LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ครูไม่สบายใจต้องทำหน้าที่การเงิน-พัสดุ

  • 20 มิ.ย. 2566 เวลา 09:45 น.
  • 10,095
ครูไม่สบายใจต้องทำหน้าที่การเงิน-พัสดุ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครูไม่สบายใจต้องทำหน้าที่การเงิน-พัสดุ

ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่ามีครูได้แก่ทยอยลาออกจากอาชีพครูเนื่องจากมีภาระงานที่หนัก นั้น ตนคิดว่าความจริงแล้วครูมีภาระงานที่หนักเนื่องจากมีหน้าที่นอกจากการปฏิบัติการสอนตามปกติแล้ว ยังมีภาระงานอื่นๆ อีกหลายหน้าที่ อาทิ การเป็นครูประจำชั้น การควบคุมดูแลเด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมยืนหน้าเสาธง กิจกรรมฝ่ายปกครอง กิจกรรมอบรมพัฒนาเด็ก เป็นต้น และส่ิงหนึ่งที่ทำให้ครูรู้สึกไม่สบายใจมาก ๆ ก็คือ ครูต้องเข้าไปทำหน้าที่เรื่องการเงิน และพัสดุด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ครูต้องทิ้งห้องเรียน และไม่ได้ทำหน้าที่ของการเป็นผู้สอนอย่างเต็มที่

เลขาธิการคุรุสภา กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้พยายามแก้ไขปัญหาผ่านหลาย ๆโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการคืนครูสู่ห้องเรียน ไม่ว่าหน่วยงานไหนจะดึงครูออกไปทำกิจกรรมใดๆ จะไม่ได้เด็ดขาด อย่างไรก็ตามหากมองในมุมขององค์กรสภาวิชาชีพที่ต้องกำกับดูและครูทั่วประเทศ ตนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานตนสังกัดต้องพิจารณาในเรื่องอัตรากำลังของครูในแต่ละโรงเรียนให้มีสัดส่วนที่เพียงพอตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กำหนด และอยากให้มีโครงการอย่าดึงครูออกจากห้องเรียน ที่มีการดำเนินการอย่างจริงๆ จังๆ


“ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาสถานศึกษาจำนวนมากไม่มีเจ้าหน้าที่ธุรการ เพื่อทำงานด้านการเงินและพัสดุ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก จึงต้องให้ครูเข้ามาช่วยในเรื่องดังกล่าว และดิฉันก็คิดว่าผู้ที่จะเข้ามาสู่อาชีพครูก็น่าจะทราบเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันในการรับบุคคลเข้ามาเป็นครูก็ต้องมีการทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กันตั้งแต่แรกเพื่อให้เค้าตัดสินใจว่าจะเข้ามาสู่อาชีพครูหรือไม่ เพราะเมื่อเข้ามาแล้วคุณต้องเจองานหนักจริงๆ ซึ่งคงไม่ใช่เฉพาะงานสอนเพียงอย่างเดียวแน่นอน และครูเองก็ต้องเป็นผู้ที่ต้องเข้ามาช่วยโรงเรียน เพราะโรงเรียนเค้าไม่มีบุคลากรสายสนับสนุนที่จะเข้ามาทำงานในเรื่องต่างๆ เหล่านี้จริงๆ และหากผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูทราบและพร้อมยอมรับในเรื่องนี้ได้ปัญหาการทยอยลาออกภายหลังจากที่เข้ามาเป็นครูก็น่าจะค่อยๆลดลง” ผศ.ดร.อมลวรรณ กล่าว.

#At_HeaR #ข่าวจริงเข้าหู #กระทรวงศึกษาธิการ #คุรุสภา #โครงการคืนครูสู่ห้องเรียน

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจ At HeaR วันที่ 20 มิถุนายน 2566
  • 20 มิ.ย. 2566 เวลา 09:45 น.
  • 10,095

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^