรื่อง แนวทางการมอบหมายการบ้าน
เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการมอบหมายการบ้านฯ จำนวน 1 ฉบับ

ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ได้ประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 - 2568 ด้วยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ โดยเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากทุกภาคตามคำกล่าว “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย คือ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษาและลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำแนวทาง “การลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้”สำหรับครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางในการมอบหมายการบ้านแก่ผู้เรียนให้มีความเหมาะสม และใช้การบ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้และประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อีกทางหนึ่งจึงเห็นควรแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตเน้นย้ำให้สถานศึกษาในกำกับ ดำเนินการให้การมอบหมายการบ้านแก่นักเรียนเป็นไปอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด รายละเอียดดังสิ่งที่ส่งมาด้วย

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และแจ้งสถานศึกษาถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
(ธนุ วงษ์จินดา)
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รักษาราชการแทน
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
โทร. 0 2288 5765


แนวทางการแนวทางการมอบหมายการบ้าน
ตามนโยบาย “ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา” และ “ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง”


ความเป็นมา
ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตํารวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ได้ประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2567 – 2568 ด้วยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ โดยเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จากทุกภาคตามคํากล่าว “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” และกําหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการนําไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย คือ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทําแนวทางการมอบหมายการบ้าน สําหรับใช้เป็นแนวทางในการมอบหมายการบ้านแก่ผู้เรียนให้มีความเหมาะสมและนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมี
ความสุข พร้อมทั้งสามารถใช้การบ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน และเป็นเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเป็นการลดภาระงานด้านการประเมินได้อีกทางหนึ่ง

หลักการลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้
หลักการลดการบ้าน

1. ลดการบ้าน/ภาระงานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทํานอกห้องเรียนหรือที่บ้าน โดยเน้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จในห้องเรียน
2. มอบหมายการบ้านเฉพาะวิชาที่เป็นทักษะที่จําเป็น เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ โดยสามารถให้การบ้านให้เหมาะสมได้เท่าที่จําเป็น โดยเน้นการบ้านที่ส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
3. บูรณาการการบ้านทั้งภายในรายวิชาเดียวกันและข้ามรายวิชา โดยให้เป็นชิ้นงาน/ภาระงานเดียวตามความเหมาะสมธรรมชาติวิชา

เพิ่มการเรียนรู้
ปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนคิด ปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริง ส่งเสริมกระบวนการคิดการแสวงหาความรู้ (Active Learning) ลดเวลาการสอนของครูในห้องเรียนให้น้อยลง โดยเพิ่มเวลาให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

แนวปฏิบัติ“ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้”
1. มอบหมายการบ้านให้เหมาะสมเท่าที่จําเป็นตามจุดเน้นการเรียนรู้เพื่อให้การบ้านมีความสําคัญและฝึกหรือทบทวนอย่างมีเป้าหมาย รวมทั้งกําหนดแนวทางการตรวจสอบผลการเรียนรู้จากคุณลักษณะหรือ พฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อทดแทนการสอบด้วยแบบทดสอบอย่างเหมาะสม และตามความจําเป็น
2. ตรวจสอบปริมาณการบ้านของนักเรียนรายห้องเรียน เพื่อให้การมอบหมายการบ้านมีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ทําการบ้านของนักเรียนแต่ละวัย
3. บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันทั้งภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อทําให้เวลาเรียนในห้องเรียนลดลงร้อยละ 10 - 20 นักเรียนมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจมากขึ้น
4. วางแผนกําหนดช่วงเวลาให้การบ้าน และการสอบ เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงความทับซ้อน ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ในการทําการบ้าน การสอบ ตลอดจนพิจารณาความเหมาะสมตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละช่วงวัย
5. ออกแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันระหว่างช่วงเวลาที่นักเรียนเรียนรู้ที่โรงเรียนและบ้าน ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่เป็นแนวคิดหรือหลักการ จําเป็นต้องใช้การทําความเข้าใจและการอธิบายเพิ่ม ควรเป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนในห้องเรียน จากนั้นมอบหมายให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องที่บ้าน
การบ้านที่มอบหมายควรต่อเนื่องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และมีความจําเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ลดจํานวนครั้งของการสอบระหว่างเรียน ประเมินเท่าที่จําเป็น โดยเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงข้อสอบปลายภาค ให้เน้นข้อสอบที่วัดทักษะการคิดขั้นสูง ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์มีข้อคําถามที่ยั่วยุให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเขียนแสดงเหตุผล แนวคิด หรือหลักการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับชั้น
7. จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้สําหรับนักเรียนศึกษาค้นคว้าที่หลากหลาย โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
8. ส่งเสริมให้นักเรียนคัดสรรผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการ และสมรรถนะของนักเรียน ใส่ลงในแฟ้มสะสมผลงาน ตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่ การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ โดยอาจดําเนินการในรูปแบบสื่อดิจิทัล เช่น วิดีทัศน์ ภาพถ่าย เพลง เป็นต้น


ดาวน์โหลดรายละเอียดหนังสือ :: ไฟล์แนบ
  • 09 ธ.ค. 2566 เวลา 09:17 น.
  • 8,921

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^