ชัดเจนแล้ว!! ศิลปหัตถกรรมนักเรียน 2566 จบที่จังหวัด เกียรติบัตรถือเป็นระดับชาติ
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
ชัดเจนแล้ว!! ศิลปหัตถกรรมนักเรียน 2566 จบที่จังหวัด เกียรติบัตรถือเป็นระดับชาติเรียบเรียงโดยครูวันดีดอทคอม
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊กแฟนเพจ OBEC Channel
วันนี้(16 พฤศจิกายน 2566) ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ มีการเผยแพร่โพสต์ถ่ายทอดสดการประชุมสัมมนา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2566
ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2566
ณ จากโรงแรม เทวราช จังหวัดน่าน
โดยช่วงเวลา 33:44 นาที ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวในการประชุม
"ทุกอย่างต้องมีการปรับเปลี่ยนยืดหยุ่น เรามีการสอบถาม หลายคนถามผมว่า
" แล้ว ศิลปหัตถกรรม ยังจะมีการจัดอยู่มั้ย ? "
ไม่รู้ใครไปเขียนข่าวว่า เลขาฯ จะเลิก ผมบอกว่าไม่ได้เลิก แต่ปรับรูปแบบใหม่ ใช้คำใหม่นะ "ปรับรูปแบบใหม่" เพราะอะไรครับ นโยบายรัฐมนตรี
ข้อด้านซ้ายสุด คือ ลดอะไรครับ ?
ภาระครู และบุคลากรทางการศึกษา
ทางด้านขวา ลดอะไร ครับ ?
ภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ท่านทราบไหมครับว่า ทั้งศิลปหัตกรรม และ การแข่งขันหลายอย่างเนี่ย มันเพิ่มภาระ ทั้งซ้ายและขวา นะครับ เราฟัง ผมเข้าไป ใน Social เข้าไปดูในตาม TikTok ต่าง ๆ แค่เราทำแบบสอบถาม ไปถามเนี่ย พบว่า
ประชาชนหลายคน เขาบอกว่า ก็เห็นด้วย ว่า "ควรจะปรับรูปแบบนะ ไม่ใช่เลิกนะ" ผมเลิกนี่ ผมเป็นเรื่องแน่ เพราะว่า ครูกลุ่มหนึ่งเค้าก็ต้องการมีการแข่งขัน แต่เราบอกว่า เอ๊ะ !! ถ้างั้นปรับวิธีการแข่งขัน ศิลปหัตถกรรม เกิดขึ้นตามพระปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 6 ตอนนั้นต้องการเอาอะไรฮะ ? ต้องการเอานักเรียนนักศึกษา ในกลุ่มหนึ่งที่มี ความสามารถด้านเย็บถักร้อย แกะสลัก วาดภาพ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ออกมาแสดง ให้เห็นว่า เรามีดีด้าน อย่างนี้ อย่างนี้ แล้วก็ออกมาโชว์ต่อสาธารณชน เราก็เคยมีการแสดงอะไร นิทรรศการ ต่าง ๆ เราก็จัดอยู่ใช่มั้ย
แต่ตอนหลังมาเพิ่มการแข่งขันเป็น สาม สี่ร้อยรายการ และในหลักสูตรที่เรียนอยู่มัน แปด กลุ่มสาระ + หนึ่ง แต่เราไม่รู้เรามีความสามารถพิเศษมากครับ สามารถไปแตกรายการแข่งขันได้ตั้ง สองร้อย สามร้อยรายการ แล้วแต่ละรายการนี่ ก็เด็ก ก็ต้องไปฝึก ต้องไป ... ก็ถามว่าเด็ก เหล่านี้ เราก็ต้องส่งเสริม แต่ถามว่าถ้า เราไปมุ่งอยู่แต่เรื่องนี้ ท่านเชื่อไหมผู้ปกครองคนหนึ่งส่งเข้ามาในไลน์ผมเลยว่า
"เห็นด้วยมาก เพราะว่า บางโรงเรียนที่ ลูกผมเรียนอยู่เนี่ย พอถึงฤดูที่จะไปแข่งขันนี่ทั้งเดือนเลยครับ ซ้อม ฝึก ไม่ได้เรียน ไม่ได้สอน บางโรงเรียน เวลาจะส่งไปในระดับภาคเนีย ก็ไปทอดผ้าป่า ไปเก็บเงินกัน เขตที่เป็นเจ้าภาพก็ต้องไป..อะไรนะ ขายเสื้อ ขายอะไรอีกอะ ก็ขายหมดทุกอย่าง ยกเว้นเหลือ ผอ.เขต ไม่ขาย (ครูวันดีฟังตรงนี้ ขำเลย 555++) เพื่อเอาเงินมาเป็นเจ้าภาพจัดงาน อันเนี่ยระดับภาค แล้วก็เป็นภาระ ซึ่งรัฐมนตรีท่านทราบ ท่านก็เลย ให้แนวทางว่า เอ๊ะ !! ไปคิดสิ มันจะลดอย่างไร
ลดภาระอย่างไร แล้ว ผอ.เขต ก็ แทนที่จะได้ไปดูว่า โรงเรียนของตัวเอง มีปัญหาอะไร ครูอยู่กันเป็นอย่างไร ขาดครู ขาดเอกอะไร นะครับควรจะไปช่วยเค้าอย่างไร active learning ที่เราทำอยู่มันเดินไปถึงไหน มันก็ไปทำเรื่องที่เป็นต้องทำ กลายเป็นเราต้องไปทำอยู่บางเรื่อง แต่ถามว่า การจัดการศึกษาของ สพฐ. มีอยู่หลายกลุ่มใช่มั้ย กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเราก็ต้องดูแลมั้ยครับ เมื่อกี้ผมไปดูแลเด็ก ที่โรงเรียนน่านปัญญานุกูล ก็ไปเห็นเด็กก็สงสารนะ เพราะมีเด็กบกพร่อง ไม่ใช่บกพร่อง นี่ปัญญาอ่อนเลยนะ โรงเรียนปัญญานี่ เด็กหมอสรุปเลยว่า ไอคิวต่ำใช่ไหม มาอยู่ที่นี่ มีเด็ก ออทิสติก อยู่ 70 กว่าคน มีเด็กปัญญาอยู่ 200 กว่าคน นะครับ ส่วนเด็กแอลดีก็พวกเราอะนะ ใช่รึเปล่า เด็กแอลดีจะอยู่พวกเรา แต่เด็กแอลดี คือเด็ก กลุ่มที่เราคัดกรองไปเอง ก็อยู่กับเรา....//