LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

สพฐ. จัดระบบตัวชี้วัด ลดภาระครู ง่ายต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

  • 05 ก.ค. 2566 เวลา 12:33 น.
  • 2,880
สพฐ. จัดระบบตัวชี้วัด ลดภาระครู ง่ายต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ. จัดระบบตัวชี้วัด ลดภาระครู ง่ายต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้เป็นประธานการประชุมสื่อสารสร้างความเข้าใจการนำตัวชี้วัดองค์รวม และตัวชี้วัดองค์ประกอบย่อยสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่ และระดับสถานศึกษา จัดโดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา และหน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. มีผู้เข้าร่วมประชุมและเสวนาในการสร้างความเข้าใจ ประกอบด้วย รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณะกรรมการ กพฐ. นายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผอ.สวก. รก.ทปษ.สพฐ. นางสาวชยพร กระต่ายทอง รอง ผอ.สวก. นางสาวจรูญศรี แจบไธสง นางสาวณัฐา เพชรธนู รอง ผอ.สทศ. และนายเอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง ผอ.กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สวก. โดยมีนายสมเจตน์ พันธ์พรม ศึกษานิเทศก์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้เข้าร่วมรับฟังทุกสังกัด กว่า 120,000 คน ผ่านทางช่องทาง Facebook OBEC Channel และ Youtube OBEC Channel 2


การประชุมในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแนวทางในการนำตัวชี้วัดที่ผ่านการแยกประเภทแบบรวมกับย่อย ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยได้นำเสนอให้เห็นสภาพปัจจุบันของการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ซึ่งมีตัวชี้วัดจำนวนมาก 2,056 ตัวชี้วัด และยังมีความซ้ำซ้อนในการนำไปใช้ลงสู่การปฏิบัติ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการนำไปออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล จึงได้มีการดำเนินการโดยการพิจารณาจัดประเภทตัวชี้วัดจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำไปสู่การพิจารณาจากคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นชอบการคัดสรรและการจัดกลุ่มตัวชี้วัด ซึ่งกลุ่มตัวชี้วัดที่สำคัญใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และวัดประเมินผลแบบองค์รวม จำนวน 771 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดองค์ประกอบย่อย จำนวน 1,285 ตัวชี้วัด ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และดูผลการพัฒนาของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสำคัญ
นางเกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวว่า การจัดกลุ่มแบ่งประเภทตัวชี้วัดจะทำให้การนำไปใช้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยแบ่งออกเป็น ตัวชี้วัดองค์รวม 771 ตัวชี้วัด ซึ่งในการวัดและประเมินผลจะมีการจัดกิจกรรมหรือทักษะของพฤติกรรมที่มีตัวชี้วัดองค์ประกอบย่อย จำนวน 1,285 ตัวชี้วัด อยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายและไม่เป็นภาระสำหรับการนำไปใช้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในเรื่องของชิ้นงาน ใบงาน จะใช้เพียงตัวชี้วัดองค์รวม ส่วนตัวชี้วัดย่อยใช้ในการจัดกิจกรรมหรือทักษะต่างๆ ซึ่งไม่ยึดโยงกับห้วงของเวลา หรือลำดับในการบรรลุก่อนหลังของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งการวัดและประเมินผล 771 ตัวชี้วัดนั้น ไม่จำเป็นต้องเน้นการวัดแบบเป็นทางการ เช่น แบบทดสอบ หรือแบบวัดต่างๆ แต่จะต้องมีการวัดที่หลากหลาย สามารถแสดงหลักฐาน หรือปรากฏหลักฐานการวัดได้ และที่สำคัญ ทำให้ง่ายต่อการนำไปบูรณาการทั้งในกลุ่มสาระฯ หรือข้ามกลุ่มสาระฯ ในแหล่งเรียนรู้ใกล้โรงเรียน เพื่อใช้ภาระงานหรือชิ้นงานที่ไม่มีจำนวนมากแต่สามารถวัดผลฯ นักเรียนได้ครอบคลุม ทั้งตัวชี้วัดแบบองค์รวม และองค์ประกอบย่อย ซึ่งไปปรากฏในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

นอกจากนั้น การจัดกลุ่มประเภทตัวชี้วัดในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้มีความชัดเจนในการวัดและประเมินผล ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด อาทิ ตัวชี้วัดองค์รวม “เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ” ที่นักเรียนต้องผ่านการวัดผลนั้น จะต้องเกิดจากการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมผ่านตัวชี้วัดองค์ประกอบย่อย ทั้งตัวชี้วัดการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตัวชี้วัดการบอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย ตัวชี้วัดการเขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ ตัวชี้วัดการมีมารยาทในการเขียน ซึ่งผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย แต่เมื่อผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วสิ่งที่ต้องการวัดนักเรียน คือการเขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ จึงเป็นการวัดด้วยชิ้นงานเดียว แล้วครอบคลุมบรรลุตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด ซึ่งทำให้เรารู้ว่า นักเรียนเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้ รวมถึงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและปฏิบัติด้วยตัวเองได้


“ทั้งนี้ ตัวชี้วัดยังคงเดิม เพียงแต่เน้น 771 องค์รวม เพื่อใช้วัดผลประเมินผล ส่วน 1,285 ย่อยใช้จัดกิจกรรมเสริมทักษะ เพื่อให้เกิดรวมแล้ววัดผล เพื่อลดภาระของทุกตัวชี้วัดต้องมีร่องรอยหลักฐานการเก็บคะแนน เพียงแต่เป็นการส่งเสริมจัดกิจกรรมแล้วเกิดตัวชี้วัดองค์รวมซึ่งง่ายต่อการทำใบงาน ซึ่งจะลดภาระครูที่ไม่ต้องวัดผลทุกตัวชี้วัด แต่ใช้การจัดกิจกรรมหรือทักษะ และเน้นย้ำองค์รวมเพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่บรรลุตามมาตรฐานตัวชี้วัด และส่งผลให้ง่ายต่อการบูรณาการหลายวิชา โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นห้องเรียนรวมรายวิชา และเกิดคุณลักษณะและมีสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตร ฯ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงนักเรียนจะมีเวลาในการ Create จึงขอให้ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ ได้สร้างความเข้าใจ และร่วมคิดพาครูทำให้เห็นจริงถึงการปฏิบัติ เป็นพี่เลี้ยงครูอย่างกัลยาณมิตร เพื่อให้ครูมีความสุขในการออกแบบการเรียนรู้ และมีเวลาเติมเต็มนักเรียนให้ถึงพร้อมศักยภาพ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีเวลาเหลือในการพัฒนาตนเองตามความชอบ ความถนัด และความสนใจของตนเอง บรรลุผลตาม KPI ของนายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. ทั้งด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 8:48 น.
  • 05 ก.ค. 2566 เวลา 12:33 น.
  • 2,880

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^