LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

ผู้ตรวจฯ ศธ.เผยครูขอสอนอย่างเดียว เมินภาระงานฝาก “พัสดุ-การเงิน”

  • 10 ก.ค. 2566 เวลา 14:30 น.
  • 2,011
ผู้ตรวจฯ ศธ.เผยครูขอสอนอย่างเดียว เมินภาระงานฝาก “พัสดุ-การเงิน”

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ผู้ตรวจฯ ศธ.เผยครูขอสอนอย่างเดียว เมินภาระงานฝาก “พัสดุ-การเงิน”

ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากที่ตนได้ลงพื้นที่ติดตามตรวจราชการในหลายจังหวัดได้รับเสียงสะท้อนจากครูเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับภาระหน้าที่นอกเหนือจากงานสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำหน้าที่ด้านพัสดุและการเงิน ซึ่งครูส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นงานที่ไม่ถนัด และรู้สึกอึดอัดใจกับภาระงานดังกล่าวมาก แม้ทางโรงเรียน หรือเขตพื้นที่การศึกษาจะมีการจัดอบรมให้ความรู้ให้สามารถทำงานได้ แต่ก็รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆของทางโรงเรียน จึงได้เรียกร้องขอให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ได้ช่วยหาบุคลากรเพื่อเข้ามารับผิดชอบงานดังกล่าวโดยตรง และให้ครูได้ทำหน้าที่สอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับตัวเด็กนักเรียนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ที่ผ่านมา สพฐ.เองก็ได้พยายามแก้ปัญหาจัดหาบุคลากรเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวให้กับโรงเรียน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งตนในฐานะผู้ตรวจราชการ ศธ. เมื่อครูมีเสียงสะท้อนมาแบบนี้ก็จะสรุปเสนอ รมว.ศธ. ปลัด ศธ. และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้ได้ทราบ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายช่วยเหลือต่อไป

หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ศธ. กล่าวอีกว่า ในการตรวจราชการรอบที่ 2 ของ ปีงบประมาณ 2566 ตนได้ตรวจติดตามสถานศึกษาร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษาธิการจังหวัดหลายจังหวัด ตนได้กำชับนโยบายเรื่องสถานศึกษาปลอดภัยให้เป็นเรื่องหลัก เพราะทุกวันนี้ภัยที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนมีมากมายหลายรูปแบบโดยที่เราคาดไม่ถึง และเกิดความสูญเสียเกิดขึ้นให้เห็นแล้วในหลายๆกรณี อาทิ เหตุการณ์อาคารโดมโรงเรียนพังถล่มจากวาตภัย เหตุการณ์ถังดับเพลิงระเบิด ความรุนแรงภายในโรงเรียน การใช้อาวุธ ใช้ยาเสพติดในสถานศึกษา เป็นต้น โดยหลายๆเหตุการณ์ถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นทุกโรงเรียนจึงต้องมีแผนเผชิญเหตุจากทุกๆเหตุการณ์ หากเกิดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดขึ้นมาแล้ว โรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียนจะได้รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยทุกแผนจะต้องมีการซ้อมปฏิบัติจนชำนาญด้วย

“สิ่งที่ผมกังวลก็คือ ทุกวันนี้เด็กไทยมีความเครียดสูงมาก ทำให้หลายเขตพื้นที่ฯจัดหานักจิตวิทยาเข้ามาช่วยโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของเด็กที่ครอบคลุมในทุกๆมิติ” ดร.วรัทกล่าว.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 10 ก.ค. 2566 เวลา 08:40 น.
 
  • 10 ก.ค. 2566 เวลา 14:30 น.
  • 2,011

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^