LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา หารือความร่วมมือกับ ศธ.

  • 10 ม.ค. 2556 เวลา 20:47 น.
  • 2,715
คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา หารือความร่วมมือกับ ศธ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 16/2556
 คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา หารือความร่วมมือกับ ศธ.

ศึกษาธิการ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับและหารือกับ รศ.ประเสริฐ ชิตพงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา และคณะกรรมาธิการฯ รวม 9 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านการศึกษา เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมี รศ.ภาวิช ทองโรจน์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.ร่วมหารือ
 
รมว.ศธ. กล่าวว่า ขอบคุณคณะกรรมาธิการฯ ที่เดินทางเยี่ยมและให้ข้อเสนอต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการจัดการศึกษา จึงได้เชิญผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของ ศธ.ได้มาหารือร่วมกัน เพื่อตอบข้อสงสัยและให้รายละเอียดต่างๆ แก่คณะกรรมาธิการฯ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

 
ในขณะนี้ ศธ.ได้เน้นในเรื่องคุณภาพการศึกษาของประเทศ เพราะที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษาของไทยยังไม่เป็นที่น่าพอใจ แม้จะใช้งบประมาณเพื่อการศึกษาสูงมากถึงร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดิน แต่เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษากับประเทศอื่นๆ ก็ยังพบว่ายังตามหลังหลายประเทศอยู่มาก จึงได้มีแนวทางนโยบายที่จะเน้น 2 จุดสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา คือ 
1) การปฏิรูปหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอน 
2) การพัฒนาครูอาจารย์หรือผู้ที่ให้การศึกษา

แม้เราจะมีการปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2542 แล้วก็ตาม แต่เด็กนักเรียนก็เป็นผู้ที่ได้รับผลจากการปฏิรูปการศึกษาน้อยที่สุด ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำลง ดังนั้นการที่จะปฏิรูปหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนจึงต้องอาศัยผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง โดยจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นในช่วงแรกให้กว้างขวางมากที่สุด อย่างไรก็ตามกลไกที่ต้องใช้เวลาในการปฏิรูปหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนให้เห็นผลคือ การที่ครูผู้สอนนำแนวทางการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ไปขับเคลื่อนให้เกิดผล

     
 
ส่วนอีกนโยบายสำคัญซึ่งรัฐบาลได้เน้นย้ำคือ แนวทางการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีวศึกษา ให้มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเปิดสอนปริญญาตรีสายอาชีพ โดยจะเริ่มต้นในปีการศึกษาหน้า ซึ่งแต่เดิมผู้เรียนสายอาชีวศึกษาจะจบการศึกษาขั้นสูงสุดคือ ปวส. แต่จะยกระดับขึ้นเป็นปริญญาตรีสายอาชีวะในปีการศึกษาหน้า ในปีแรกที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีจะจำกัดจำนวนผู้เรียนเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เน้นการผลิตในสาขาที่ตรงตามความต้องการของประเทศ หรือผลิตคนให้ตรงกับงานอย่างแท้จริง
 
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา กล่าวว่า หลายท่านในคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้รับการเลือกตั้ง/สรรหาเข้ามาใหม่เมื่อปี พ.ศ.2553 ส่วนอีกหลายท่านเป็นกรรมาธิการฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงานการศึกษากับ ศธ. จึงได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหาร ศธ.ในครั้งนี้ และย้ำว่าคณะกรรมาธิการฯ เน้นการประสานการทำงานร่วมกัน ไม่เน้นจับผิด ซึ่งการหารือในครั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอความคิดเห็นต่างๆ ด้านการศึกษา อาทิ พฤติกรรมนักเรียนนักศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปในทางลบมากขึ้น จึงต้องการให้ ศธ.ปรับปรุงหรือเพิ่มหลักสูตรเรื่องวินัย จิตสาธารณะ การเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ การปลูกฝังในเรื่องสถาบันหลักของประเทศ หน้าที่พลเมือง ปลูกฝังศีลธรรมจริยธรรม คุณธรรม กล่อมเกลาทางจิตใจ ฯลฯ หรือการนำกิจกรรมลูกเสือเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ เสริมสร้างวินัยความรับผิดชอบมากขึ้น เป็นต้น

     
 
ที่ปรึกษา รมว.ศธ. กล่าวว่า ในการปฏิรูปหลักสูตรของ ศธ.นั้น ไม่สามารถทำเรื่องหลักสูตรเรื่องเดียวได้ แต่การที่ต้องปรับปรุงหลักสูตร เพราะเป็นพิมพ์เขียวที่จะต้องทำให้ชัดเจนก่อน นอกจากนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสังคมโลกด้วย ซึ่งขณะนี้ได้หารือกับ สพฐ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แม้หลักสูตรการศึกษาฯ พ.ศ.2542 จะเป็นหลักสูตรที่ดีและเชื่อความสามารถของครูผู้สอนมาก จึงเปิดกว้างให้มีความยืดหยุ่น ซึ่งก็พบถึงปัญหาในการนำหลักสูตรไปใช้  ส่วนเรื่องการพัฒนาครูนั้น เป็นนโยบายของ รมว.ศธ.ที่ให้ความสนใจที่จะพัฒนาทั้งครูบรรจุใหม่และครูประจำการที่มีอยู่แล้วในระบบ โดยเฉพาะครู สพฐ.กว่า 4 แสนคนที่จะต้องเร่งยกระดับคุณภาพขึ้นมาโดยวิธีการต่างๆ เช่น อบรมพัฒนา การเพิ่มวิทยฐานะที่สะท้อนถึงความสามารถของครูได้อย่างแท้จริง เป็นต้น
 
สำหรับเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น แม้ที่ผ่านมาจะพัฒนาระบบเครือข่ายทั้ง UniNET และ SchoolNet ไปแล้วระดับหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญคือจะประสานกันได้อย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนการตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งระบุเอาไว้ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นั้น ก็ยังไม่สามารถตั้งได้ ทั้งที่ไทยคิดในเรื่องนี้พร้อมกับประเทศเกาหลีใต้ แต่ในขณะนี้เกาหลีใต้ได้ดำเนินการตั้งแล้ว และพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการดำเนินการด้านระบบ Cyber Home ที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
 
ส่วนเรื่องการเพิ่มผู้เรียนสายอาชีวศึกษาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญนั้น พบว่าข้อมูลในการวางแผนก็ยังคลาดเคลื่อน เพราะที่ผ่านมากเรานับจำนวนผู้เรียนแยกตามแท่ง เฉพาะในสถานศึกษาอาชีวศึกษา ในขณะที่เรามีผู้เรียนสายอาชีพในระดับอื่นๆ เช่น มัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพด้วย
 
 
  • 10 ม.ค. 2556 เวลา 20:47 น.
  • 2,715

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา หารือความร่วมมือกับ ศธ.

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^