สพฐ. เดินหน้าเรียนดีมีความสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 24/2566
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
สพฐ. เดินหน้าเรียนดีมีความสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 24/2566.
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 24/2566 โดยมี นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
.
ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ นำโดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อน นโยบาย ‘เรียนดี มีความสุข’ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน สร้างโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนและผู้ปกครองมีสุขนั้น
.
สพฐ. จึงได้จัดประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. โดยตั้งเป้าหมายระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารของแต่ละสำนักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันแบบ One Team เพื่อเร่งนำนโยบายไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานแก่ รมว.ศธ. ให้ทราบต่อไป
.
สำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 24/2566 ได้หารือข้อราชการ อาทิ การรายงานสรุปการจัดงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน สพฐ. ประจำปี 2566 การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนขนาดเล็ก การดำเนินการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคล การพิจารณาเรื่องของขวัญวันปีใหม่ ของขวัญวันครู และของขวัญวันเด็ก ของ สพฐ. การเสนอให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทนในสถานศึกษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟ การรายงานผลการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังเพื่อช่วยเหลือสถานศึกษาที่ประสบเหตุอุทกภัย สพฐ. การรายงานการติดตามข้อมูลโรงเรียน ในพื้นที่ภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว การขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังภัยจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแก่นักเรียน อาทิ กิจกรรมกีฬาสี การเข้าค่ายลูกเสือ วันลอยกระทง ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนฤดูกาล เป็นต้น
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจประชาสัมพันธ์ สพฐ.