นิด้าโพลเผย ข้าราชการ 71% ไม่เห็นด้วย ! แบ่งจ่ายเงินเดือน 2 รอบ
นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ ก- ก+
นิด้าโพลเผย ข้าราชการ 71% ไม่เห็นด้วย ! แบ่งจ่ายเงินเดือน 2 รอบนิด้าโพล เผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เงินเดือนข้าราชการ” รายได้, หนี้สิน, แบ่งจ่ายเงินเดือน 2 รอบ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เงินเดือนข้าราชการ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2566 จากกลุ่มข้าราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ อายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเงินเดือนข้าราชการ
การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97%
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเพียงพอของเงินเดือนที่ได้รับไม่รวมรายได้พิเศษอื่น ๆ ที่ถูกกฎหมาย กับการใช้จ่ายและการมีเงินเก็บ ในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง 44.81% ระบุว่า ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายและไม่มีเงินเก็บ รองลงมา 28.32% ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายและมีเงินเก็บ และ 26.87% ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายแต่ไม่มีเงินเก็บ
ด้านความเพียงพอของเงินเดือนที่ได้รับเมื่อรวมรายได้พิเศษอื่น ๆ ที่ถูกกฎหมาย กับการใช้จ่ายและการมีเงินเก็บในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง 31.76% ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายและมีเงินเก็บ รองลงมา 24.12% ระบุว่า เพียงพอต่อการใช้จ่ายแต่ไม่มีเงินเก็บ 22.90% ระบุว่า ไม่มีรายได้พิเศษอื่น ๆ (ที่ถูกกฎหมาย) และ 21.22% ระบุว่า ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายและไม่มีเงินเก็บ
ส่วนการมีหนี้สินจากการกู้ยืม พบว่า ตัวอย่าง 44.35% ระบุว่า มีหนี้สินกับสถาบันทางการเงิน รองลงมา 43.36% ระบุว่า มีหนี้สินกับสหกรณ์ 25.57% ระบุว่า ไม่มีหนี้สินใด ๆ และ 3.66% ระบุว่า มีหนี้สินนอกระบบ (รวมถึงการกู้ยืมเงินจากเพื่อน ญาติพี่น้อง)
สำหรับความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลเกี่ยวกับการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ พบว่า ตัวอย่าง 71.30% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา 11.83% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย 8.32% ระบุว่า เห็นด้วยมาก 7.71% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และ 0.84% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อนโยบายเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง 57.86% ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา 20.38% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย 13.36% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย 7.94% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และ 0.46% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ตัวอย่าง 7.02% อายุ 18-25 ปี 22.67% อายุ 26-35 ปี 23.36% อายุ 36-45 ปี 32.90% อายุ 46-59 ปี และ 14.05% อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง 96.26% นับถือศาสนาพุทธ 3.13% นับถือศาสนาอิสลาม และ 0.61% นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง 37.56% สถานภาพโสด 60.00% สมรส และ 2.44% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง 0.69% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 12.90% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 8.24% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า 58.40% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ 19.77% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง 83.21% ประกอบอาชีพข้าราชการ 4.88% ประกอบอาชีพพนักงานของรัฐ 5.80% ประกอบอาชีพลูกจ้างของรัฐ และ 6.11% ประกอบอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ตัวอย่าง 4.89% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท 31.68% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 26.26% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท 16.49% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท 18.70% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ 1.98% ไม่ระบุรายได้
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: PPTV Online เผยแพร่ 24 ก.ย. 2566 เวลา 14:47น.