LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

'ทรงผมนั้นสำคัญไฉน'

  • 18 ม.ค. 2556 เวลา 08:00 น.
  • 4,621
'ทรงผมนั้นสำคัญไฉน'

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รัก
 
ผ่านพ้นวันเด็กแห่งชาติไปไม่นานเท่าไร วันนี้คุณครูลิลลี่มีเรื่องเกี่ยวกับเด็กๆ นักเรียนมาฝากกันอีกแล้วค่ะ แต่จะว่าไปเรื่องนี้เกิดก่อนวันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมาเสียอีกนะคะ เพียงแต่ว่าคุณครูลิลลี่เพิ่งได้โอกาสเอามาเล่าสู่กันฟัง ช่วงนั้นก็เห็นเจ้าบรรดาลูกศิษย์ตัวดีทั้งหลายยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ เพราะมีข่าวว่านักเรียนชายสามารถไว้ผมยาวได้ ไม่ต้องไถเกรียนเป็นทรงนักเรียนอีกแล้ว ส่วนนักเรียนหญิงก็ให้อิสระเสรีเลือกไว้ทรงผมได้ตามใจชอบ ไม่ต้องตัดสั้นเหนือติ่งหูให้ผมกระดกงอกันอีกต่อไป เล่นเอาบรรดาน้องๆ หนูๆ ลูกศิษย์ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่จะได้สวยหล่อกันอย่างเต็มที่ ได้ฟังดังนี้คุณครูลิลลี่ก็ต้องขอไปค้นข้อมูลตามข่าวกันสักหน่อยว่า เรื่องราวความเป็นมาของ ปัญหาทรงผม นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วพวกลูกศิษย์ทั้งหลายจะดีใจเก้อ หรือตีความข่าวคราวกันผิดๆ จนทำให้ไว้ทรงผมผิดระเบียบกันหรือเปล่า แล้วก็ได้เรื่องมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ค่ะ
 
เรื่องของทรงผมของนักเรียนเริ่มจากการที่ท่าน พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (แถมความรู้ให้นิดนึงนะคะ คำย่อเราจะใช้คำว่า รมต. ไม่ใช่ ร.ม.ต.นะคะ ส่วนถ้าเป็น รมช. จะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงค่ะ) ท่านพงศ์เทพได้พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแบบทรงผมของนักเรียน โดยได้พิจารณาย้อนกลับไปที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่ามีกฎกระทรวงอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เม.ย.2515 คือ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2515  ระบุห้ามไม่ให้นักเรียนชายไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 ซม. และชาย ผมรอบศีรษะต้องตัดเกรียนชิดผิวหนัง และ 2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย ต่อมามีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวเพิ่มเติมจนเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ลงวันที่ 6 ม.ค.พ.ศ.2518 ระบุว่า 1. นักเรียนชายให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้าง และด้านหลังยาวเลยตีนผม 2. นักเรียนหญิงให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินก็ให้รวบให้เรียบร้อย
 
ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มานี้ ท่านพงศ์เทพชี้ให้เห็นว่าถ้าตีความตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 นักเรียนชายจะต้องไว้ผมด้านข้างและด้านหลังเกรียน แต่กฎกระทรวง พ.ศ.2518 เปลี่ยนแปลงให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรงได้ ไม่ต้องตัดผมด้านข้างหรือด้านหลังจนเกรียน แต่ในทางปฏิบัติทุกวันนี้เกือบทุกๆ โรงเรียนยังคงยึดติดกับทรงผมเกรียนตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะกฎกระทรวงฉบับใหม่ เปิดโอกาสให้เด็กไว้ทรงยามแบบรองทรงได้ ส่วนทรงผมของนักเรียนหญิงนั้น ทั้ง 2 ฉบับ กำหนดให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้นหรือยาวได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของโรงเรียน ซึ่งจุดนี้ทางรัฐมนตรีว่า การกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะจัดทำข้อแนะนำเกี่ยวกับการไว้ผมยาวของนักเรียนหญิง เช่น ถ้าไว้ผมยาวต้องรวบผมให้เรียบร้อย และทุกโรงเรียนจะต้องปฏิบัติให้เหมือนกัน อนุญาตให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้นหรือยาวเลยต้นคอได้ แต่ต้องรวบให้เรียบร้อย
 
เมื่อรู้เรื่องของความเป็นมาเป็นไปตามเรื่องของกฎกระทรวงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงหน้าที่ของครูภาษาไทยอย่างคุณครูลิลลี่ ที่ต้องมาทำหน้าที่ตีความให้กระจ่างว่า ระหว่างผมนักเรียนที่ไถเกรียนจนเกือบคล้ายทรงสกินเฮด กับทรงรองทรง มีความแตกต่างกันอย่างไร และแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเป็นรองทรง คำว่า “รองทรง” ถ้าดูตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตมีความหมายว่า ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้น ข้างบนยาว แต่ถึงกระนั้นก็ตามสมัยคุณครูลิลลี่ยังเป็นนักเรียนก็จะมีแยกย่อยลงไปอีกเป็น รองทรงต่ำ รองทรงสูง ซึ่งอันนี้ได้ไปลองสืบถามผู้รู้ทางด้านการตัดผมก็ได้ความมาคร่าวๆ ว่า จะรองทรงสูง หรือต่ำ อยู่ที่รอยไถของปัตตาเลี่ยนค่ะ ถ้ารองทรงสูงก็จะไถผมให้สั้น ตั้งแต่ท้ายทอยสูงกว่ารองทรงธรรมดา เรียกง่ายๆ ว่าดูกันที่ท้ายทอยนั่นเองค่ะ
 
เล่ามาทั้งหมดก็เพื่อบอกเล่าความคืบหน้าความเป็นมาเป็นไปในแวดวงการศึกษา และในความสนใจของบรรดานักเรียนที่รักของครู และสุดท้ายไม่ว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าโรงเรียนไหนจะให้ไว้ยาวได้แค่ไหน คุณครูลิลลี่เชื่อว่า ทรงผมไม่ใช่สิ่งสำคัญ หัวใจของการเป็นนักเรียนก็คือการเรียนหนังสือ และสิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างคือ กฎระเบียบของโรงเรียนและวินัยที่เราจะยึดถือปฏิบัติเพื่อให้สรุปสุดท้ายแล้วเราได้ชื่อว่า “นักเรียน (ที่ดี)” สวัสดีค่ะ.


 
คุณครูลิลลี่
 
 
  • 18 ม.ค. 2556 เวลา 08:00 น.
  • 4,621

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : 'ทรงผมนั้นสำคัญไฉน'

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^