ระบุกลไกราชการ ศธ.ดื้อเงียบ เน้นแก้ข่าว-ไม่เน้นแก้ไข
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
1.การควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้ครูทุกคนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และทำผลงานเพื่อขอวิทยฐานะ ซึ่งดูเหมือนจะมาถูกทางแต่มีกับดักคือ ทำให้ครูทำแต่ผลงานวิชาการ และทิ้งห้องเรียน ส่วนการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ไม่ได้ทำให้ครูมีคุณภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครูรุ่นเก่าจำนวน 3 แสนคนที่อยู่ในระบบการศึกษาขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นครูประจำการที่ได้รับใบอนุญาตฯ ทันที ขณะที่การผลิตครูใหม่ 5 ปี ก่อนได้รับใบอนุญาตฯ นั้น ขณะนี้ผลิตได้เพียง 20,000 คน ที่เป็นเลือดใหม่ ซึ่งสัดส่วนตรงนี้ต่างกันมาก ที่สำคัญเมื่อผลิตครูรุ่นใหม่ออกมาก็เจอกับปัญหาโรงเรียนใช้ไม่ตรงสาขาที่จบเอกมาจึงกลายเป็นปัญหาด้านคุณภาพอีกเช่นกัน
2.เรื่องการกระจายอำนาจของ ศธ. ปัจจุบันในเขตพื้นที่จะมีคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่ และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ซึ่งการจัดสรรอำนาจไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง คือ อ.ก.ค.ศ.มีอำนาจในการโยกย้ายครู โดยที่ ผอ.เขตพื้นที่มีหน้าที่เหมือนตรายาง ทั้งนี้ตนจึงเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจให้คณะบุคคล ไม่ใช่บุคคลคนใดคนหนึ่ง และควรยุบกรรมการทั้ง 2 ชุดให้เหลือเพียงชุดเดียว และ
3. ศธ.ควรปรับปรุงการขอคืนอัตราเกษียณให้มีการเสนอขอคืนอัตราล่วงหน้าก่อนสิ้นปีเกษียณ เพื่อแก้ปัญหาขาดครูในโรงเรียน
1.การปฎิรูปโครงสร้าง ให้เน้นห้องเรียนและเด็กเป็นหลัก โดยมองว่าโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนจะลงไปสู่เรื่องการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างไร
2.ลดภาระงานทำเอกสารของครู ลดงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ตอนนี้มี 10 กระทรวงที่สั่งให้ครูทำงาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ทั้งที่ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่กลับไม่มีสิทธิ์ปฎิเสธงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง พร้อมกันนี้ควรกำหนดหลักสูตรใหม่ เน้นการเรียนจากเนื้อหา ร้อยละ 60 และเน้นทำกิจกรรมร้อยละ 40 โดยอาจมอบหมายให้ทางคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดำเนินการออกแบบหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่การแสดงออก ทำให้เด็กมีทั้งความฉลาดทางสมอง(ไอคิว)และความฉลาดทางอารมณ์(อีคิว)
3.เสนอให้มีการสับโขกระบบกลไกลราชการ เพราะขณะนี้กลไกราชการ ศธ.มีการต่อต้านเงียบๆ แก่ผู้บังคับบัญชา ด้วยการไม่ปฎิบัติตามสิ่งที่รัฐบาลกำหนด แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการศึกษา ระบบกลไกราชการจะใช้วิธีแก้ข่าว แต่ไม่ได้คิดแก้ไขหรือปฎิรูปหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ยังคงดำเนินการตามนโยบายของตนเอง ทั้งนี้หากข้าราชการฝ่ายการเมืองไม่มีความจริงจัง คือไม่กำหนดชัดเจนว่าหากทำไม่ได้ต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ปัญหาก็จะไม่มีการแก้ไข